Page 33 - 1.8.67 E-booK เล่มคู่มือการดำเนินงานมินิธัญญารักษ
P. 33
ขั้นตอนการเข้าผูกยึดผู้ป่วย
1. มีการวางแผนการเข้าผูกยึด ต้องมีหัวหน้าทีม
2. หัวหน้าทีม/สมาชิก 1 คน ชวนพูดคุย เพื่อเบี่ยงเบนความสนใจ
3. ผู้นำทีมให้สัญญาณในการเข้าจับ
4. จับล็อคผู้ป่วยเมื่อผู้ป่วยเผลอ
5. สมาชิกที่เหลือช่วยจับ แขน ขา เพื่อการผูกยึด
6. ผู้นำทีมแจ้งอธิบายเหตุผลในการผูกยึดครั้งนี้
7. ผูกยึดอย่างถูกเทคนิค
- จัดให้ผู้ป่วยนอนหงาย
- การผูกยึดต้องหลวมให้ 1 - 2 นิ้วสอดผ้าได้
- แขน ขา ต้องไม่บิดเบี้ยว
- ไม่แก้ผ้าผูกยึดขณะบุคลากรไม่พอ
8. ยาฉีด เตรียมให้พร้อมก่อน (ถ้ามี)
การช่วยเหลือหลังการผูกยึด
1. ตรวจเยี่ยมและประเมินอาการทุก 15 - 30 นาที
2. ดูแลความสุขสบาย
3. พูดให้กำลังใจและข้อเท็จจริง
4. เปิดโอกาสให้ระบายความคิด ความรู้สึก
5. เมื่ออาการสงบ ยุติการผูกมัด
2.12 กิจกรรมการบำบัดรักษา
เพื่อเสริมสร้างแรงจูงใจและการจัดการความคิดในการบำบัดระยะกลางผู้ป่วยที่มีอาการทางจิตเวช
ที่สงบมีการรู้คิด (cognitive) ปกติ สามารถเข้าร่วมกิจกรรมบำบัดรักษาเพื่อการเสริมสร้างแรงจูงใจ
และการจัดการความคิดได้ โดยสามารถแบ่งกิจกรรมบำบัดออกเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มที่จำเป็นต้องจัดกิจกรรม
และกลุ่มกิจกรรมที่ควรมีการจัดกิจกรรม รายละเอียดดังตาราง
27