Page 718 - Best Practice Poster 2024 (อัพเดต)
P. 718
Q30
สถิติ ได้แก่ พฤติกรรมการบริโภคที่ไม่ดี และยังพบว่าผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงขาดความรู้ความเข้าใจถึงชนิด
และปริมาณโซเดียมที่รับประทาน ไม่ทราบว่าผงชูรสเป็นเกลือโซเดียมชนิดหนึ่ง
3. จากผลการวิจัยพบว่าการรับรู้โอกาสเสี่ยงของการเกิดโรคที่เกิดจากการการบริโภคอาหารรสเค็ม
การรับรู้ความรุนแรงของโรคที่เกิดจากการบริโภคอาหารรสเค็ม ความรู้เกี่ยวกับการบริโภคอาหารรสเค็ม และ
การไม่มีโรคประจำตัว มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการบริโภคอาหารที่มีรสเค็ม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่
ระดับ .05 และสามารถทำนายพฤติกรรมการบริโภคอาหารที่มีรสเค็มของประชาชนในเขตเทศบาลเมือง
จังหวัดยโสธร ได้ร้อยละ 48 สอดคล้องกับ แบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพกรีนและครูเตอร์ ( Green &
Kreuter 1991) กล่าวว่า บุคคลจะต้องมีการรับรู้ต่อโอกาสเสี่ยงของการเป็นโรคหรือภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ
รับรู้ต่อความรุนแรงของโรค ซึ่งการรับรู้นี้จะผลักดันให้บุคคลหลีกเลี่ยงจากภาวะคุกคามของโรค โดยการเลือก
วิธีการปฏิบัติที่คิดว่าเป็นทางออกที่ดีที่สุด
การนำผลการวิจัยไปใช้
ใช้เป็นแนวทางในการพัฒนารูปแบบและแนวทางการรณรงค์การลดการบริโภคอาหารรสเค็ม ให้
สอดคล้องกับสภาพสังคม วัฒนธรรม ภูมิปัญญาท้องถิ่นและบริบทของพื้นที่ โดยเน้นการพึ่งพาตนเองด้านการ
บริโภคอาหารให้ได้ ย่อมส่งผลต่อการแก้ปัญหาในระยะยาว
ข้อเสนอแนะจากประเด็นที่ค้นพบจากงานวิจัย
จัดโครงการส่งเสริมสุขภาพเพื่อให้ข้อมูลและสร้างแรงจูงใจแก่ประชาชนให้ตระหนักถึงพิษภัยของ
การบริโภคอาหารรสเค็มและโซเดียมเกิน เพื่อป้องกันโรคไม่ติดต่อเรื้อรังและชะลอความเสื่อมของไต ครอบคลุม
ทุกกลุ่มประชาชน โดยเฉพาะผู้ประกอบการอาหาร โดยมีการสื่อสารประชาสัมพันธ์หลากหลายช่องทางที่
เหมาะสมแต่ละกลุ่มเป้าหมาย รวมทั้งส่งเสริมการให้ความรู้กับผู้บริโภค และให้ความสำคัญกับการอ่านฉลาก
และข้อมูลโภชนาการ