Page 738 - Best Practice Poster 2024 (อัพเดต)
P. 738

R15


                             การพัฒนาระบบการดูแลผู้ป่วยภาวะกระดูกแท่งยาวหักแบบเปิด
                          (Opened long bone fracture) โรงพยาบาลประโคนชัย จังหวัดบุรีรัมย์



                                                                                          นางสาวหัสญา สีหวงษ์
                                                                โรงพยาบาลประโคนชัย จังหวัดบุรีรัมย์เขตสุขภาพที่ 9
                                                                                               ประเภท วิชาการ


                  ความสำคัญของปัญหาวิจัย
                         กระดูกหักเป็นภาวะที่พบได้ทุกเพศทุกวัย  โดยจำนวนผู้ป่วยที่ต้องเข้ารับการรักษาจากสาเหตุ
                  กระดูกหักมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นในทุก ๆปี ซึ่งการเกิดกระดูกขาหักจากสาเหตุใดก็ตามมักจะมีผลกระทบต่อผู้ป่วย

                  ได้แก่ ทุกข์ทรมานจากการเจ็บปวด วิตกกังวลเกี่ยวกับภาพลักษณ์และการสูญเสียรายได้ ภาวะกระดูกหัก
                  แบบเปิด (Opened Fracture) หมายถึง ภาวะกระดูกแตกหักที่เปิดรับการปนเปื้อนจากสิ่งแวดล้อมภายนอก
                  ซึ่งเป็นลักษณะการบาดเจ็บที่พบได้บ่อยและมีความสำคัญเป็นอย่างมากหากได้รับการดูแลรักษาที่ล่าช้า

                  หรือไม่ถูกต้องอาจทำให้เกิดภาวะกระดูกติดเชื้อ ต้องใช้ระยะเวลาในการรักษาที่ยาวนานมากขึ้นหรือทำให้เกิด
                  ปัญหาทุพพลภาพได้ จากการเก็บข้อมูลในปีงบประมาณ 2565 พบว่าหอผู้ป่วยศัลยกรรมและศัลยกรรมกระดูก
                  รับผู้ป่วยเข้ารับการรักษาเป็นผู้ป่วยที่มีภาวะกระดูกหัก 783 ราย เป็นผู้ป่วยที่มีภาวะกระดูกหักแบบเปิด 492 ราย
                  โดยเป็นผู้ป่วยที่มีภาวะกระดูกแท่งยาวหักแบบเปิด (Opened long bone fracture) 18 ราย จำนวนวันนอน
                  เฉลี่ย 142 วัน และผู้ป่วยได้รับการผ่าตัดภายใน 6 ชั่วโมง คิดเป็นร้อยละ 33.33 ในจำนวนนี้มีผู้ป่วยจำนวน 1 ราย

                  ที่มีภาวะติดเชื้อขณะนอนโรงพยาบาลร่วมด้วย โดยรับการรักษาในโรงพยาบาล จำนวน 19 วัน จากการทบทวน
                  พบว่าผู้ป่วยไม่ได้รับการดูแลตามมาตรฐานในเวลาที่เหมาะสมครบถ้วนภายใน 3 ชั่วโมง และไม่ได้รับการผ่าตัด
                  ภายใน 6 ชั่วโมง หลังจากเกิดอุบัติเหตุผู้วิจัยจึงได้กำหนดแนวทางการพัฒนาระบบการดูแลผู้ป่วยที่มีภาวะ

                  กระดูกแท่งยาวหักแบบเปิด (Opened long bone fracture) เพื่อประโยชน์ในการให้การรักษาที่ทันท่วงที
                  ตามมาตรฐานเพื่อช่วยลดโอกาสเกิดภาวะกระดูกติดเชื้อ ลดระยะเวลาการนอนโรงพยาบาลและลดภาวะทุพพลภาพได้

                  วัตถุประสงค์การศึกษา
                         2.1 เพื่อศึกษาและพัฒนาระบบการดูแลผู้ป่วยภาวะกระดูกแท่งยาวหักแบบเปิดโดยใช้บันทึกคำสั่งแพทย์
                  (Standing order)

                         2.2 เพื่อลดภาวะแทรกซ้อนจากภาวะกระดูกแท่งยาวหักแบบเปิด
                         2.3 เพื่อสร้างการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายในการป้องกันภาวะแทรกซ้อนจากภาวะกระดูกแท่งยาวหัก
                  แบบเปิด

                  ตัวชี้วัด
                         1. ผู้ป่วย Opened long bone fracture  ได้รับการดูแลเบื้องต้นครบถ้วนภายใน 3 ชั่วโมง

                         2. ผู้ป่วย Opened long bone fracture  ได้รับการผ่าตัดภายใน 6 ชั่วโมง มากกว่าร้อยละ 25
                         3. ผู้ป่วย Opened long bone fracture  ไม่เกิดภาวะแทรกซ้อน

                  วิธีการศึกษา
                         เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ (Action research) เพื่อศึกษาและพัฒนาระบบการดูแลผู้ป่วยที่มีภาวะ
                  กระดูกแท่งยาวหักแบบเปิด โดยใช้บันทึกคำสั่งแพทย์ (Standing order) ดำเนินการวิจัยตามวงจรการวิจัย
   733   734   735   736   737   738   739   740   741   742   743