Page 39 - version 4 260566
P. 39

บริการสุขภาพ และร่วมแก้ไขปัญหาการบริหารทรัพยากรในพื้นที่ ให้มีประสิทธิภาพ สะดวก
                               คล่องตัว เป็นธรรมแก่หน่วยงาน

                           (๖)  เสริมสร้างขีดความสามารถบุคลากรที่เกี่ยวข้องในการบริหารทรัพยากร การบริหารจัดการ
                               ข้อมูลให้สามารถวิเคราะห์และจัดทำสารสนเทศประกอบการตัดสินใจบริหารทรัพยากร
                               ให้กับผู้บริหารได้
                       ๓)  เสริมสร้างนวัตกรรมการบริหารจัดการทรัพยากรในระบบบริการสุขภาพ โดยการร่วมมือกับภาคี

               เครือข่ายสุขภาพพัฒนาระบบบริหารจัดการฐานข้อมูลทรัพยากรสุขภาพจากหน่วยงานทั่วประเทศ (National
               Health Resource Database) โดยใช้เทคโนโลยีดิจิทัล เพื่อวางแผนจัดสรรทรัพยากร ให้สอดคล้องกับระบบ
               บริการสุขภาพอย่างมีประสิทธิภาพ โดยมุ่งเน้น
                          (๑)  การพัฒนามาตรฐานกลาง (Minimum Standard Recruitments) ทั้งด้านบุคลากร ครุภัณฑ์

                               และสิ่งก่อสร้าง เพื่อการบริหารจัดการข้อมูลทรัพยากรสุขภาพตามระดับสถานบริการ
                               สุขภาพ เพื่อให้สามารถจัดบริการได้อย่างมีคุณภาพและประสิทธิภาพ
                          (๒)  การเชื่อมโยงข้อมูลทรัพยากรสุขภาพของสถานบริการสุขภาพสังกัดกระทรวงสาธารณสุข
                               กับระบบการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ (e-GP) ของกรมบัญชีกลาง

                          (๓)  ศึกษาการพัฒนาระบบการบริหารทรัพยากรสุขภาพของหน่วยงานอื่นในระดับกระทรวงที่มี
                               ภารกิจหลักในลักษณะเดียวกัน  เพื่อนำรูปแบบ Best Practice มาประยุกต์ใช้ให้เหมาะสม
                               กับการบริหารทรัพยากรสุขภาพของกระทรวงสาธารณสุข ตลอดจนการวิเคราะห์ข้อมูล

                               เพื่อประกอบการตัดสินใจของผู้บริหาร ให้มีประสิทธิภาพ และเชื่อมโยงระบบการบริหาร
                               จัดการเพื่อการพัฒนาระบบบริการสุขภาพ
                       ๔)  พัฒนารูปแบบการติดต่อสื่อสารผ่านเทคโนโลยีดิจิทัล Social Media เพื่อประสาน กำกับ
               ติดตาม การใช้ทรัพยากรสุขภาพ และเพิ่มสมรรถนะบุคลากรผู้รับผิดชอบให้มีศักยภาพในการดำเนินงานที่มี
               ประสิทธิภาพ เช่น การใช้เทคโนโลยี ระเบียบและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง เป็นต้น

                       ๕)  บูรณาการการทำงานร่วมกับกองแบบแผน กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ ในการพัฒนาแบบรูป
               รายการรายการก่อสร้างให้รองรับสังคมผู้สูงอายุ รองรับการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศของโลก(Climate change)
               และรองรับการแพทย์เฉพาะทางที่มีความซับซ้อนสูง เพื่อหนุนเสริมความเป็นเลิศด้านการแพทย์

               และสาธารณสุขมูลค่าสูง

                       กลยุทธ์ที่ ๓ ขับเคลื่อนนโยบายการให้ภาคีทุกภาคส่วนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐด้านสุขภาพ
               (กลุ่มงานยุทธศาสตร์/กลุ่มงานบริหารงบลงทุนภูมิภาค/กลุ่มงานพัฒนาประสิทธิภาพบริการ/กลุ่มงานพัฒนา
               ระบบบริการเฉพาะ/กลุ่มงานพัฒนาระบบบริการ)
                       มาตรการ และแนวทางการดำเนินงาน

                       ๑)  พัฒนาแนวทางดำเนินงานการร่วมลงทุนด้านสุขภาพของกระทรวงสาธารณสุข โดยเน้นการ
               ส่งเสริมความเป็นเลิศทางการแพทย์และบริการสุขภาพ ขั้นสูงและมูลค่าสูงและการดำเนินการในบางพื้นที่
               เช่น พื้นที่เศรษฐกิจ พื้นที่ชายแดน เป็นต้น
                       ๒)  การบูรณาการและทำงานร่วมกันระหว่างกรม/กระทรวงที่เกี่ยวข้อง เช่น กรมธนารักษ์

               กรมบัญชีกลาง สำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ เพื่อการพัฒนาแนวทางการดำเนินงาน
               การกระจายทรัพยากร และการบริหารสาธารณสุขให้สอดคล้องกับกฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้อง และ
               จัดสิ่งอำนวยความสะดวก ทรัพยากร เพื่อรองรับความต้องการของหน่วยบริการตามบริบทพื้นที่ และปัญหาสุขภาพ


                                                                                                         33
   34   35   36   37   38   39   40   41   42   43   44