Page 739 - Best Practice Poster 2024 (อัพเดต)
P. 739
R16
เชิงปฏิบัติการ (Kemmis & Taggart) โดยประยุกต์ใช้แนวคิดของ Stetler Model (Stetler,2010) โดยมี
ขั้นตอน ดังนี้
3.1 ระยะที่ 1 การวางแผน (Planning) ประชุมเจ้าหน้าที่หอผู้ป่วยศัลยกรรมและศัลยกรรมกระดูก
และทีมสหสาขาวิชาชีพ และสร้างกลุ่ม LINE เพื่อชี้แจงและนำเสนอบันทึกคำสั่งแพทย์ พร้อมวิธีใช้งาน แนะนำ
วิธีเก็บข้อมูลและการคัดเลือกกลุ่มตัวอย่าง
3.2 ระยะที่ 2 การปฏิบัติตามแผน (Action) ติดตามการดูแลผู้ป่วยจาก Application LINE เมื่อผู้ป่วย
มาถึงหอผู้ป่วย เจ้าหน้าที่หอผู้ป่วยศัลยกรรมและศัลยกรรมกระดูกตรวจสอบความครบถ้วนของการให้
การพยาบาลรายงานศัลยแพทย์ออร์โธปิดิกส์และทีมผ่าตัดรับทราบให้การพยาบาลก่อนและหลังการผ่าตัด
แนะนำการดูแลตนเองและลงบันทึกข้อมูล
3.3 ระยะที่ 3 การสังเกตการณ์ (Observation) ติดตามการดูแลผู้ป่วยทุกรายและเก็บบันทึกข้อมูล
3.4 ระยะที่ 4 การสะท้อนผลการปฏิบัติงาน (Reflection) แลกเปลี่ยนเรียนรู้ ประเมินผลและสรุป
ปัญหาจากการดำเนินงานทุกไตรมาส พร้อมทั้งรายงานผลต่อทีมสหสาขาวิชาชีพและภาคีเครือข่าย
ผลการศึกษา
จากการเก็บข้อมูลตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2565 – 31 มีนาคม 2566 พบว่าหอผู้ป่วยศัลยกรรม
และศัลยกรรมกระดูก โรงพยาบาลประโคนชัย จังหวัดบุรีรัมย์ มีผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาด้วยภาวะกระดูก
แท่งยาวหักแบบเปิด ทั้งหมด 8 ราย ได้รับการดูแลโดยใช้บันทึกคำสั่งแพทย์คิดเป็นร้อยละ 100 และได้รับ
ความร่วมมือเป็นอย่างดีจากภาคีเครือข่ายในการใช้ระบบการปรึกษาและส่งต่อทาง Application LINE ทำให้
ผู้ป่วยได้รับการดูแลเบื้องต้นครบถ้วนภายใน 3 ชั่วโมง คิดเป็นร้อยละ 100 และได้รับการผ่าตัดภายใน 6 ชั่วโมง
คิดเป็นร้อยละ 25 โดยได้รับการผ่าตัดเฉลี่ยภายใน 7 ชั่วโมง ลดลงจากปีงบประมาณ 2565 ที่ได้รับการผ่าตัด
เฉลี่ยภายใน 9 ชั่วโมง และจำหน่ายกลับบ้านโดยแพทย์อนุญาตคิดเป็นร้อยละ 100 จำนวนวันนอนเฉลี่ย 6 วัน
ลดลงจากปีงบประมาณ 2565 ที่จำนวนวันนอนเฉลี่ย 12 วัน
อภิปรายผล
การใช้บันทึกคำสั่งแพทย์สำหรับผู้ป่วยภาวะกระดูกแท่งยาวหักแบบเปิดและการได้รับความร่วมมือ
จากภาคีเครือข่ายทำให้ผู้ป่วยได้รับการดูแลที่ถูกต้องครบถ้วนตามเวลาที่เหมาะสมภายใน 3 ชั่วโมง เมื่อมาถึง
หอผู้ป่วยทำให้การเตรียมตัวก่อนผ่าตัดใช้เวลาลดลง ผลลัพธ์จึงเป็นไปตามที่คาดหวัง คือ ผู้ป่วยได้รับการผ่าตัด
ภายใน 6 ชั่วโมง ทำให้ขณะนอนรักษาตัวในโรงพยาบาลผู้ป่วยไม่เกิดภาวะแทรกซ้อนขณะผ่าตัดและหลังผ่าตัด
สังเกตได้ว่าผู้ป่วยที่ได้รับการดูแลตามมาตรฐานสามารถลดอัตราการนอนโรงพยาบาลและลดปัญหาทุพพลภาพได้
ข้อเสนอแนะ
6.1 ควรมีการประชุมติดตามผลทุกๆไตรมาส เพื่อนำข้อมูลมาวิเคราะห์ปัญหาและปรับปรุงแก้ไข
6.2 ควรจัดทำแฟ้มสำหรับเก็บข้อมูลที่ใช้งานง่ายสำหรับทุกคนและสะดวกต่อการนำมาใช้
เพื่อวิเคราะห์ข้อมูล
6.3 ควรมีการติดตามอาการหลังกลับบ้านว่าผู้ป่วยสามารถดำเนินชีวิตได้อย่างเป็นปกติหรือไม่
โดยอาศัยความร่วมมือจาก รพ.สต.เพื่อโอกาสในการพัฒนาระบบการดูแลผู้ป่วยต่อเนื่องเมื่อจำหน่ายกลับบ้าน
ซึ่งต้องอาศัยความร่วมมือจากชุมชนต่อไป
6.4 ควรมีการออกชุมชนเพื่อให้ความรู้ในการดูแลผู้ป่วยต่อเนื่องที่บ้านร่วมกับทีมสหสาขาวิชาชีพ