Page 706 - Best Practice Poster 2024 (อัพเดต)
P. 706
Q18
การพัฒนาระบบติดตามสถานะเตียงว่าง
และระบบการรายงานระดับความรุนแรงของผู้ป่วย โรงพยาบาลบ้านหมี่
นางสาวนุชรีย์ ฤกษ์ดี , นายกิตติ น้าวเนือง
โรงพยาบาลบ้านหมี่ จังหวัดลพบุรี เขตสุขภาพที่ 4
ประเภทนวัตกรรมและสิ่งประดิษฐ์
ความสำคัญของปัญหาวิจัย
จากสถิติปี 2566 โรงพยาบาลบ้านหมี่ มีอัตราการครองเตียงผู้ป่วยทั้งหมดเฉลี่ย 11,566 ราย/ปี
ปัญหาที่พบบางช่วงการหมุนเวียนเตียงของหอผู้ป่วยไม่ทันและไม่เพียงพอกับการบริหารจัดการที่วางไว้ จาก
การทำงาน เจ้าหน้าที่จะโทรศัพท์สอบถามจำนวนเตียงว่างจากหอผู้ป่วยร่วมกับการดูข้อมูลจากระบบ
คอมพิวเตอร์ของโรงพยาบาลเพื่อดูสถานะเตียงและจำนวน Admit ของผู้ป่วย แล้วนำมาบริหารจัดการเตียง
ให้กับผู้ป่วยที่จะAdmitเข้ามา โดยจัดให้ IPD Transfer , Admit จาก OPD/ER , Refer ซึ่งเป็นการตัดสินใจ
ของผู้ที่ได้รับมอบหมาย ภายใต้จำนวนเตียงที่จำกัดของแต่ละหอผู้ป่วย พบปัญหา คือ การตรวจสอบเตียงว่าง
โดยการโทรศัพท์สอบถามในช่วงเวลาที่กำหนด ทำให้ไม่ทราบจำนวนเตียงในช่วงเวลาอื่น การโทรศัพท์
สอบถาม บางครั้งรบกวนการทำงานของเจ้าหน้าที่ขณะติดภาระกิจการปฏิบัติหน้าที่ดูแลผู้ป่วยอยู่ เวลาในการ
โทรสอบถามไม่แน่นอนทำให้ไม่สามารถให้ข้อมูลได้ทันทีหรือให้ข้อมูลได้ไม่ครบถ้วน ต้องโทรติดต่อไปมาหลาย
ครั้ง การดูข้อมูลจากระบบคอมพิวเตอร์ทำให้ทราบเฉพาะจำนวนผู้ป่วยที่มีอยู่ในขณะนั้น ไม่ทราบแผนการ
จำหน่ายที่จะทำให้มีจำนวนเตียงว่างเพิ่มขึ้น ไม่ทราบจำนวนเตียงจริงที่สามารถใช้ได้ในแต่ละช่วงเวลา และไม่
ทราบระดับการเจ็บป่วยของคนไข้ในการครองเตียงขณะนั้น ดังนั้น ทีมพยาบาลในหน่วยงานจึงได้คิดที่จะ
ปรับเปลี่ยนรูปแบบและพัฒนาระบบการบริหารจัดการเตียงผู้ป่วยที่ว่างพร้อมใช้งาน เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพ
สูงสุด
วัตถุประสงค์การศึกษา
1. เพื่อพัฒนาระบบการติดตามสถานะเตียงว่างหอผู้ป่วยแบบออนไลน์
2. เพื่อพัฒนาระบบการรายงานระดับความรุนแรงของผู้ป่วยแต่ละหอแบบออนไลน์
วิธีการศึกษา
1. ศึกษาปัญหาที่เกิดขึ้นในช่วงที่ผ่านมา เช่น ไม่สารมารถทราบสถานะเตียงว่างของห้องพิเศษและ
เตียงสามัญได้แบบเรียลไทม์ (Online) จึงได้หาวิธีการแก้ปัญหาและนำมาวิเคราะห์หาแนวทางในการพัฒนา
เพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าว
2. พัฒนาโปรแกรมสำหรับบริหารจัดการอัตราการครองเตียงผู้ป่วยโดยร่วมกับศูนย์คอมพิวเตอร์เพื่อ
นำมาใช้ในการตรวจสอบสถานะการครองเตียงหอผู้ป่วยทั้งหมด โดยนำโปรแกรมไปทดลองใช้งานที่หอผู้ป่วย
3.ระหว่างการทดสอบได้มีการพัฒนาและปรับปรับปรุงคุณภาพของโปรแกรมเพื่อให้สามารถใช้งานได้
ดี ไม่มีข้อผิดพลาดของการทำงาน
ระบบติดตามสถานะเตียงว่างและระบบรายงานระดับความรุนแรงของผู้ป่วย มีรูปแบบการใช้งาน
โปรแกรม คือ เจ้าหน้าที่จะลงข้อมูลสถานะเตียงผ่านโปรแกรม เช่น ถ้าเตียงว่างจะเป็นสีขาว เตียงผู้ป่วยอาการ
วิกฤตเตียงจะเป็นสีแดง เตียงผู้ป่วยสังเกตอาการเตียงจะเป็นสีเขียว เตียงผู้ป่วยอาการปานกลางเตียงจะเป็นสี
ส้ม ผู้รับผิดชอบจะสามารถดูสถานะผ่านจอคอมพิวเตอร์ได้ทันที สามารถรู้จำนวนเตียงว่างของห้องพิเศษเตียง