Page 744 - Best Practice Poster 2024 (อัพเดต)
P. 744
R21
สรุปและข้อเสนอแนะ
1. การติดตามระดับคะแนนปวด: ควรมีการติดตามระดับคะแนนปวดของผู้ป่วยอย่างต่อเนื่อง
ซึ่งการติดตามจะช่วยให้สามารถประเมินและวิเคราะห์ผลลัพธ์ของการรักษาได้อย่างแม่นยำ
2. การปรับเปลี่ยนกิจกรรมการรักษา: ควรมีการปรับเปลี่ยนกิจกรรมการรักษาให้เหมาะสมกับระดับ
คะแนนปวดของผู้ป่วย รวมถึงทีมนักกายภาพบำบัดควรติดตามระดับคะแนนปวดของผู้ป่วยอย่างต่อเนื่อง
ติดตามว่าการปรับเปลี่ยนกิจกรรมการรักษาช่วยให้ผู้ป่วยได้รับการรักษาที่ตรงกับความต้องการ
3. การส่งต่อข้อมูล: ควรมีการส่งต่อข้อมูลระหว่างนักกายภาพบำบัดเมื่อมีการเปลี่ยนเวรหรือกำลัง
ทดแทนซึ่งการส่งต่อข้อมูลจะช่วยให้ผู้ป่วยได้รับการรักษาอย่างต่อเนื่อง
4. การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ: ควรใช้เทคโนโลยีสารสนเทศจากระบบปฏิบัติการ เช่น โปรแกรม Hos XP
ช่วยในการบันทึกข้อมูลผู้ป่วย อีกทั้งการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศจะช่วยให้สามารถจัดทำตัวชี้วัดได้อย่างมี
ประสิทธิภาพ
5. ข้อเสนอแนะเพิ่มเติม: ควรมีการพัฒนาโปรแกรมกายภาพบำบัดเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการรักษา
มีการศึกษาปัจจัยอื่น ๆ ที่ส่งผลต่อคะแนนอาการปวดหลัง รวมถึงเพิ่มจำนวนนักกายภาพบำบัดให้เพียงพอ
ต่อจำนวนผู้ป่วย อีกทั้งผลการศึกษาข้างต้นมีกลุ่มตัวอย่างน้อย ควรทำการศึกษาปัจจัยต่างๆ เกี่ยวกับอาการ
ปวดหลังและประสิทธิภาพของการรักษาเปรียบเทียบกลุ่มต่าง ๆต่อไป