Page 42 - 1.8.67 E-booK เล่มคู่มือการดำเนินงานมินิธัญญารักษ
P. 42

2.18 องค์ประกอบการฟื้นฟูสมรรถภาพทางสายใหม่ (FAST Model)

                        - กิจกรรมครอบครัวร่วมรักษา (F: Family)

                        - กิจกรรมทางเลือก (A: Alternative Treatment Activity)
                        - กระบวนการเรียนรู้เพื่อช่วยเหลือตนเอง (S: Self Help)

                        - กระบวนการชุมชนบำบัด (TC: Therapeutic community)
               กิจกรรมครอบครัวร่วมรักษา (Family)

                        ครอบครัว เป็นหน่วยพื้นฐานของสังคมและมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อผู้ป่วย ซึ่งครอบครัวจะเป็นที่พึ่ง

               ที่พักพิง เป็นแหล่งให้การช่วยเหลือเกื้อกูลและส่งเสริมพัฒนาศักยภาพต่างๆ ของผู้ป่วย ช่วยแก้ไขปัญหา
               และพร้อมที่จะให้อภัยและช่วยเหลือด้วยความรักความห่วงใย เมื่อมีปัญหาเกิดขึ้นกับสมาชิกคนใดคนหนึ่ง

               ในครอบครัว ระบบครอบครัวจะได้รับผลกระทบไปด้วย ดังนั้น ครอบครัวจึงมีความสำคัญในการมีส่วนร่วม

               ตั้งแต่เริ่มต้นการบำบัดรักษา และรับผิดชอบดูแลควบคู่ไปกับการอยู่ในครอบครัว สังคม ชุมชนตามสภาพที่เป็นจริง
                        วัตถุประสงค์การนำครอบครัวเข้ามามีส่วนร่วมในการฟื้นฟูสมรรถภาพ

                        1. สนับสนุนให้ผู้ป่วยหยุดการใช้ยาและสารเสพติด
                        2. ช่วยให้ครอบครัวสามารถปฏิบัติหน้าที่ได้เหมาะสม

                        วิธีการ

                        1. การเตรียมครอบครัว การปฐมนิเทศ สร้างความเข้าใจ ให้ข้อมูลกิจกรรมการฟื้นฟูสมรรถภาพ
                        2. การให้ความรู้ครอบครัว ในเรื่องการทำบทบาทหน้าที่ครอบครัว ความรู้เรื่องยาเสพติด โรคสมองติดยา

               การสนับสนุนการเลิกยาเสพติด ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการกลับไปเสพติดซ้ำ
                        3. การให้การปรึกษาครอบครัว

                        4. กิจกรรมสัมพันธ์ระหว่างครอบครัว

                        5. กิจกรรมการสอนทักษะต่างๆ เช่น
                           - ทักษะการแก้ปัญหา (Problem  solving) ซึ่งความสามารถในการแก้ไขปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น

               ได้อย่างเหมาะสม ทำให้ครอบครัวสามารถดำเนินไปได้และปฏิบัติหน้าที่ด้านต่างๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

                           - ทักษะการสื่อสาร (Communication) มีการฝึกการสื่อสารระหว่างกันที่ดี
                           - การตอบสนองทางอารมณ์ (Affective Responsiveness) ครอบครัวสามารถที่จะตอบสนอง

               ทางอารมณ์ต่อกันและกันอย่างเหมาะสม

                           - การควบคุมพฤติกรรม (Behavior Control) เพื่อตอบสนองความต้องการทางด้านจิตใจ
               และทางชีวภาพ ได้แก่ กิน นอน ขับถ่าย ความต้องการทางเพศ การแสดงพฤติกรรมทางสังคม เช่น การคบเพื่อน

               พฤติกรรมที่อาจก่อให้เกิดอันตราย รวมถึงการรักษาระเบียบวินัยภายในครอบครัว
                           - บทบาทหน้าที่ (Role) ซึ่งเป็นแบบแผนพฤติกรรมที่สมาชิกในครอบครัวประพฤติต่อกันซ้ำ ๆ

               เป็นประจำ แบ่งออกเป็นบทบาทพื้นฐาน ได้แก่ พ่อ แม่ ลูก ซึ่งควรทำหน้าที่ของตนเองให้ชัดเจน เหมาะสม









                                                           35
   37   38   39   40   41   42   43   44   45   46   47