Page 709 - Best Practice Poster 2024 (อัพเดต)
P. 709

Q21


                                                       คู่มือบริหารปอด




                                                                นางสาวรัตนกานต์ ดีทอง , นางสาวปุณณมาส ใจธรรม
                                                                        โรงพยาบาลบางสะพานน้อย เขตสุขภาพที่ 5

                                                                          ประเภทผลงานนวัตกรรม และสิ่งประดิษฐ์

                  ความสำคัญของปัญหาวิจัย

                         โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง (Chronic Obstructive Pulmonary Disease หรือ COPD) คือกลุ่มอาการของ
                  โรคปอดอักเสบเรื้อรัง มีสาเหตุสำคัญ ได้แก่ อัตราการสูบบุหรี่ และมลพิษในอากาศที่เพิ่มขึ้น เป็นต้น
                  ในปี 2564จังหวัดประจวบคีรีขันธ์พบว่าอัตราการป่วยเป็นโรค COPD เพิ่มขึ้นโดยเฉพาะในกลุ่มผู้สูงอายุ (ปี
                  2562 จำนวน 76 คน ปี63 จำนวน 85 คน และปี64 จำนวน 84 คน) ทั้งนี้อาจเนื่องมาจาก COPD มีการดำเนิน
                  ของโรคค่อนข้างช้า จะแสดงอาการก็ต่อเมื่อมีการตีบแคบของหลอดลม ทำให้มีการรบกวนระบบทางเดินหายใจ

                  ส่งผลต่อการทำกิจวัตรประจำวัน เกิดการติดเชื้อบริเวณปอดและถุงลม มีลมในช่องเยื่อหุ้มปอด
                  (Pneumothorax) หรือ หัวใจห้องขวาล้มเหลว (Cor pulmonale) เกิดภาวะหัวใจวาย นำไปสู่สาเหตุการ
                  เสียชีวิต หลักการรักษาโรค COPD จึงเป็นแบบประคับประคอง ลดอาการหอบเหนื่อยในขณะพักและขณะทำ

                  กิจกรรม  รวมถึงแนวทางการรักษาแบบผสมผสาน ได้แก่ การรักษาทางการแพทย์ การรักษาทางยา การให้
                  ความรู้ในการปฏิบัติตน และการออกกำลังกาย จากบทความวิชาการปี2560 ของบุณฑริกา และคณะ อ้างถึง
                  การศึกษาการฟื้นฟูสมรรถภาพปอดด้วยยางยืดในผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง (แอนดี และคณะ, 2558)
                  ระยะเวลา 8 สัปดาห์ พบว่า การฝึกกล้ามเนื้อด้วยยางยืดเพิ่มความสามารถในการทำกิจกรรม เพิ่มความ

                  แข็งแรงของกล้ามเนื้อหายใจ ผู้ป่วยมีอาการหอบเหนื่อยลดลง ลดการกำเริบของโรค และเพิ่มความสามารถใน
                  การทำกิจวัตรประจำวันของผู้ป่วยได้
                         ในปี 2565 งานกายภาพบำบัด ได้ให้การฟื้นฟูสมรรถภาพปอดคือ Diaphragmatic breathing
                  exercise, Pursed lip breathing exercise, Chest mobilization พบว่า วิธีดังกล่าวสามารถลดอาการหอบ

                  เหนื่อยขณะทำกิจกรรมต่างๆในชีวิตประจำวัน ในผู้ป่วย COPD  คิดเป็นร้อยละ 95 (จากผู้ป่วย COPD ที่เข้า
                  ร่วมกิจกรรม 20 ราย) ดังนั้น เพื่อเป็นการส่งเสริมให้ผู้ป่วยตระหนักถึงความสำคัญในการออกกำลังกาย และ
                  กระตุ้นให้ผู้ป่วยออกกำลังกายสม่ำเสมอ จึงได้ทำจัด “คู่มือบริหารปอด” ร่วมกับการใช้ยางยืด เพื่อฟื้นฟู
                  สมรรถภาพปอด  ลดอาการหอบเหนื่อย ลดอัตราการRe-admit และส่งเสริมให้ผู้ป่วย COPD สามารถออก

                  กำลังกายบริหารปอดได้ด้วยตนเองอย่างถูกวิธี
                  วัตถุประสงค์การศึกษา
                         1.1 เพื่อลดอาการหอบเหนื่อยในผู้ป่วย COPD

                         1.2 ผู้ป่วย COPD สามารถออกกำลังกายบริหารปอดได้ด้วยตนเองอย่างถูกวิธี
                      2.  วิธีการศึกษา
                         ใช้หลักการ Plan – Do – Check – Act
                         2.1 วางแผนวิเคราะห์ปัญหา จากการสอบถามพบว่า มีผู้ป่วยโรค COPD ได้นำการฝึกหายใจ และการ
                             ออก

                         2.2 กำลังกายไปปฏิบัติที่บ้าน ทำให้มีอาการหอบเหนื่อยลดลง และจากการทบทวนพบว่า ผู้ป่วย
                             ดังกล่าว
   704   705   706   707   708   709   710   711   712   713   714