Page 717 - Best Practice Poster 2024 (อัพเดต)
P. 717

Q29

                  รองลงมาคือ 10,001-20,000 บาท/เดือน กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ประกอบอาชีพรับจ้างร้อยละ 44.80 รองลงมา
                  คือ เกษตรกรร้อยละ 30.50 การมีโรคประจำตัวพบว่ากลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ ไม่มีโรคประจำตัว ร้อยละ 72.00

                  มีโรคประจำตัวความดันโลหิตสูง ร้อยละ 15.50 และเบาหวานร้อยละ 12.5   ระดับความรู้เกี่ยวการบริโภค
                  อาหารรสเค็มพบว่า กลุ่มตัวอย่างมีความรู้อยู่ในระดับปานกลางมากที่สุดร้อยละ 46.30 รองลงมาคือระดับสูง
                  ร้อยละ 31.50   พฤติกรรมการบริโภคอาหารรสเค็มของประชาชนในเขตเทศบาลเมือง จังหวัดยโสธร อยู่ใน

                  ระดับปฏิบัติบ่อยครั้ง  ตัวแปรพยากรณ์ที่ดีของพฤติกรรมการบริโภคอาหารรสเค็มของประชาชนในเขตเทศบาล
                  เมือง จังหวัดยโสธร ได้แก่ การรับรู้โอกาสเสี่ยงของการเกิดโรคที่เกิดจากการบริโภคอาหารรสเค็ม  การรับรู้
                  ความรุนแรงของโรคที่เกิดจากการบริโภคอาหารรสเค็ม ความรู้เกี่ยวกับการบริโภคอาหารรสเค็ม และการไม่มี

                  โรคประจำตัว ซึ่งตัวแปรทั้ง 4 ตัวนี้สามารถร่วมกันพยากรณ์พฤติกรรมการบริโภคอาหารรสเค็มของประชาชน
                  ในเขตเทศบาลเมือง จังหวัดยโสธร ได้ร้อยละ 48

                  สรุปและอภิปรายผลการวิจัย
                         1. จากผลการวิจัยพบว่าพฤติกรรมการบริโภคอาหารรสเค็มของประชาชนในเขตเทศบาลเมือง จังหวัด

                  ยโสธร โดยรวมอยู่ในระดับปฏิบัติบ่อยครั้ง แสดงให้เห็นว่าประชาชนยังไม่ตระหนักถึงอันตรายหรือผลกระทบ
                  จากการบริโภคอาหารรสเค็มหรืออาหารที่มีโซเดียม อาจเนื่องจากกลุ่มตัวอย่างที่ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่ไม่
                  มีโรคประจำตัวจึงไม่ได้ควบคุมปริมาณเกลือหรือโซเดียมในอาหาร เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่าข้อที่มีการ

                  ปฏิบัติทุกครั้งคือ คุณกินน้ำจิ้มในอาหารจำพวก ลูกชิ้น ข้าวมันไก่ สุกี้ หมูกระทะโดยไม่คิดถึงปริมาณการกินใน
                  แต่ละครั้งเลย( X =3.36) คุณกินอาหารนอกบ้าน หรือชื้อกลับมากินที่บ้านเป็นประจำ (2-3 มื้อ/วัน)  ( X =3.27)
                  อาหารที่คุณทำเองคุณมักเติมเครื่องปรุง จำพวก ซุปก้อน ผงปรุงรส ผงชูรส( X =3.26) สอดคล้องกับการศึกษา
                  ของลือชัย ศรีเงินยวงและคณะ (2549) ศึกษาเกี่ยวกับแบบแผนความคิด ความเชื่อเกี่ยวกับการบริโภคเกลือ

                  โซเดียมและความคิดความเชื่อเกี่ยวกับความสัมพันธ์ของการบริโภคเกลือโซเดียมกับภาวะสุขภาพและภาวะ
                  ความดันโลหิตในประชากรกลุ่มอายุ 15-59 ปี พบว่า ร้อยละ 48.5 มีพฤติกรรมการรับประทานอาหารจานเดียว

                  หรืออาหารตามสั่ง ร้อยละ 60 มีการใช้ผงปรุงรสทุกครั้งที่ปรุงอาหารเอง และสอดคล้องกับการศึกษาของดล
                  รัตน์  รุจิวัฒนากร (2547) ที่พบว่าผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงมีพฤติกรรมค่อนข้างไม่ดีในเรื่องการรับประทาน
                  อาหารเค็มใส่ผงชูรส และการเติมเครื่องปรุงรส แสดงให้เห็นว่าปัจจุบันประชาชนมีค่านิยมในการรับประทาน
                  อาหารนอกบ้าน อาจเพราะเวลาที่เร่งรีบหรือการรับประทานอาหารนอกบ้านมีอาหารให้เลือกหลากหลายชนิด

                  มีรสชาติหลากหลาย ประกอบกับแบบแผนวัฒนธรรมการกินของภาคอีสานชอบบริโภคอาหารรสจัด ประเภท
                  ส้มตำ น้ำพริกเป็นประจำ ซึ่งอาหารประเภทนี้ค่อนข้างมีรสเผ็ดและเค็ม เมื่อรับประทานบ่อยจึงทำให้เกิดความ
                  เคยชินในรสชาติ

                         2. จากผลการวิจัยพบว่าระดับความรู้เกี่ยวการบริโภคอาหารรสเค็มของประชาชนในเขตเทศบาลเมือง
                  จังหวัดยโสธร มีความรู้อยู่ในระดับปานกลางมากที่สุดร้อยละ 46.30 รองลงมาคือระดับสูง ร้อยละ 31.50 แสดง
                  ว่าประชาชนส่วนใหญ่มีความรู้เกี่ยวกับการบริโภคอาหารรสเค็มเนื่องจากปัจจุบันหน่วยงานที่รับผิดชอบ
                  เกี่ยวกับการส่งเสริมสุขภาพมีการรณรงค์ให้ประชาชนทราบถึงผลกระทบของการบริโภคอาหารรสเค็มที่มีต่อ

                  สุขภาพโดยทางสื่อ โฆษณา และจัดทำโครงการส่งเสริมสุขภาพต่าง ๆ แต่ไม่สอดคล้องกับพฤติกรรมการบริโภค
                  อาหารรสเค็มของกลุ่มตัวอย่างที่พบว่าปฏิบัติบ่อยครั้ง เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่ากลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ไม่

                  ทราบว่าผงชูรสเป็นเกลือโซเดียมชนิดหนึ่ง สอดคล้องกับการศึกษาของเสาวนีย์  ศรีติระกุลและคณะ (2542) ซึ่ง
                  พบว่า ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความล้มเหลวของของการควบคุมระดับความดันโลหิตสูงอย่างมีนัยสำคัญทาง
   712   713   714   715   716   717   718   719   720   721   722