Page 27 - ผลงานวิชาการระบบส่งต่อ 2567
P. 27
วัตถุประสงค์การศึกษา
1. เพื่อพัฒนารูปแบบการติดตามอาการผู้ป่วยต่อเนื่องมารับการรักษาที่โรงพยาบาลสวรรค์ประชารักษ์
2. เพื่อประเมินผลการติดตามอาการผู้ป่วยต่อเนื่องมารับการรักษาที่โรงพยาบาลสวรรค์ประชารักษ์
วิธีการศึกษา
รูปแบบการศึกษา เป็นการศึกษาแบบมีส่วนร่วม แบ่งออกเป็น 4 ขั้นตอนดังนี้
ขั้นตอนที่ 1 ศึกษาสถานการณ์ สภาพปัญหาการติดตามอาการผู้ป่วยที่ต่อเนื่องมารับการรักษา
ที่โรงพยาบาลสวรรค์ประชารักษ์ เป็นการศึกษาข้อมูลย้อนหลัง โดยเก็บข้อมูลผู้ป่วยวิกฤตฉุกเฉินที่ส่งตัวมารับ
การรักษาที่โรงพยาบาลสวรรค์ประชารักษ์ ตั้งแต่ พฤศจิกายน 2566 – เมษายน 2567
ขั้นตอนที่ 2 สร้างรูปแบบการติดตามอาการผู้ป่วยที่ต่อเนื่องมารับการรักษาที่โรงพยาบาลสวรรค์ประชารักษ์
โดย (1) กำหนดรูปแบบการประเมินผู้ป่วยวิกฤตฉุกเฉิน ก่อนการส่งต่อ ขณะการส่งต่อ และเมื่อถึงโรงพยาบาล
สวรรค์ประชารักษ์ โดยให้บันทึกผ่านระบบโปรแกรม Three Refer (2) ประสานงานกับทีมนักวิชาการคอมพิวเตอร์
พัฒนาโปรแกรมการบันทึกอาการ สัญญาณชีพ การดูแลผู้ป่วยก่อนส่งต่อ ขณะส่งต่อ และเมื่อถึงโรงพยาบาล
สวรรค์ประชารักษ์รูปแบบดิจิทัล (3) จัดประชุมชี้แจงพยาบาลส่งต่อในจังหวัดนครสวรรค์ในสังกัดกระทรวง
สาธารณสุข เกี่ยวกับการการติดตามอาการผู้ป่วยที่ต่อเนื่องมารับการรักษาที่โรงพยาบาลสวรรค์ประชารักษ์ รวมถึง
การบันทึกอาการเปลี่ยนแปลงผู้ป่วยขณะนำส่ง (4) ชี้แจงเจ้าหน้าที่หน่วยงานอุบัติเหตุและฉุกเฉินในการบันทึก
สัญญาณชีพที่มาถึงที่โรงพยาบาลสวรรค์ประชารักษ์
ขั้นตอนที่ 3 ทดลองใช้กระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการ เริ่มตั้งแต่เดือน 1 กุมภาพันธ์ 2567 โดยกำหนดให้
พยาบาลบันทึกอาการผู้ป่วยก่อนส่งต่อ ขณะส่งต่อ และเมื่อถึงโรงพยาบาลการประเมินผู้ป่วยวิกฤตฉุกเฉิน
Lever I ที่ต่อเนื่องในโปรแกรม Three Refer
ขั้นตอนที่ 4 ประเมินผลรูปแบบการติดตามอาการผู้ป่วยที่ต่อเนื่องมารับการรักษาที่โรงพยาบาล
สวรรค์ประชารักษ์ ที่พัฒนาขึ้นมา
การกำหนดตัวอย่าง
กลุ่มประชากร เป็นผู้ป่วยวิกฤตฉุกเฉินที่ส่งต่อมารับการรักษาที่โรงพยาบาลสวรรค์ประชารักษ์
กลุ่มตัวอย่าง เป็นผู้ป่วยวิกฤตฉุกเฉินที่ส่งต่อมาจากโรงพยาบาลชุมชนที่มีการติดตามอาการผู้ป่วย
ที่ต่อเนื่องมารับการรักษาที่โรงพยาบาลสวรรค์ประชารักษ์ ที่อายุมากกว่า 15 ปี และมีข้อมูลในระบบครบ
ผลการศึกษา
1. ข้อมูลผู้ป่วยวิกฤตฉุกเฉินที่ส่งต่อมาจากโรงพยาบาลชุมชนที่ใช้แบบการติดตามอาการผู้ป่วยต่อเนื่อง
ก่อนปรับระบบ หลังปรับระบบ
รายการ จำนวน จำนวน
(n=534) ร้อยละ (n=517) ร้อยละ
จำนวนการส่งต่อที่ใช้แบบการติดตามอาการผู้ป่วย 84 15.73 194 37.52
ผู้ป่วยหัวใจหยุดเต้นเมื่อถึงรพ.สวรรค์ประชารักษ์ 10 1.87 11 2.13
เสียชีวิตภายใน 24 ชม 37 6.93 18 3.48
23
โครงการประชุมสัมมนาการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระบบรับส่งต่อผู้ป่วย ปีงบประมาณ 2567