Page 710 - Best Practice Poster 2024 (อัพเดต)
P. 710

Q22


                  ยังไม่สามารถฝึกหายใจได้ถูกต้อง จำท่าออกกำลังกายได้ไม่ครบ งานเวชกรรมฟื้นฟูจึงได้พัฒนา “คู่มือบริหาร

                  ปอด” ให้ผู้ป่วยสามารถนำการฝึกหายใจ และการออกกำลังกายไปฝึกปฏิบัติที่บ้านได้อย่างถูกต้อง
                         2.3 จัดเตรียมโปรแกรมการฟื้นฟูสมรรถภาพปอด
                         2.4 จัดทำ “คู่มือบริหารปอด”

                         2.5  จัดทำยางยืดออกกำลังกาย โดยใช้หนังยางขนาดใหญ่ (เส้นผ่านศูนย์กลาง 5 เซนติเมตร) จำนวน
                             4-5 เส้นซ้อนทับกัน แล้วร้อยต่อเป็นลักษณะข้อโซ่ ความยาว 40 ข้อโซ่ ผูกปมที่ปลายยางทั้งสอง
                             ข้าง เพื่อป้องกันการเลื่อนหลุดของหนังยาง
                         2.6 ตรวจประเมิน บันทึกระดับความรู้สึกเหนื่อยในการประกอบกิจวัตรประจำวัน (MMRC dyspnea
                             scale)

                  ก่อนทำโปรแกรม
                         2.7 ให้โปรแกรมการฟื้นฟูสมรรถภาพปอด พร้อมกับคู่มือบริหารปอด โดยให้ผู้ป่วยนำไปปฏิบัติด้วย
                             ตนเอง

                  ที่บ้าน เป็นระยะเวลา 8 สัปดาห์ และมีการติดตามโทรสอบถามทุก 2 สัปดาห์ทุกราย
                         2.8 ตรวจประเมิน บันทึกระดับความรู้สึกเหนื่อยในการประกอบกิจวัตรประจำวัน (MMRC dyspnea
                  scale) หลังเสร็จสิ้นโปรแกรมการฟื้นฟูสมรรถภาพปอด

                  ผลการศึกษา
                         ผู้ป่วย COPD ที่ได้รับโปรแกรมการฟื้นฟูสมรรถภาพปอดครบกำหนด ร้อยละ 94.83 (จำนวน 55/58

                  ราย) มีอาการหอบเหนื่อยลดลงหรือคงเดิม สามารถทำกิจกรรมต่างๆในชีวิตประจำวันได้ดีขึ้น และไม่มีประวัติ
                  การเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลจากการกำเริบของโรค
                         ผู้ป่วย COPD จำนวน 2 ราย ถูกคัดออกจากโครงการ เนื่องจากไม่สามารถออกกำลังกายตามโปรแกรม
                  การฟื้นฟูสมรรถภาพปอดได้ครบกำหนด เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลซ้ำจากการกำเริบของโรค อาจเกิดจาก

                  โปรแกรมการออกกำลังกายที่หนักเกินไป ความถี่ในการออกกำลังกายมากกว่าที่กำหนด หรือปัจจัยอื่นๆ เช่น
                  สภาพแวดล้อม ความเครียด ส่งผลให้มีคะแนน MMRC เพิ่มขึ้นจนเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล

                  อภิปรายผล
                         นวัตกรรม “คู่มือบริหารปอด”  ในผู้ป่วย COPD สามารถลดอาการหอบเหนื่อย และเพิ่มความสามารถ
                  ในการทำกิจวัตรประจำวัน ในด้านประสิทธิภาพในการใช้งานพบว่า ผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังในคลินิก

                  สามารถออกกำลังกายตามคู่มือได้อย่างถูกต้อง และปฏิบัติได้ด้วยตนเอง

                  สรุปและข้อเสนอแนะ
                         นวัตกรรม “คู่มือบริหารปอด”  ในผู้ป่วย COPD สามารถลดอาการหอบเหนื่อยได้ แต่ควรมีการ
                         กำหนด
                  จำนวนครั้งของการออกกำลังกายแต่ละท่า กำหนดท่าออกกำลังกาย ตามระดับ MMRC dyspnea scale และ

                  อายุของผู้ป่วย มีข้อควรระวัง หรืออาการที่ไม่พึงประสงค์ในการออกกำลังกาย เพื่อป้องกันการกำเริบของโรค
                  จากการออกกำลังกายตามโปรแกรมการฟื้นฟูสมรรถภาพปอด
   705   706   707   708   709   710   711   712   713   714   715