Page 749 - Best Practice Poster 2024 (อัพเดต)
P. 749

S4

                         การศึกษาคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยระยะประคับประคองที่ใช้น้ำมันกัญชาขมิ้นทอง

                                          คลินิกกัญชาทางการแพทย์ จังหวัดอุดรธานี


                                                                                          นางรสมาลิน อินตายวง
                                                                  กลุ่มงานการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก

                                                                               สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดอุดรธานี เขตสุขภาพที่ 8
                                                                                         ประเภท ผลงานวิชาการ


                  ความสำคัญของปัญหาวิจัย
                         โรงพยาบาลห้วยเกิ้ง จังหวัดอุดรธานี ได้มอบตำรับน้ำมันกัญชาขมิ้นทองแก่กรมการแพทย์แผนไทย
                  และการแพทย์ทางเลือก และได้รับประกาศเป็นตำรับยาแผนไทยของชาติตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข

                  เรื่องการประกาศกำหนดตำราการแพทย์แผนไทยของชาติ และตำรับยาแผนไทยของชาติ ฉบับที่ 35 พ.ศ.2566
                  ภายใต้พระราชบัญญัติคุ้มครองและส่งเสริมภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย พ.ศ.2542 ในการคุ้มครองตำรับยา
                  และตำราการแพทย์แผนไทยที่มีประโยชน์หรือมีคุณค่าทางการแพทย์หรือการสาธารณสุข ปัจจุบันโรงพยาบาล
                  และโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลในจังหวัดอุดรธานีเปิดให้บริการคลินิกกัญชาทางการแพทย์แผนไทย

                  โดยได้มีการนำตำรับน้ำมันกัญชาขมิ้นทองมาใช้กับผู้ป่วยด้วยหวังประโยชน์ในแง่ของการเพิ่มคุณภาพชีวิตของผู้ป่วย
                  ทั้งในผู้ป่วย Palliative Care และ Non-Palliative Care อย่างไรก็ตาม การวิจัยเพื่อศึกษาประสิทธิผลและ
                  ความปลอดภัยของตำรับน้ำมันกัญชาขมิ้นทองมีไม่มากนัก ดังนั้น ผู้วิจัยจึงต้องการศึกษาคุณภาพชีวิตของผู้ป่วย
                  ระยะประคับประคองที่ใช้น้ำมันกัญชาขมิ้นทอง คลินิกกัญชาทางการแพทย์แผนไทย หน่วยบริการสาธารณสุข

                  ในจังหวัดอุดรธานี เพื่อเป็นยาทางเลือกในการเพิ่มคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยระยะประคับประคองต่อไป

                  วัตถุประสงค์การศึกษา
                         1) เปรียบเทียบคะแนนความรุนแรงภาวะสุขภาพ 10 อาการ (Edmonton Symptom Assessment
                  Scale ;ESAS) ได้แก่ อาการปวด เหนื่อยอ่อนเพลีย คลื่นไส้ ซึมเศร้า วิตกกังวล ง่วงซึม เบื่ออาหาร ไม่สบายกายใจ
                  เหนื่อยหอบ นอนไม่หลับ ก่อนและหลังได้รับน้ำมันกัญชาขมิ้นทอง

                   2) เปรียบเทียบคะแนนอรรถประโยชน์จากการประเมินคุณภาพชีวิตมิติสุขภาพ 5 ด้าน (European Quality
                  of Life 5 Dimensions 5 Level ;EQ-5D-5L) ก่อนและหลังได้รับน้ำมันกัญชาขมิ้นทอง
                  3) เปรียบเทียบความสามารถในการดูแลตัวเองในชีวิตประจำวันด้านต่างๆของผู้ป่วยประคับประคอง

                  (Palliative Performance Scale;PPS) ก่อนและหลังได้รับน้ำมันกัญชาขมิ้นทอง

                  วิธีการศึกษา
                         รูปแบบการวิจัยเป็นแบบกึ่งทดลอง (Quasi-experimental research design) โครงการวิจัยนี้
                  ผ่านการอนุมัติจากคณะกรรมการพิจารณาจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดอุดรธานี
                  รหัสโครงการ UDREC 1166 (ปีพ.ศ. 2565) กลุ่มตัวอย่าง คือผู้ป่วยที่แพทย์วินิจฉัยระยะประคับประคอง

                   และแพทย์แผนไทยสั่งใช้น้ำมันกัญชาขมิ้นทองตามข้อบ่งใช้ในคู่มือแนวทางการใช้น้ำมันกัญชาขมิ้นทอง
                  โรงพยาบาลการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ผสมผสานห้วยเกิ้ง จังหวัดอุดรธานี และมีข้อมูลการติดตาม
                  ผลการใช้น้ำมันกัญชาขมิ้นทองที่แพทย์แผนไทยบันทึกในโปรแกรม R8COT ครบ 3 ครั้ง คือในวันที่ 0, 7 และ
                  วันที่ 14 ดำเนินการวิจัยตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน 2565 ถึงเดือนพฤศจิกายน 2566 ณ หน่วยบริการสาธารณสุข
   744   745   746   747   748   749   750   751   752   753   754