Page 716 - Best Practice Poster 2024 (อัพเดต)
P. 716

Q28

                  ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง ประชากรในการศึกษาครั้งนี้คือ ประชาชนที่มีอายุ 35-59 ปี ที่อาศัยอยู่ในเขต
                  เทศบาลเมือง จังหวัดยโสธร กลุ่มตัวอย่าง ได้จากการคำนวณขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้สูตรของ Yamane ที่

                  ระดับความเชื่อมั่น 95% (1973 : 887, อ้างถึงใน ธีรวุฒิ เอกะกุล 2546 : 135)  จำนวน 110 คน โดยวิธีการสุ่ม
                  ตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน (Multi - stage Random Sampling ) โดยเก็บข้อมูลในประชาชนที่อาศัยในเขตเทศบาล
                  จังหวัดยโสธร จนได้กลุ่มตัวอย่างที่กำหนด


                  เกณฑ์ในการคัดเข้า (Inclusion criteria) มีดังนี้
                         1. ไม่ได้อยู่ระหว่างการรักษาโรคใดๆก็ตาม
                         2. ยินยอมเป็นอาสาสมัครเข้าร่วมงานวิจัย

                   เกณฑ์ในการคัดออก (Exclusion criteria) มีดังนี้
                         1. ผู้เข้าร่วมวิจัยเกิดปัญหาด้านสุขภาพต่างๆ
                         2. มีความไม่สบายใจในการเข้าร่วมวิจัย
                  การวิเคราะห์ข้อมูล ผู้วิจัยวิเคราะห์ข้อมูลด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์ โดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป SPSS กำหนด

                  ระดับความมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.05 โดยมีรายละเอียดของการวิเคราะห์ดังต่อไปนี้
                         (1) วิเคราะห์ข้อมูลทั่วไป โดยใช้สถิติการแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบน

                  มาตรฐาน
                         (2) วิเคราะห์ข้อมูลความรู้เกี่ยวกับการบริโภคอาหารรสเค็ม พฤติกรรมการบริโภคอาหารรสเค็ม
                  การรับรู้โอกาสเสี่ยงของการเกิดโรคที่เกิดจากการบริโภคอาหารรสเค็ม การรับรู้ความรุนแรงของโรคที่เกิดจาก
                  การบริโภคอาหารรสเค็ม โดยใช้สถิติร้อยละ ค่าเฉลี่ย   และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

                         (3) การวิเคราะห์ปัจจัยทำนายพฤติกรรมการบริโภคอาหารรสเค็ม โดยใช้การวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ
                  แบบ Enter รวมทั้งหาตัวแปรที่มีอำนาจทำนายได้ดีที่สุด โดยใช้การวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ แบบ Stepwise
                  เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นแบบสอบถาม

                  แบ่งเป็น 4 ส่วน ได้แก่  1) แบบสอบถามข้อมูลทั่วไป ประกอบด้วยข้อมูลด้าน อายุ เพศ ระดับการศึกษา
                  อาชีพ  รายได้  การมีโรคประจำตัว 2) แบบสอบถามความรู้เกี่ยวกับการบริโภคอาหารรสเค็ม ซึ่งพัฒนามาจาก
                  แบบทดสอบความรู้ของกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข จำนวน 10 ข้อ  3) แบบสอบถามการรับรู้โอกาส

                  เสี่ยงของการเกิดโรคที่เกิดจากการบริโภคอาหารรสเค็ม จำนวน 10 ข้อ เป็นข้อคำถามปลายปิด ผู้วิจัยสร้างขึ้น
                  โดยใช้แบบวัดมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) 5 ระดับ ดังนี้ เห็นด้วยมากที่สุด  เห็นด้วยมาก เห็นด้วย
                  ปานกลาง เห็นด้วยน้อย เห็นด้วยน้อยที่สุด  4) แบบสอบถามการรับรู้ความรุนแรงของโรคที่เกิดจากการบริโภค

                  อาหารรสเค็มจำนวน จำนวน 10 ข้อเป็นข้อคำถามปลายปิด ผู้วิจัยสร้างขึ้นโดยใช้แบบวัดมาตราส่วนประมาณ
                  ค่า (Rating Scale) 5 ระดับ ได้แก่ เห็นด้วยมากที่สุดเห็นด้วยมาก เห็นด้วยปานกลาง เห็นด้วยน้อย เห็นด้วย
                  น้อยที่สุด  5) แบบประเมินพฤติกรรมการบริโภคอาหารรสเค็ม ซึ่งพัฒนามาจากแบบประเมินวัดระดับความเค็ม
                  ของกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข จำนวน 15 ข้อ ข้อคำถาม เป็นคำถามแบบประมาณค่า (Rating Scale)

                  แบ่งออกเป็น 5 ระดับ ได้แก่ ปฏิบัติเป็นประจำ  ปฏิบัติบ่อยครั้ง  ปฏิบัติพอประมาณ  ปฏิบัตินาน ๆ ครั้ง  ไม่
                  ปฏิบัติเลย
                  ผลการศึกษา

                         ลักษณะทั่วไปของกลุ่มตัวอย่าง เป็นเพศหญิง ร้อยละ51.30 เพศชาย ร้อยละ 48.80 ส่วนใหญ่อายุ 35-
                  40 ปี คิดเป็นร้อยละ 44.50 รองลงมาคือ 41-50 ปี ร้อยละ 33.80 ระดับการศึกษาส่วนใหญ่มัธยมศึกษาร้อยละ
                  40 รองลงมาคือ ระดับการศึกษาระดับปริญญาตรี ร้อยละ 35 รายได้เฉลี่ยส่วนใหญ่ 5,000-10,000 บาท/เดือน
   711   712   713   714   715   716   717   718   719   720   721