Page 747 - Best Practice Poster 2024 (อัพเดต)
P. 747

S2


                  ผลการศึกษา
                  ข้อมูลทั่วไปและข้อมูลทางสุขภาพ   กลุ่มตัวอย่างเป็นเพศหญิง 41 คน (ร้อยละ 61.23) และเพศชาย 21 คน
                  (ร้อยละ 33.87) ส่วนใหญ่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป (ร้อยละ 43.55) โดยมีอายุเฉลี่ย 56±9.88 ปี ประกอบอาชีพ

                  เกษตรกรรม/รับจ้าง และไม่ได้ทำงานที่ร้อยละ 45.16 และ ร้อยละ 33.87 มากตามลำดับ ไม่มีโรคประจำตัว
                  ร่วมร้อยละ 36.67 โรคประจำตัวร่วมที่พบมาก ได้แก่ ไขมันในหลอดเลือดสูง ความดันโลหิตสูง และเบาหวาน
                  (ร้อยละ 18.89, 13.33, 13.33 ตามลำดับ) ไม่มีประวัติการใช้กัญชาเพื่อรักษาอาการเจ็บป่วยมาก่อน ร้อยละ 80.65
                  ประสิทธิผลของการใช้น้ำมันกัญชาหมอเดชาต่ออาการนอนไม่หลับ  ข้อมูลความรู้สึกอาการนอนไม่หลับ
                  ของผู้ป่วย (Insomnia Severity Index; ISI) ประกอบไปด้วย 4 ด้าน 7 ข้อคำถาม และมีการวัดระดับของ

                  อาการนอนไม่หลับ มีช่วงคะแนน 0-28 โดยอาการนอนไม่หลับจะมีความรุนแรงเพิ่มขึ้นตามระดับคะแนน
                  พบว่าหลังได้รับน้ำมันกัญชาหมอเดชา มีคะแนนลดลงจากก่อนได้รับน้ำมันกัญชาหมอเดชา อย่างมีนัยสำคัญ
                  ทางสถิติทั้ง 4 ด้าน (ทั้ง 7ข้อคำถาม p<0.001) กลุ่มตัวอย่างมีค่าเฉลี่ยรวมคะแนนความรู้สึกอาการนอนไม่หลับ

                  ก่อนใช้ยาอยู่ที่ 14.44±3.67 และหลังใช้ยาเท่ากับ 7.98±5.71 ซึ่งลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (<0.001)
                  และมีระดับความรุนแรงของอาการนอนไม่หลับแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ  (p<0.001) และหลัง
                  ได้รับน้ำมันกัญชาหมอเดชามีระยะเวลานอนรวมต่อคืน (ชั่วโมง) (7.47±1.99) เพิ่มขึ้นมากกว่าก่อนได้รับ
                  น้ำมันกัญชาหมอเดชา(6.42±2.05) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P<0.001)


                   คะแนนความรู้สึกอาการนอนไม่หลับ  ช่วงคะแนน  ISI ครั้งที่ 1  ISI ครั้งที่ 2  t  a
                    (Insomnia Severity Index; ISI)  (Mean±SD)  (Mean±SD)  p-value  ระดับความรุนแรงของอาการ
                  คะแนน ISI
                  ข้อที่ 1 ด้านการเข้าสู่การนอนหลับยาก  1-4  2.33±0.97  1.29±0.93  7.17  <0.001  นอนไม่หลับ
                  ข้อที่ 2 ด้านการไม่สามารถนอนหลับอย่า  1-4  2.58±0.78  1.48±1.24  7.298  <0.001
                  ต่อเนื่อง
                  ข้อที่ 4 ด้านมีผลกระทบต่อการด าเนิน
                                        1-4    2.79±0.60  1.35±1.12  9.142  <0.001
                  ชีวิตประจ าวัน
                  ข้อที่ 5 ด้านมีผลกระทบต่อการด าเนิน
                                        1-4    2.00±1.08  0.89±0.96  4.262  <0.001
                  ชีวิตประจ าวัน
                  ข้อที่ 6 ด้านมีผลกระทบต่อการด าเนิน
                                        1-4    1.00±1.01  0.56±0.78  3.173  0.002
                  ชีวิตประจ าวัน
                  ข้อที่ 7 ด้านมีผลกระทบต่อการด าเนิน
                                        1-4    2.00±1.04  1.00±1.13  5.425  <0.001
                  ชีวิตประจ าวัน
                  คะแนน ISI รวมเฉลี่ยทั้ง 7 ข้อ  1-28  14.44±3.67  7.98±5.71  8.647  <0.001
                  ระยะเวลานอนรวมต่อคืน (ชั่วโมง)  6.42±2.05  7.47±1.99  -4.643  <0.001
                  ประสิทธิผลของการใช้น้ำมันกัญชาหมอเดชาต่อคุณภาพชีวิต   เมื่อเปรียบเทียบคุณภาพชีวิตก่อนและหลังรับ
                  บริการจากแบบประเมิน EQ-5D-5L แยกเป็น 5 ด้าน ประกอบด้วย 1. ด้านความสามารถในการเคลื่อนไหว

                  2. ด้านการดูแลตนเอง 3. ด้านการทำกิจวัตรประจำวัน 4. ด้านความเจ็บปวด และ 5.ด้านความวิตกกังวล และ
                  นำมาคำนวณค่าอรรถประโยชน์ (utility) และมีการวัดสภาวะสุขภาพโดยตรง (Visual Analog Scale; VAS)
                  ร่วมด้วย พบว่าคุณภาพชีวิตด้านความวิตกกังวลดีขึ้นหลังได้รับน้ำมันหมอเดชาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ
                  (p=0.009) ส่วนคุณภาพชีวิตในด้านความสามารถในการเคลื่อนไหว ด้านการดูแลตนเอง ด้านการทำกิจวัตร

                  ประจำวัน และด้านความเจ็บปวด ไม่แตกต่างกัน และคะแนนสภาวะสุขภาพโดยตรง (Visual Analog Scale;
                  VAS) ที่เป็นการให้คะแนนสุขภาพตัวเองในปัจจุบันพบว่ามีคะแนนเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p=0.009)
                  ส่วนค่าอรรถประโยชน์ (utility) เป็นค่าพึงพอใจของบุคคลต่อสุขภาพตนเอง  มีค่าเพิ่มขึ้นไม่แตกต่างจากก่อน

                  ได้รับน้ำมันหมอเดชา (p=0.079)
   742   743   744   745   746   747   748   749   750   751   752