Page 735 - Best Practice Poster 2024 (อัพเดต)
P. 735
R12
ผลการใช้โปรแกรมการให้ความรู้และฝึกทักษะการดูแลตนเองหลังผ่าตัดต่อการป้องกันภาวะ
Fail Implanted ในผู้ป่วย Fracture Tibia โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชสว่างแดนดิน
นางเย็นใจ พิมพ์บรรณ ,นางสาวรัตนาภรณ์ กวานเหียน
โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชสว่างแดนดิน จังหวัดสกลนคร เขตสุขภาพที่ 8
ประเภท วิชาการ
ความสำคัญของปัญหาวิจัย
กระดูกหักเป็นปัญหาทางออร์โธปิดิกส์ (Orthopedics) ที่พบได้บ่อย คือกระดูกส่วนล่างของร่างกาย
คือกระดูกขา โดยเฉพาะกระดูกขาส่วนล่างหรือกระดูกหน้าแข้งหัก (Tibia, fibula, ankle fracture) ซึ่งส่วนใหญ่
เกิดจากการได้รับอุบัติเหตุที่รุนแรง เช่น อุบัติเหตุรถชน การตกจากที่สูงเป็นเหตุให้กระดูกหัก ทิ่มแทงเนื้อเยื่อ
และผิวหนังฉีกขาด การรักษามีทั้งไม่ทำผ่าตัด เช่น การเข้าเฝือก (cast) การยึดตรึงกระดูกด้วยการถ่วงน้ำหนัก
(traction) และการผ่าตัด เช่น การผ่าตัดยึดตรึงกระดูกภายนอก และการผ่าตัดยึดตรึงกระดูกภายใน อันเป็น
วิธีการรักษากระดูกขาหักที่ใช้กันแพร่หลายมากที่สุด แต่พบว่ายังคงมีภาวะแทรกซ้อนหลังการผ่าตัดที่เกิดจาก
การปฏิบัติตัวไม่ถูกต้อง การลงน้ำหนักก่อนเวลาอันควรทำให้เกิดเหล็กดามกระดูกหัก (Fail Implanted) ส่งผล
ให้ผู้ป่วยต้องกลับมารับการรักษาซ้ำและต้องให้การรักษาเพิ่มเติม เพื่อให้กระดูกติดและหลีกเลี่ยงความพิการ
ทำให้ค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นและนอนโรงพยาบาลนานขึ้น
จากสถิติผู้ป่วยกระดูกหน้าแข้งหักที่เข้ารับการรักษาในโรงสมเด็จพระยุพราชสว่างแดนดิน
ปี พ.ศ. 2564 - 2566 มีจำนวน 52 ราย ,60 ราย และ 42 ราย ซึ่งผู้ป่วยได้รับการผ่าตัดใส่โลหะยึดตรึงกระดูกภายใน
จำนวน 41 ราย ,51 ราย และ 36 ราย พบว่ามีอุบัติการณ์การเกิดเหล็กดามกระดูกหัก (Fail Implanted)
จำนวน 7 ราย ,5 ราย และ 1 ราย คิดเป็นร้อยละ 17.07 ,9.80 และ 2.78 ตามลำดับ เมื่อทบทวนอุบัติการณ์
การพบว่าเกิดจากการปฏิบัติตัวไม่ถูกต้องตามแผนการรักษาขณะกลับไปอยู่ที่บ้านในเรื่องการเดิน การลงน้ำหนัก
ก่อนแพทย์อนุญาต และเมื่อวิเคราะห์สถานการณ์พบว่าการให้ความรู้และการฝึกทักษะการดูแลตนเองหลังผ่าตัด
เป็นแบบตั้งรับและยังขึ้นกับความรู้ความสามารถของพยาบาลแต่ละคน รวมถึงขาดการกระตุ้นให้ครอบครัว
มีส่วนร่วมในการสนับสนุนการฝึกของผู้ป่วย
ดังนั้น ผู้วิจัยจึงสนใจที่จะศึกษาผลการใช้โปรแกรมการให้ความรู้และฝึกทักษะการดูแลตนเอง
หลังผ่าตัด ต่อการป้องกันภาวะ Fail Implanted ในผู้ป่วย Fracture Tibia เพื่อให้ความรู้และฝึกทักษะการดูแล
ตนเองแบบเชิงรุกร่วมกับการให้ผู้ดูแลหลักเข้ามามีส่วนร่วมในการดูแลตั้งแต่แรกรับ ในการดูแลและฟื้นฟูสภาพ
ร่างกายผู้ป่วยให้กลับสู่ภาวะปกติโดยเร็ว ป้องกันภาวะแทรกซ้อนที่จะเกิดขึ้นและไม่มีภาวะเหล็กดามกระดูกหัก
(Fail Implanted) ภายใน 6 เดือน และยังเป็นการพัฒนาคุณภาพการพยาบาลผู้ป่วยออร์โธปิดิกส์ด้วย
วัตถุประสงค์การศึกษา
เพื่อศึกษาประสิทธิผลโปรแกรมการให้ความรู้และฝึกทักษะการดูแลตนเองหลังผ่าตัดต่อการป้องกัน
ภาวะ Fail Implanted ในผู้ป่วย Fracture Tibia โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชสว่างแดนดิน
วิธีการศึกษา
ระยะเวลาดำเนินการ
ตั้งแต่เดือน ตุลาคม 2566 – มีนาคม 2567