Page 37 - 1.8.67 E-booK เล่มคู่มือการดำเนินงานมินิธัญญารักษ
P. 37

3. การจำหน่ายผู้ป่วยกลับไปดูแลต่อที่บ้าน คืนสู่ชุมชน กรณีที่ผู้ป่วยมีอาการดีขึ้น โดยส่งต่อผู้ป่วย

               เข้าศูนย์ฟื้นฟูสภาพทางสังคม เพื่อการฝึกอาชีพเพิ่มเติมและการติดตามเยี่ยมผู้ป่วยที่บ้านในระยะเวลา
               อย่างน้อย 1 ปี



               2.15 การติดตาม รักษาต่อเนื่อง (Follow up)
                        1. บุคลากรสาธารณสุข

                              - แบบประเมินผลการรักษาสารเสพติด (Treatment Outcomes Profile: TOP)

                              - การตรวจสารเสพติด
                        2. บุคลากรนอกระบบสาธารณสุข

                              - กรณีชุมชนมีการบำบัดฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ป่วยยาเสพติดและผู้จิตเวชจากการใช้ยาเสพติด

               โดยใช้ชุมชนเป็นฐาน  (Community Based Treatment: CBTx) ให้ทำตามขั้นตอน/กระบวนการของ CBTx
                              - กรณีชุมชนไม่มี CBTx

                                     ●  สังเกต 5 สัญญาณเตือน คือ ไม่หลับไม่นอน เดินไปเดินมา พูดจาคนเดียว

               หงุดหงิดฉุนเฉียว เที่ยวหวาดระแวง
                                     ●  ติดตามการกินยา/รักษาต่อเนื่อง

                                     ●  ประเมินการใช้สารเสพติด

                              - ร่วมกับภาคีเครือข่ายในการติดตามต่อเนื่อง กรณีผู้ป่วยยาเสพติด ติดตาม 1 ปี และผู้ป่วย
               SMI-V ติดตามต่อเนื่อง 5 ปี รวมถึงการประเมินผู้ดูแล/ญาติในการร่วมดูแลผู้ป่วย



               2.16 สรุปกระบวนการบำบัดรักษาผู้ป่วยในระยะกลาง (Intermediate Care)

                        จากแนวทางการบำบัดรักษาและฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ป่วยยาเสพติดและผู้ป่วยจิตเวชจากการใช้
               ยาเสพติดระยะกลาง (Intermediate Care) ที่กล่าวมาข้างต้น สามารถสรุปกระบวนการรักษาและฟื้นตัว

               ของการดูแลผู้ป่วยในระยะนี้ ได้ดังนี้
                        Patient Journey หรือเส้นทางการรักษาสำหรับผู้ป่วยยาเสพติด จะช่วยให้ทุกคนที่เกี่ยวข้องเข้าใจ

               กระบวนการรักษาและฟื้นตัวของผู้ป่วยได้อย่างถูกต้องและเต็มที่ ประกอบด้วย 10 ขั้นตอน ดังนี้

                        1. การรับรู้ปัญหา :
               การรับรู้ : ผู้ป่วยเริ่มต้นรับรู้ถึงปัญหาการใช้ยาเสพติดที่มีผลกระทบต่อชีวิตประจำวันและความสุขภาพ

               การทำงานหรือการศึกษา : ปัญหาที่เกิดขึ้นอาจมีผลกระทบทั้งในที่ทำงานและการศึกษา

                        2. การค้นหาข้อมูลและการตรวจสอบ :
               การค้นหาข้อมูล : ผู้ป่วยเริ่มค้นหาข้อมูลเกี่ยวกับยาเสพติด, ผลกระทบ, และทางออกที่เป็นไปได้

               การปรึกษากับผู้เชี่ยวชาญ : การพบผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์หรือนักจิตวิทยาเพื่อขอคำแนะนำและปรึกษา








                                                           30
   32   33   34   35   36   37   38   39   40   41   42