กองบริหารการสาธารณสุข

แนวทางการส่งเสริมการปฏิบัติตามประมวลจริยธรรมข้าราชการพลเรือน : กรณีการเรี่ยไร


แนวทางการส่งเสริมการปฏิบัติตามประมวลจริยธรรมข้าราชการพลเรือน : กรณีการเรี่ยไร

เพื่อให้หัวหน้าส่วนราชการ ผู้บังคับบัญชา และข้าราชการมีแนวทางการปฏิบัติ ที่ชัดเจน สอดคล้องกับกฎหมาย ระเบียบ มติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องกับการเรี่ยไร ก.พ. จึงกำหนดแนวทาง ดังนี้

แนวทางปฏิบัติสำหรับข้าราชการพลเรือน : กรณีเรี่ยไรมี 7 ข้อห้าม คือ

 1) ห้ามจัด 2) ห้ามใช้ตำแหน่ง 3) ห้ามใช้อำนาจสั่ง ขอร้องหรือบังคับ 4) ห้ามให้คุณให้โทษ    ให้เดือดร้อน,อึดอัดใจ 5) ห้ามเรี่ยไรเพื่อซื้อของขวัญ,มอบของฝาก, อภินันทนาการโดยปราศจากเหตุตามปกติประเพณีนิยม  6)  ห้ามจัดกิจกรรมจำหน่ายบัตรเข้าชมการแสดง, การแข่งขันกีฬาเว้นแต่ได้รับอนุญาต 7) ห้ามใช้สัญลักษณ์,ตราสัญลักษณ์,บุคลากร,ทรัพย์สิน และเวลา เว้นแต่ได้รับอนุญาต

กลไกส่งเสริมการปฏิบัติตามประมวลจริยธรรมข้าราชการพลเรือน: กรณีการเรี่ยไร

1. หัวหน้าส่วนราชการและผู้บังคับบัญชา ปฏิบัติ 2 ต้อง คือ

1) ต้องศึกษาและปฏิบัติ กฎหมาย ระเบียบ และดำรงตนเป็นแบบอย่างที่ดี

                    2) ต้องส่งเสริมและพัฒนา ป้องกัน มีส่วนรับผิดชอบ อาจต้องรับผิดทางวินัย

2. คณะกรรมการจริยธรรมประจำกระทรวงสาธารณสุข

                    1) ให้สอดส่องดูแลข้าราชการให้ปฏิบัติตามประมวลจริยธรรม กฎหมายและ

                        ระเบียบ,ส่งเสริมให้แลกเปลี่ยนพูดคุยหรือปรึกษาหารือประเด็นความเสี่ยง

   วางแนวทางส่งเสริมและป้องกันการทุจริตฯ

                     2) กรณีสงสัยว่าเป็นการเรี่ยไรที่ไม่ถูกต้องหรือฝ่าฝืนประมวลจริยธรรมให้ยุติการ

              กระทำและคณะกรรมการวินิจฉัย

3. ก.พ.  : มีหน้าที่ กำกับ ดูแล ติดตาม ตรวจสอบและประเมินผล     

           : ตอบข้อสงสัยหรือคำถามเกี่ยวกับประมวลจริยธรรม

           : กรณีเป็นเรื่องสำคัญ มีผลกระทบในวงกว้าง และยังไม่มีคำวินิจฉัยของ ก.พ.หรือ

             ผู้ตรวจการแผ่นดิน คณะกรรมการจริยธรรมอาจส่งเรื่องให้ ก.พ.วินิจฉัยเพื่อ

             กำหนดเป็นบรรทัดฐาน      

กฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้อง

          1.  พรบ.ควบคุมการเรี่ยไร พ.ศ.2487

           2. ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการเรี่ยไรของหน่วยงานภาครัฐ พ.ศ.2544

           3. ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการเรี่ยไร...... (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2549

           4. ประกาศคณะกรรมการควบคุมการเรี่ยไรของหน่วยงานของรัฐเรื่องการยกเว้น...

              ตามข้อ 19 (4) และ(5) แห่งระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี......พ.ศ.2545  

              และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2549

           5. มติคณะรัฐมนตรีเกี่ยวกับเรื่อง การเรี่ยไรของทางราชการ, การเรี่ยไรซื้อของขวัญ

              ให้ผู้บังคับบัญชา, การเลี้ยงรับรองข้าราชการผู้ใหญ่ในการไปตรวจราชการ, การ

              ตรวจราชการ , การเรี่ยไรเงินซื้อของขวัญให้แก่ผู้บังคับบัญชาในโอกาสต่างๆ,

              เรื่องการเรี่ยไร, ประมวลจริยธรรมข้าราชการพลเรือน,การกำชับให้ผู้บังคับบัญชา

              รักษาวินัยของผู้ใต้บังคับบัญชา

.....................................................................

