Page 4 - คู่มือตำรับอาหารมาตรฐานในโรงพยาบาล (new)
P. 4
ข
คำนำ
ปัญหาโรคไม่ติดต่อเรื้อรังหรือโรค NCDs (Noncommunicable diseases) เป็นปัญหาสุขภาพ
ที่สำคัญของประชาชนคนไทย ซึ่งปัจจัยส่วนหนึ่งมาจากพฤติกรรมสุขภาพที่ไม่ถกต้อง พฤติกรรมเสี่ยง 3อ.
ู
2ส. เป็นพฤติกรรมสุขภาพในการดำเนินชีวิตประจำวัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งพฤติกรรมการบริโภคอาหาร
ที่ไม่ถูกต้อง ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อสุขภาพ ทำให้เจ็บป่วยด้วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง คุณภาพชีวิตลดลง
และสูญเสียค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาล ไม่ว่าจะเป็นค่าใช้จ่ายของตัวผู้ป่วยเอง และยังส่งผลกระทบต่อ
ภาวะเศรษฐกิจและสังคมของประเทศด้วย
กลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง อาทิ โรคเบาหวาน โรคหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง ภาวะไขมันในเลือด
ุ
สูง โรคความดันโลหิตสูง โรคอวนลงพง โรคมะเร็ง ฯลฯ ความเจ็บป่วยจากโรคกลุ่มนี้จะรบกวนการใช้
้
ชีวิตประจำวันของผู้ป่วย และก่อให้เกิดภาวะแทรกซ้อนตามมา บุคลากรทางการแพทย์ที่มีส่วนสำคัญ
ในการดูแลรักษาเมื่อผู้ป่วยเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล คือ แพทย์ พยาบาล เภสัชกร
นักกำหนดอาหาร นักโภชนาการ โภชนากร และบุคลากรวิชาชีพอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง อาหารเป็นปัจจัยสำคัญ
ื้
ที่จะช่วยรักษาและฟนฟสภาพจากการเจ็บป่วยของผู้ป่วยได้ดียิ่งขึ้น ถ้าอาหารที่ให้บริการนั้นมีคุณภาพ
ู
มาตรฐาน มีคุณค่าทางโภชนาการที่ถูกต้องและเหมาะสม รวมถึงสะอาดและมีความปลอดภัยที่จะบริการ
ให้แก่ผู้ป่วย จะช่วยให้ผู้ป่วยฟื้นตัวจากการเจ็บป่วยได้เร็วขึ้น ลดระยะเวลาการพักรักษาตัวในโรงพยาบาล
รวมทั้ง ลดค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลด้วย
กระทรวงสาธารณสุข และสมาคมนักกำหนดอาหารแห่งประเทศไทย จึงได้ดำเนินการโครงการ
พฒนาและจัดทำคู่มือตำรับอาหารมาตรฐานสำหรับผู้ป่วยในโรงพยาบาล เพอเพมสมรรถนะของ
ั
ื่
ิ่
นักกำหนดอาหาร นักโภชนาการ โภชนากร และใช้เป็นแนวทางในการปฏิบัติงานของนักกำหนดอาหาร
นักโภชนาการ โภชนากร ในการบริการอาหารผู้ป่วยที่ได้มาตรฐาน และเป็นในแนวทางเดียวกัน โดยได้
รวบรวมตำรับอาหาร จำนวน 2,400 กว่าตำรับจากกลุ่มงานโภชนศาสตร์ จำนวน 84 โรงพยาบาล ทั่วทั้ง
ประเทศในสังกัดกระทรวงสาธารณสุข มาวิเคราะห์คุณค่าทางโภชนาการ ทดลองสูตรตำรับอาหาร และ
จัดทำเป็นรายการอาหารหมุนเวียนที่ได้มาตรฐานสำหรับผู้ป่วยในโรงพยาบาล เพอเป็นแนวทางในการ
ื่
นำไปประยุกต์ใช้ในโรงพยาบาลให้สอดคล้องตามบริบทของพื้นที่นั้นๆ