Page 31 - 1.8.67 E-booK เล่มคู่มือการดำเนินงานมินิธัญญารักษ
P. 31
แนวทางการประเมินผู้ป่วยและการวางแผนการรักษา
1. การสัมภาษณ์ประวัติจากผู้ป่วยและครอบครัว เกี่ยวกับประวัติโรคหรือภาวะเสี่ยงต่อการผูกยึด
สิ่งกระตุ้นให้เกิดความโกรธและวิธีระงับความโกรธที่เคยได้ผล ได้แก่
- มีภาวะเดินวุ่นไปมาอย่างไร้จุดหมาย
- ผู้ป่วยสูงอายุ
- ความสามารถในการควบคุมขับถ่ายลดลง
- ต้องพึ่งพาคนอื่นไม่สามารถช่วยตัวเองได้
- มีสภาพจิตหรือระดับสติปัญญาเปลี่ยนไป
- มีประวัติหกล้มหรือมีโอกาสเสี่ยงต่อการล้ม
- ไม่ร่วมมือในการรักษา
- วุ่นวายหรืออยู่ไม่นิ่ง
- มีการติดสายตรวจหรือท่อต่างๆ เพื่อการรักษา
- ตั้งครรภ์
- โรคหอบหืด
- การบาดเจ็บหรืออุบัติเหตุที่ศรีษะหรือไขสันหลัง
- ประวัติมีกระดูกหัก
- ประวัติการผ่าตัด
- อาการชัก หรือโรคลมชัก
- การถูกทารุณกรรมทางร่างกาย ทางเพศ ทางอารมณ์ หรือจิตใจ
2. การตรวจร่างกาย สัญญาณชีพและสภาพจิตใจ การรับรู้ สติปัญญา การทรงตัว การเดินและ
การเคลื่อนไหว ปัญหาการนอน การควบคุมการขับถ่ายปัสสาวะ อุจจาระ ภาวะทางโภชนาการ เช่น ภาวะขาดน้ำ
(dehydration) ภาวะขาดสารอาหาร (malnutrition) ซึ่งส่งผลกระทบต่อการทำงานของสมองโดยตรง
ภาวะความเจ็บปวดโดยใช้เครื่องมือ pain score scale เป็นระยะ ๆ
3. พยายามให้ผู้ป่วยและครอบครัวมีส่วนร่วมในการวางแผนการรักษาให้มากที่สุด ถึงแม้ผู้ป่วย
จะเป็นเด็กก็ตาม อธิบายให้ผู้ป่วยและครอบครัวเข้าใจถึงนโยบายการใช้การผูกยึดในโรงพยาบาล และสอบถาม
ความคิดของผู้ป่วยและครอบครัวในกรณีที่จำเป็นต้องใช้การผูกยึดกับผู้ป่วย
4. ควรมีการทดสอบและตรวจสอบการใช้แผนการปฏิบัติงาน การประเมินผู้ป่วย การออกคำสั่ง
การผูกยึดผู้ป่วยว่ามีความเหมาะสมเพียงใด เพื่อพัฒนาการทำงานให้ดียิ่งขึ้น
5. จำเป็นต้องบันทึกให้ชัดเจนว่าได้มีการพยายามใช้วิธีการอื่นๆ แล้วก่อนจะตัดสินใจใช้การผูกยึด
กับผู้ป่วย
25