 

แนวทางการส่งเสริมการปฏิบัติตามประมวลจริยธรรมข้าราชการพลเรือน

: กรณีการให้หรือรับของขวัญหรือประโยชน์อื่นใด

 

เพื่อให้หัวหน้าส่วนราชการ ผู้บังคับบัญชา และข้าราชการมีแนวทางการปฏิบัติ ที่ชัดเจน สอดคล้องกับกฎหมาย ระเบียบ มติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องกับการให้หรือรับของขวัญหรือประโยชน์อื่นใด ก.พ. จึงกำหนดแนวทาง ดังนี้

แนวทางปฏิบัติสำหรับข้าราชการพลเรือน :กรณีการให้หรือรับของขวัญหรือประโยชน์อื่นใด

          1) ต้องไม่ถามถึงการให้หรือรับ

2) ต้องไม่รับหรือไม่ให้เงินสด เช็ค พันธบัตร หุ้น ทองคำ อัญมณี อสังหาริมทรัพย์ฯลฯ

3) ต้องไม่ยินยอมรู้เห็นเป็นใจให้บุคคลในครอบครัวให้หรือรับ

4) กรณีจำเป็นต้องรับหรือให้ ต้องตรวจสอบ....มูลค่า ไม่เกิน 3,000 บาท

5) กรณียกเว้นหรือจำเป็นนั้นอาจเสี่ยงและพึงระวังการตีมูลค่าที่ต่ำกว่าจริง

6) ควรใช้บัตรอวยพร สมุดอวยพร บัตรแสดงความยินดีแทน

กลไกส่งเสริมการปฏิบัติตามประมวลจริยธรรมข้าราชการพลเรือน : กรณีการให้หรือรับของขวัญหรือประโยชน์อื่นใด

           1. หัวหน้าส่วนราชการและผู้บังคับบัญชา

1) ต้องศึกษาและปฏิบัติ กฎหมาย ระเบียบ และดำรงตนเป็นแบบอย่างที่ดี

                   2) ต้องส่งเสริมและพัฒนาความรู้ ความเข้าใจการปฏิบัติให้ถูกต้อง

                   3) ให้ส่วนราชการกำหนดระเบียบ วิธีปฏิบัติ ให้ข้าราชการมีแนวทางที่ชัดเจน

2. คณะกรรมการจริยธรรมประจำกระทรวงสาธารณสุข

                      1) ให้สอดส่องดูแลข้าราชการให้ปฏิบัติตามประมวลจริยธรรม กฎหมาย และระเบียบ            

            2) ให้คณะกรรมการจริยธรรมและกลุ่มงานคุ้มครองจริยธรรมประจำกระทรวง

               สาธารณสุขรายงานการดำเนินงานเกี่ยวกับการรับของขวัญหรือประโยชน์อื่นใด

               ของข้าราชการให้หัวหน้าส่วนราชการและ ก.พ.ทราบ ภายในเดือนกันยายนของ ทุกปี           

3. ก.พ.  : มีหน้าที่ กำกับ ดูแล ติดตาม ตรวจสอบและประเมินผล     

           : ตอบข้อสงสัยหรือคำถามเกี่ยวกับประมวลจริยธรรม

           : กรณีเป็นเรื่องสำคัญ มีผลกระทบในวงกว้าง และยังไม่มีคำวินิจฉัยของ ก.พ.หรือ

             ผู้ตรวจการแผ่นดิน คณะกรรมการจริยธรรมอาจส่งเรื่องให้ ก.พ.วินิจฉัยเพื่อ

             กำหนดเป็นบรรทัดฐาน      

กฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้อง

                    1.  พรบ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ.

                          2542 (แก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ.2550 และฉบับที่ 2 พ.ศ.2554)

                    2. ประกาศคณะกรรมการป้องกันฯ เรื่องหลักเกณฑ์การรับทรัพย์สิน.....พ.ศ.2543

           3. ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการให้หรือรับของขวัญ...... พ.ศ.2544            

           4. มติ คณะรัฐมนตรีเรื่องการมอบของขวัญและการจัดงานปีใหม่

           5. ประมวลจริยธรรมข้าราชการพลเรือน

..................................................................





วันที่ประกาศข่าว : 27 ม.ค. 2558      กลุ่มงานยุทธศาสตร์     จำนวนผู้เข้าชม 5631 View