Page 40 - version 4 260566
P. 40

๓)  สร้างแนวทางปฏิบัติเพื่อการขับเคลื่อนนโยบายการร่วมลงทุนด้านสุขภาพ
                           (๑)  พัฒนาบุคลากรให้สามารถวิเคราะห์ความคุ้มค่า คุ้มทุนของโครงการ ร่วมลงทุนด้านสุขภาพ

                           (๒)  จัดทำต้นแบบโครงการร่วมลงทุนด้านสุขภาพของกระทรวงสาธารณสุข
                           (๓)  จัดทำฐานข้อมูลและองค์ความรู้เรื่องการร่วมลงทุนด้านสุขภาพพร้อมทั้งเผยแพร่
                               และประชาสัมพันธ์โครงการร่วมลงทุนด้านสุขภาพของกระทรวงสาธารณสุข
                           (๔)  สร้างแนวทางปฏิบัติในการเสริมสร้างความร่วมมือกับภาคเอกชนในด้านการร่วมลงทุน

                               การพัฒนาระบบการอำนวยความสะดวกแก่ผู้รับบริการ เช่น โรงพยาบาลประหยัดพลังงาน
                               เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เครื่องมือที่ใช้เทคโนโลยีขั้นสูงทันสมัย การบริการทางการแพทย์
                               และสุขภาพมูลค่าสูง และระบบการให้บริการอัจฉริยะ และรองรับสังคมผู้สูงอายุ
                           (๕)  การนำรูปแบบเทคโนโลยีทางการแพทย์ในระดับสากล มาใช้ในสถานบริการสุขภาพผ่าน

                               กลไกความร่วมมือทางธุรกิจกับรัฐ การแลกเปลี่ยนเทคโนโลยี มีการถ่ายทอดองค์ความรู้
                               และการพัฒนาทักษะแก่บุคลากรให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด กับหน่วยงานบริการทั้งใน
                               และต่างประเทศ
                           (๖)  การเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินงานโครงการก่อสร้างที่พักอาศัยบุคลากรสาธารณสุข

                               และอาคารบริการอื่นๆ บนที่ดินของรัฐ
                       ๔)  การเพิ่มประสิทธิภาพการบริการสุขภาพร่วมระหว่างประเทศในประชาคมอาเซียน (เมียนมา ลาว
               กัมพูชา มาเลเซีย) เพื่อการลงทุนร่วมระหว่างกันในการพัฒนาระบบบริการสุขภาพเฉพาะด้านในเขตเศรษฐกิจ

               พิเศษชายแดน (Border Special Economic Zone: SEZ)
                       ๕)  ร่วมมือกับหน่วยบริการภาครัฐและเอกชนการสนับสนุนการเพิ่มนวัตกรรมการให้บริการสุขภาพ
               ในระดับสากล รองรับระเบียงเศรษฐกิจตะวันออก (Eastern Economic Corridor: EEC สำหรับนักลงทุน
               และนักท่องเที่ยวต่างชาติ
                       ๖)  การสร้างความได้เปรียบในการแข่งขันทางการสาธารณสุขของประเทศในยุคดิจิทัล โดยการนำ

               เทคโนโลยีที่แพร่กระจายมาใช้ในระบบสุขภาพและแทรกซึมไปทุกภาคส่วน เพื่อสร้างโอกาสให้คนทุกกลุ่ม
               มีส่วนร่วมในการสร้างระบบสุขภาพที่ดี
                       ๗)  ส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีขั้นสูงในการรับมือกับความท้าทายใหม่ของการสาธารณสุขในวิถีถัดไป

               เช่น การสร้างและใช้ประโยชน์ จากข้อมูลสุขภาพ จากแหล่งต่างๆข้อมูล Social Media และข้อมูลที่มีการ
               จัดเก็บโดยอุปกรณ์และไหลผ่านเครือข่าย (Internet Of Thing) มาวิเคราะห์ผ่านระบบประมวลผลขนาดใหญ่
               เพื่อใช้ประโยชน์ในการปรับปรุงประสิทธิภาพ การบริการและการบริหารจัดการโครงสร้างพื้นฐาน

                       กลยุทธ์ที่ ๔ พัฒนาศักยภาพหน่วยบริการสุขภาพและสนับสนุนเขตสุขภาพให้มีศักยภาพในการ
               บริหารจัดการเขตสุขภาพ ลดความเหลื่อมล้ำในการบริการสุขภาพและการพัฒนาบริการ ให้มีคุณภาพเป็นเลิศ

               (กลุ่มงานยุทธศาสตร์/กลุ่มงานบริหารงบลงทุนภูมิภาค/กลุ่มงานพัฒนาประสิทธิภาพบริการ/กลุ่มงานพัฒนา
               ระบบบริการเฉพาะ/กลุ่มงานพัฒนาระบบบริการ)
                       มาตรการ และแนวทางการดำเนินงาน
                       ๑)  การขับเคลื่อนการพัฒนาศักยภาพของหน่วยบริการสุขภาพให้มีความเข้มแข็ง โดย

                           (๑)  พัฒนาและปรับปรุงหลักเกณฑ์การจัดตั้งและการปรับระดับศักยภาพของหน่วยบริการสุขภาพ
                               ให้สอดคล้องทันต่อสถานการณ์และแนวโน้มทิศทางการเปลี่ยนแปลงการปฏิรูปประเทศ
                               ด้านสาธารณสุข เพื่อนำไปสู่การบริการเป็นเลิศ (Service Excellence) ตามกรอบแนวทางการ

                               ดำเนินงานของแผนพัฒนาระบบบริการสุขภาพ (Service Plan)

             34
   35   36   37   38   39   40   41   42   43   44   45