Page 36 - 1.8.67 E-booK เล่มคู่มือการดำเนินงานมินิธัญญารักษ
P. 36
2.13 การประเมินผลการบำบัดรักษา
ผู้ป่วยที่เข้ารับการบำบัดรักษา ควรมีการประเมินผลในแต่ละสัปดาห์ โดยประเมินอาการถอน
ยาเสพติด (Withdrawal symptoms) อาการ ทางกาย ทางจิต สังคม และครอบครัว เพื่อวางแผนการดูแล
ให้เหมาะสม ในแต่ละราย ตามแนวทางการประเมินที่ครอบคลุมด้านต่างๆ ดังต่อไปนี้
1. อาการถอนยาเสพติด
2. อาการทางจิต
3. ด้านร่างกาย
4. ด้านอารมณ์
5. ประเมินภาวะซึมเศร้า (9Q)
6. ประเมินการฆ่าตัวตาย (8Q)
7. ด้านการให้ความร่วมมือของครอบครัว
8. ด้านสังคม (สัมพันธภาพกับผู้อื่น)
9. ด้านการเข้าร่วมกิจกรรม
10. แรงจูงใจในการย้ายฟื้นฟู ในการเข้ารับการรักษาต่อเนื่องแบบ LTC
การแปลผล
ตามแนวทางการประเมินผลการบำบัดรักษาระยะกลาง (Intermediate care) 10 ด้าน คะแนนเต็ม
30 คะแนน (รายละเอียดตามภาคผนวก)
1. คะแนน 21 - 30 คะแนน สามารถจำหน่ายเข้าสู่ระยะติดตามการรักษาเข้าสู่ชุมชนได้ หากยังมี
คะแนนด้านยาเสพติดหรือด้านอารมณ์ 2-3 คะแนนขึ้นไป พิจารณาส่งเข้าการรักษาแบบผู้ป่วยนอก หรือระยะ
การบำบัดฟื้นฟูสมรรถภาพระยะยาว (Long term Care) ตามความเหมาะสมรายบุคคล
2. คะแนน 11-20 คะแนน สามารถส่งต่อเข้าสู่ระยะการบำบัดฟื้นฟูสมรรถภาพระยะยาว (Long
term Care)
3. คะแนน 0-10 คะแนนขึ้นไปพิจารณาให้คงอยู่ในระยะกลาง (Intermediate care)
2.14 การจำหน่ายผู้ป่วยออกจากการดูแลระยะกลาง (Intermediate Care)
1. การรับกลับเข้าเป็นผู้ป่วยในระยะ Acute Care หากพบว่าผู้ป่วยมีอาการกำเริบของโรค
หรือมีภาวะแทรกซ้อน
2. การจำหน่ายผู้ป่วยไป Long Term Care เมื่อพบว่าอาการของผู้ป่วยยาเสพติดและผู้ป่วยจิตเวช
จากการใช้ยาเสพติด ยังไม่ดีขึ้นเพียงพอ จำเป็นต้องได้รับการดูแลช่วยเหลือจาก Case manager
โดยอาจจัดให้ผู้ป่วยเข้ารับการดูแลในสถานฟื้นฟูสมรรถภาพของกลาโหม มินิธัญญารักษ์ที่ให้บริการในรูปแบบ
Long term Care หรือจัดบริการการดูแลแบบ Long Term Care ที่บ้าน หรือที่เรียกกันว่า Home ward/
Home care
29