Page 32 - 1.8.67 E-booK เล่มคู่มือการดำเนินงานมินิธัญญารักษ
P. 32

ขั้นตอนและการปฏิบัติในการใช้แนวทางการผูกยึด

                        1. ประเมินพฤติกรรมเสี่ยงที่อาจทำให้เกิดอันตรายต่อตนเองและผู้อื่น โดยแพทย์และหรือพยาบาล
                        2. การแก้ไขเบื้องต้นก่อนตัดสินใจผูกยึด (Alternative to restraint) โดยแพทย์และหรือพยาบาล

               พยายามให้การแก้ไขด้วยวิธีต่างๆ ก่อนที่จะตัดสินใจใช้การผูกยึด

                        3. การประเมินหลังจากให้การแก้ไขเบื้องต้น ควรประเมินซ้ำว่าการช่วยเหลือที่ทำไปได้ผลหรือไม่
               แต่ถ้าการช่วยเหลือวิธีอื่นไม่ได้ผล จึงพิจารณาใช้วิธีการผูกยึด เมื่อเสร็จการประเมินผู้ประเมินต้องลงนาม

               พร้อมทั้งระบุวันและเวลาที่ประเมิน
                        4. หลักการพิจารณาการใช้วิธีการผูกยึด (Physical Restriants) มีดังนี้

                           4.1 เลือกใช้วิธีการผูกยึดพันธนาการผู้ป่วยให้น้อยที่สุด

                           4.2 ควรเลือกเครื่องมือที่มีลักษณะอ่อนนุ่มเพียงพอ
                           4.3 ประเมินว่ามีบุคลากรเพียงพอหรือไม่ ควรเตรียมบุคลากรให้เพียงพอก่อน และตามหน่วย

               รักษาความปลอดภัยเมื่อจำเป็น
                           4.4 ระวังความปลอดภัยของบุคลากรร่วมด้วย

                           4.5 ระวังตำแหน่งของเครื่องมือบนตัวผู้ป่วยว่าไม่ทำให้เกิดอันตรายต่อผู้ป่วย และไม่ขัดขวาง

               ต่อการดูแลผู้ป่วย
                           4.6 จัดท่าผู้ป่วยที่ไม่ขัดขวางต่อการหายใจ เช่น ท่านอนหงาย

                           4.7 วิธีการที่เหมาะสมในการผูกยึด

                           - การผูกยึดแบบจุดเดียว คือ ยึดข้อมือ หรือข้อเท้า
                           - การผูกยึดแบบ 2 จุด คือ ผูกข้อมือ 2 ข้าง หรือข้อเท้า 2 ข้าง หรือผูกข้อมือและข้อเท้าด้านตรงข้าม

                           - การผูกยึดแบบ 4 จุด คือ ให้ผูกยึดบริเวณข้อเท้าก่อน และผูกยึดบริเวณข้อมือ
                           - การผูกยึดแบบ 5 จุด คือการเพิ่มการผูกยึดบริเวณลำตัว หรือ Papoose restraint ในบาง

                             สถานการณ์อาจต้องใช้ Cervical spine precautions (CIP) สำหรับควบคุมศรีษะ


               ขั้นตอนการเตรียมเข้าผูกยึดผู้ป่วย (Physical Restriants)

                        1. การเตรียมอุปกรณ์
                              - ผ้าผูกยึด

                              - รถเข็นนอน/นั่ง

                              - ผ้าปูที่นอน, ผ้าห่ม และหมอน
                        2. ทีมผู้ดูแลควรมีอย่างน้อย  4 - 5 คน มีผู้นำทีม 1 คน และทีมต้องผ่านการฝึกอบรม

                        3. ก่อนเข้าผูกยึดผู้ป่วยต้องทำข้อตกลงกับญาติก่อน











                                                           26
   27   28   29   30   31   32   33   34   35   36   37