Page 40 - 1.8.67 E-booK เล่มคู่มือการดำเนินงานมินิธัญญารักษ
P. 40
4. ผู้ใช้ยาและสารเสพติดที่มีโรคร่วม โรคแทรกซ้อนทางร่างกาย และโรคทางจิตเวชที่สามารถ
ควบคุมอาการได้
5. ผู้ใช้ยาและสารเสพติด สมัครใจเข้ารับการฟื้นฟูสมรรถภาพ และผ่านการพิจารณาเห็นชอบ
จากกลุ่มงานจิตเวชและยาเสพติด ของโรงพยาบาลชุมชน โดยผ่านความเห็นชอบจากจิตแพทย์/แพทย์ที่ผ่าน
การอบรม
6. ผู้ป่วยยาเสพติด ตามประมวลกฏหมายยาเสพติด พ.ศ. 2564 มาตรา 113, 114, 166, 168 หรือ
ตามคำสั่งศาล
เกณฑ์การคัดออก
1. มีโรคติดต่อในระยะแพร่เชื้อ เช่น AIDS, TB, Covid เป็นต้น
2. ผู้ที่มีระดับความเสี่ยงต่อการก่อความรุนแรงในระดับสีแดง
3. ผู้ที่มีความเสี่ยงสูงต่อการฆ่าตัวตาย (high risk suicide) ประเมินโดยกลุ่มงานจิตเวชและยาเสพติด
ของโรงพยาบาลชุมชน
4. Unstable organic condition
5. ผู้ป่วยที่ไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้
ขั้นตอนการบำบัดฟื้นฟูสมรรถภาพระยะยาว (Long term care)
1. ตรวจสอบเอกสาร ความถูกต้องของเอกสาร เช่น หนังสือส่งตัว เพื่อยืนยันตัวตน และลงนาม
ในหนังสือยินยอมรับการบำบัดรักษาในมินิธัญญารักษ์
2. ประเมินสภาพด้านร่างกาย จิตใจ และแรงจูงใจ โดยทีมนักบำบัด
2.1 ด้านร่างกาย ประเมินสุขภาพ ประวัติการเจ็บป่วยและวัดสัญญาณชีพ ตรวจค้นร่างกาย
บาดแผล และรอยสัก
2.2 ด้านจิตใจ โดยใช้แบบประเมิน 2Q, 9Q, 8Q กรณีประเมินแล้วพบความผิดปกติ ให้รายงาน
ผู้บังคับบัญชาและประสานผู้เกี่ยวข้องเพื่อให้การดูแลที่เหมาะสมต่อไป
2.3 ประเมินแรงจูงใจ ในการเข้ารับการฟื้นฟูสมรรถภาพ เพื่อวางแผนการดูแลที่เหมาะสม
3. ปฐมนิเทศ สร้างสัมพันธภาพ ให้ข้อมูลและประโยชน์ของการอยู่รับการบำบัดฟื้นฟูสมรรถภาพ
แนวทางการปฏิบัติตัวในการอยู่ร่วมกัน เช่น กิจวัตรประจำวัน กฎระเบียบที่สำคัญ
4. จัดพี่เลี้ยงดูแลชีวิตประจำวัน โดยคัดเลือกผู้ป่วยที่มีพฤติกรรมดี มีทัศนคติที่ดีต่อการบำบัด ฟื้นฟู
มีความรับผิดชอบ กล้าแสดงออก สามารถเป็นแบบอย่าง ให้คำแนะนำช่วยเหลือดูแลผู้ป่วยใหม่ได้
5. ดูแลผู้เข้ารับการบำบัดเป็นรายกรณี โดยระบบ Case Manager ร่วมกับสหสาขาวิชาชีพ
6. ประเมินความพร้อมการมีส่วนร่วมของครอบครัว
33