Page 751 - แนวทางการพัฒนาการจัดระบบบริการสุขภาพ
P. 751

  กรณีที่ผู้ป่วยไม่สามารถตัดสินใจได้ด้วยตนเองแล้ว แผนการดูแลล่วงหน้าจะใช้เป็นแนวทางที่ท าให้
                        ผู้ประกอบวิชาชีพ ด้านสาธารณสุขทราบถึงความต้องการ คุณค่าและความเชื่อของผู้ป่วย รวมทั้ง
                        ใช้แผนการดูแลล่วงหน้าเป็นแนวทางตัดสินใจได้ นอกจากนี้ยังมี ประโยชน์มากในกรณีที่มีการเปลี่ยนทีม
                        การดูแล หรือเมื่อผู้ป่วยจ าเป็นต้องไปรับการดูแลแบบเร่งด่วนกับทีมอื่น รวมถึงทราบว่าผู้ป่วยมอบหมาย

                        ให้ใครเป็นผู้แสดงเจตนาแทนตนเอง
                         การดูแลแบบประคับประคอง (Palliative Care) หมายถึง การดูแลผู้ที่มีภาวะจ ากัดการด ารงชีวิต
                     (Life Limiting Conditions) หรือภาวะคุกคามต่อชีวิต (Life Threatening Conditions) โดยมีจุดประสงค์
                     เพื่อเพิ่มคุณภาพชีวิตและบ าบัด เยียวยาและบรรเทาความทุกข์ทางกาย จิต อารมณ์ สังคม และจิตวิญญาณ

                     ตั้งแต่ระยะเริ่มต้นของการเจ็บป่วยจนกระทั่งเสียชีวิต โดยครอบคลุมถึงครอบครัวและผู้มีความสัมพันธ์
                                 11
                     ของผู้นั้นด้วย  โดยเป็นการดูแลตั้งแต่แรกวินิจฉัยว่าเป็นโรคหรือภาวะที่ไม่สามารถรักษาให้หายได้
                     และไม่ตอบสนองต่อการรักษา ซึ่งผู้ป่วยอาจอยู่ได้นานหลายเดือน หรือหลายปีก่อนจะเสียชีวิต เป็นการดูแล
                                                        12
                     ระดับพื้นฐาน (Primary Palliative Care)  ซึ่งเป็นการผสมผสานการดูแลแบบประคับประคองกับการดูแล
                     สุขภาพทั่วไป ซึ่งไม่ใช่การดูแลผู้ป่วยในช่วงใกล้เสียชีวิตเท่านั้น
                         หลักการดูแลผู้ป่วยแบบประคับประคอง  ประกอบด้วย
                                                          13
                           - การวางแผนการดูแลล่วงหน้า และด าเนินการตามความประสงค์

                         - ก าหนดเป้าหมายการดูแล รวมถึงสถานที่ที่ต้องการได้รับการดูแล และสถานที่เสียชีวิต
                          - การป้องกันและการจัดการอาการที่ไม่สุขสบาย รวมถึงการจัดการในภาวะวิกฤติ
                           - การดูแลด้านจิตสังคม และจิตวิญญาณ
                          - การสนับสนุนด้านการด ารงชีวิตประจ าวัน

                          - การประคับประคองครอบครัว

                         การดูแลระยะท้าย (End of life Care) หมายถึง การดูแลผู้ที่อยู่ในภาวะพึ่งพิงที่ต้องดูแลระยะยาว
                     โดยผู้ป่วยที่เข้าเกณฑ์ต้องได้รับการดูแลประคับประคอง/ระยะท้าย จะได้รับการดูแลที่สถานชีวาภิบาล
                     หรือที่พักของผู้ป่วย หรือพักค้างแบบก าหนดระยะเวลา หรือพักค้างระยะยาว ที่มีคุณภาพมาตรฐาน
                     ครอบคลุมการบริการทั้งทางด้านร่างกาย จิตใจ สังคม และจิตวิญญาณ ภายใต้ความร่วมมือของหน่วยงาน

                     ภาครัฐ/ ท้องถิ่น และภาคเอกชน
                         หลักการดูแลผู้ป่วยระยะท้าย  ได้แก่
                                                 14
                          - ปรึกษาทีมดูแลประคับประคอง หากต้องการความช่วยเหลือในการดูแล
                          - คาดการณ์อาการล่วงหน้าและวางแผนการรักษา
                          - สื่อสารข้อมูลกับครอบครัว

                          - ทบทวนยาต่างๆที่ผู้ป่วยได้รับอยู่ในขณะนั้น ยาตัวใดควรใช้ต่อ ตัวใดควรเอาออก พิจารณาวิธีการ
                     บริหารยาที่เหมาะสม กรณีทีมประคับประคองบริหารยาเพื่อลดอาการปวด หอบเหนื่อย หรือไม่สุขสบาย
                     ผู้จัดการการดูแลผู้สูงอายุ (Care Manager) อาจร่วมประเมินความสุขสบายของผู้ป่วย


               11  WHO.WHO Definition of Palliative Care [Internet]. WHO. [cited 2012 Dec 30]. Available from:
               http://www.who.int/cancer/palliative/definition/en/
               12   คณะทางานพิจารณาศึกษาข้อเสนอการสร้างเสริมสุขภาวะ ในระยะสุดท้ายของชีวิต(คาสั่งคณะกรรมาธิการการพัฒนาสังคม และกิจการเด็ก เยาวชน สตรี ผู้สูงอายุ คนพิการ และผู้ด้อยโอกาส วุฒิสภา.
               การพัฒนาข้อเสนอเชิงนโยบายการสร้างเสริมสุขภาวะระยะสุดท้ายของชีวิตรองรับสังคมสูงวัย. 2566.
               13  คู่มือแนวทางการฝึกอบรมหลักสูตรผู้จัดการดูแลผู้สูงอายุ Care manager กระทรวงสาธารณสุข
               14  คู่มือแนวทางการฝึกอบรมหลักสูตรผู้จัดการดูแลผู้สูงอายุ Care manager กระทรวงสาธารณสุข




                                                             [22]
   746   747   748   749   750   751   752   753   754   755   756