Page 147 - Best practice_Oral2024 (อัพเดต)
P. 147
D11
ผลการศึกษา
1. สตรีตั้งครรภ์ที่มารับบริการคลอด 108 ราย ร้อยละ 62 เป็นมารดาครรภ์หลัง มีอายุ 14 - 42 ปี
เฉลี่ย 24.67 ± 6.39 น้ำหนักสตรีตั้งครรภ์ 40 - 105 กิโลกรัม เฉลี่ย 65.93 ± 13.38 ส่วนสูง 148 - 175
เซนติเมตร เฉลี่ย 158.95 ± 5.55 อายุครรภ์ 36 – 41 สัปดาห์ เฉลี่ย 38.98 ± 1.32 ความสูงของยอดมดลูก
30-41 เซนติเมตร เฉลี่ย 34.14 ± 2.34 เส้นรอบวงหน้าท้อง 78 - 116 เซนติเมตร เฉลี่ย 95.53 ± 8.35
ตารางที่ 1 เปรียบเทียบค่าเฉลี่ยน้ำหนักทารกแรกเกิดที่เป็นจริง กับ น้ำหนักที่ได้จากการคาดคะเนจากสูตรของ
Dare, Risanto และ นุสรา (n = 108)
Methods Range Mean ± SD Standard Mean t p-value*
error mean difference
น้ำหนักทารกจริง 2,110 - 3,950 3,099.54 ± 400.36 38.525 - - -
สูตรของ Dare 2,340 - 4,308 3,279.34 ± 443.78 42.703 - 179.81 - 5.720 0.000
สูตรของ Risanto 2,869 – 4,263 3,392.31 ± 296.13 28.496 - 292.77 - 10.637 0.000
สูตรของนุสรา 2,199 - 4,089 3,105.56 ± 407.02 39.166 - 6.02 - 0.203 0.420
*p < .01 df = 107
จากตารางที่ 1 การคาดคะเนน้ำหนักทารกในครรภ์จากสูตรของนุสรา กับน้ำหนักทารกจริงไม่แตกต่างกัน
อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ส่วนการคาดคะเนน้ำหนักทารกในครรภ์เฉลี่ยจากสูตรของ Dare และสูตร
ของ Risanto แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 จึงสรุปได้ว่าการคาดคะเนน้ำหนักทารกก่อนคลอด
จากสูตรของนุสรา มีความแม่นยำ ง่าย และสะดวกต่อการปฏิบัติ
เพื่อความสะดวก รวดเร็ว และถูกต้องในการคำนวณน้ำหนักทารกในครรภ์จากสูตร Fetal weight
(gm.) = (80.27×SFH) + (32.85×AC) – 2771.57 ผู้วิจัยจึงพัฒนานวัตกรรมในการใช้งานดังนี้
1.1 Application สูตรคำนวณน้ำหนักทารกในครรภ์ เพียงแทนค่าตัวแปร 2 ตัว คือ SFH และ AC