Page 715 - Best Practice Poster 2024 (อัพเดต)
P. 715
Q27
ปัจจัยทำนายพฤติกรรมการบริโภคอาหารรสเค็มของประชาชน
ในเขตเทศบาลเมืองจังหวัดยโสธร
นายมงคล อาตวงศ์
โรงพยาบาลนายแพทย์หาญ เขตสุขภาพที่ 10
ประเภทวิชาการ
ความสำคัญของปัญหา
ปัจจุบันประชากรในประเทศไทยและประเทศอื่น ๆ ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ประสบปัญหาการ
ป่วยและตายด้วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ได้แก่ โรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน โรคหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง
หรือหัวใจตีบหรือตัน ที่มีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้น ทำให้ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการดูแลรักษาพยาบาลเพิ่มขึ้นทุก ๆ ปี
(WHO อ้างถึงใน อรรถพล แก้วสัมฤทธิ์, 2556) ซึ่งสะท้อนให้เห็นว่าแนวโน้มขนาดปัญหาของโรคมีความรุนแรง
และกว้างขวางมากขึ้น ด้วยส่วนหนึ่งของโรคดังกล่าวมีสาเหตุมาจากการบริโภคเกลือ (โซเดียม) มากเกินความ
จำเป็น ปัจจุบันพบว่าคนไทยส่วนใหญ่บริโภคอาหารรสเค็มหรืออาหารที่มีปริมาณโซเดียมมากเกินความจำเป็น
โดยเฉลี่ยประมาณสองเท่า จากปริมาณที่ร่างกายต้องการ ประมาณ 10.8 กรัมต่อวัน โดยปกติร่างกายควรได้รับ
โซเดียมอย่างน้อยวันละ 500 มิลลิกรัม สูงสุดไม่ควรเกินวันละ 2,400 มิลลิกรัม (กองสุขศึกษา กระทรวง
สาธารณสุข, 2556) การได้รับโซเดียมเกินเป็นสาเหตุสำคัญทำให้ป่วยเป็นโรคเรื้อรังมากถึง 20 ล้านคน โดย
อาหารส่วนใหญ่จะมีการปรุงด้วยเกลือ น้ำปลา ซอสปรุงรสต่าง ๆ เติมเข้าไปในอาหารชนิดต่าง ๆ เช่น อาหาร
แปรรูป อาหารสำเร็จรูป เครื่องปรุงรส ขนมขบเคี้ยว นอกจากนี้โซเดียมยังแฝงมาในอาหารอื่น ๆ ที่ไม่มีรสชาติ
เค็ม เช่น ผงชูรส ผงฟู ซึ่งหากร่างกายได้รับโซเดียมในปริมาณที่มากเกินไป ทำให้เสี่ยงที่จะเกิดโรคความดัน
โลหิตสูง โรคหัวใจ โรคไต อัมพฤกษ์ อัมพาต และถ้าบริโภคอาหารที่มีรสเค็มต่อเนื่องเป็นเวลานาน อาจทำให้
อันตรายถึงชีวิตได้ (กองสุขศึกษา กระทรวงสาธารณสุข, 2556)
แม้ว่าจะมีการดำเนินโครงการต่าง ๆ เพื่อให้ความรู้ และรณรงค์ให้ประชาชนตระหนักในผลกระทบ
ของการบริโภคโซเดียมหรืออาหารรสเค็มต่อสุขภาพ แต่ยังพบว่าประชาชนส่วนใหญ่ยังมีการบริโภคอาหารรส
เค็มหรืออาหารที่มีเกลือโซเดียมเกินปริมาณที่ร่างกายต้องการจนเกิดเป็นนิสัยและความเคยชิน หากสามารถ
ทราบปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการบริโภคอาหารรสเค็ม ย่อมนำไปสู่การหาวิธีการเพื่อทำให้ประชาชนลดการ
บริโภคอาหารรสเค็มได้ ดังนั้นผู้วิจัยจึงสนใจศึกษาพฤติกรรม และปัจจัยทำนายพฤติกรรมการบริโภคอาหารรส
เค็มของประชาชนในเขตเทศบาลเมือง จังหวัดยโสธร เพื่อนำผลการวิจัยไปกระตุ้นเตือนให้ประชาชนเกิดความ
ตระหนักถึงความสำคัญของการกินอาหารลดเค็มที่เหมาะสม สามารถนำไปปฏิบัติได้อย่างถูกต้อง และนำไปสู่
การมีสุขภาพดีอย่างยั่งยืน
วัตถุประสงค์การศึกษา
1. เพื่อศึกษาพฤติกรรมการบริโภคอาหารรสเค็มของประชาชนในเขตเทศบาลเมืองจังหวัดยโสธร
2. เพื่อศึกษาปัจจัยทำนายพฤติกรรมการบริโภคอาหารรสเค็มของประชาชนในเขตเทศบาลเมือง
จังหวัดยโสธร
วิธีการศึกษา / การดำเนินการ
รูปแบบการศึกษา การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงบรรยาย(descriptive research)