Page 736 - Best Practice Poster 2024 (อัพเดต)
P. 736
R13
รูปแบบการศึกษา
แบบกลุ่มเดียววัดผลก่อนและหลังตามโปรแกรมที่ได้ออกแบบโดยจัดกิจกรรมในระยะที่ผู้ป่วย
อยู่โรงพยาบาลและหลังผู้ป่วยจำหน่าย รวมเวลาประมาณ 2 สัปดาห์ ประกอบด้วย สอนสุขศึกษา การสาธิต
และฝึกปฏิบัติ โดยใช้สื่อวิดีโอ คู่มือการปฏิบัติตัว พร้อมทั้งให้แผ่นพับคำแนะนำการดูแลตนเองเมื่อกลับบ้าน
ในครั้งที่ 1,2 และครั้งที่ 3 โทรติดตามเยี่ยมวันที่ 3 และวันที่ 10 หลังจำหน่ายและนัดติดตามประเมินความรู้
และทักษะการปฏิบัติตัว วันที่ 14 จำหน่าย
กลุ่มตัวอย่าง
ผู้ป่วยกระดูกหน้าแข้งหักที่รับการผ่าตักใส่โลหะยึดตรึงภายในหอผู้ป่วยออร์โธปิดิกส์ โรงพยาบาลสมเด็จ
พระยุพราชสว่างแดนดิน จังหวัดสกลนคร ที่ได้รับการวินิจฉัยด้วยรหัส ICD-10 S821-S823 และ รหัส ICD-9 7936
การวิเคราะห์ข้อมูลและสถิติที่ใช้
เปรียบเทียบความแตกต่างของคะแนนเฉลี่ยความรู้ก่อนและหลังโดยสถิติ paired t-test กำหนด
นัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และทักษะการดูแลตนเองโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาวิเคราะห์ข้อมูลโปรแกรม
สำเร็จรูป กำหนดระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ .05
ผลการศึกษา
ตารางเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยคะแนนความรู้ และทักษะการดูแลตนเองของผู้ป่วยผ่าตัดกระดูกหน้าแข้ง
ก่อนและหลังการเข้าโปรแกรม
n = 14
ตัวแปร n Mean * S.D. df t P – value
ความรู้เกี่ยวกับการดูแลตนเอง
ก่อนการเข้าโปรแกรม 14 14.78 2.39 13 - 8.437 < 0.001 **
หลังการเข้าโปรแกรม 14 19.35 0.74
ทักษะการดูแลตนเอง
ก่อนการเข้าโปรแกรม 14 2.79 0.15 13 - 1.578 0.139
หลังการเข้าโปรแกรม 14 2.84 0.11
**
* Test distribution is Normal by Kolmogorov-Smirnov Z test. ระดับนัยสำคัญที่ P – value < 0.05
อภิปรายผล
ผลการศึกษา พบว่าผู้ป่วยกระดูกหน้าแข้งหักที่รับการผ่าตัดใส่โลหะยึดตรึงภายในก่อนและหลัง
การเข้าโปรแกรม ค่าเฉลี่ยคะแนนความรู้เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 (t = -8.437 , p < 0.05)
มีทักษะการดูแลตนเอง หลังการเข้าโปรแกรมสูงกว่าก่อนเข้าโปรแกรม ร้อยละการเกิดภาวะเหล็กดามกระดูกหัก
(Fail Implanted) ร้อยละ 0 และร้อยละการกลับมารักษาซ้ำ ร้อยละ 0 จึงสรุปได้ว่าโปรแกรมการให้ความรู้
และฝึกทักษะการดูแลตนเองหลังผ่าตัดในผู้ป่วย Fracture Tibia เป็นวิธีหนึ่งที่สามารถช่วยให้ผู้ป่วย มีความรู้
และทักษะในการดูแลตนเองในการฟื้นฟูสภาพร่างกาย และยังป้องกันเหล็กดามกระดูกหัก (Fail Implanted)
ทำให้ผู้ป่วยไม่ต้องกลับมารักษาซ้ำ และลดค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาล รวมถึงลดการเกิดความพิการชนิดถาวรได้