Page 150 - Best practice_Oral2024 (อัพเดต)
P. 150
D14
ปัจจัยพยากรณ์ทารกคลอดก่อนกำหนด โรงพยาบาลพระนครศรีอยุธยา
(Factors affecting the prediction of preterm births at Phra Nakhon Si Ayutthaya Hospital)
นางสาวภัทรพร โชคทรัพย์
โรงพยาบาลพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เขตสุขภาพที่ 4
ประเภท วิชาการ
ความสำคัญของปัญหาวิจัย
จากข้อมูลของ WHO พบว่าภาวะทารกคลอดก่อนกำหนดเป็นปัจจัยสำคัญที่มีผลต่ออัตราการเสียชีวิต
ของทารกแรกเกิดที่พบมากที่สุด และพบว่า 1.1 ล้านทารกคลอดก่อนกำหนดเสียชีวิตจากภาวะแทรกซ้อน
ประเทศไทยมีอัตราเด็กคลอดก่อนกำหนด เฉลี่ยปีละประมาณ 80,000 คนต่อปี สำหรับโรงพยาบาล
พระนครศรีอยุธยา มีทารกคลอดปีละ 4,000-5,000 ราย เป็นทารกคลอดก่อนกำหนด ปีละประมาณ 400 ราย
ปัจจัยที่ทำให้คลอดก่อนกำหนดเกิดได้ทั้งจากมารดาและทารกในครรภ์ ผลกระทบของการคลอดก่อนกำหนด
ของโรงพยาบาลพระนครศรีอยุธยาทำให้มีการเสียชีวิตเป็นอันดับ 1 ระยะเวลาวันนอนหอผู้ป่วยหนักสูงสุดถึง
3 เดือน มีการใช้ออกซิเจนในการช่วยชีวิตทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อน เช่น โรคจอประสาทตาผิดปกติ โรคปอดเรื้อรัง
และภาวะเลือดออกในโพรงสมอง
วัตถุประสงค์การศึกษา
เพื่อสามารถนำมาเป็นข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนาเครื่องมือคัดกรองหญิงไทยที่เข้ามารับบริการฝากครรภ์
แผนกสูตินรีเวชกรรม ว่ามีความเสี่ยงในการคลอดก่อนกำหนดตั้งแต่ในช่วงไตรมาสแรกเพื่อประโยชน์ในการวางแผน
ให้การรักษาพยาบาล ตอบสนองนโยบาย ลูกเกิดรอดแม่ปลอดภัย
วิธีการศึกษา
รูปแบบ สถานที่ และผู้ป่วย เป็นการศึกษาเชิง Prognostic factors research รูปแบบ Retrospective
observational cohort design โดยทำการศึกษาในผู้ป่วยกลุ่มทารกคลอดก่อนกำหนดที่โรงพยาบาล
พระนครศรีอยุธยา ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ.2562 ถึงวันที่ 31 ตุลาคม พ.ศ. 2565 จำนวน 1,200 ราย การวัดผล
และวิธีการ ขั้นตอนที่ 1 ศึกษาข้อมูลทั่วไปของกลุ่มตัวอย่าง โดยใช้สถิติเชิงพรรณนา (Descriptive Statistics)
เพื่ออธิบายข้อมูลที่มีอยู่ ได้แก่ การแจกแจงความถี่ (Frequency) ร้อยละ (Percentage) โดยใช้โปรแกรมทางสถิติ
ในการประมวลผล ขั้นตอนที่ 2 ศึกษาปัจจัยที่ผลต่อการพยากรณ์ทารกคลอดก่อนกำหนดโดยใช้การวิเคราะห์
การถดถอยโลจิสติกแบบสองกลุ่ม (Binary Logistic Regression Analysis) ด้วยวิธีปกติ (Enter Method)
กำหนดระดับความเชื่อมั่นที่ 95% และ p < 0.05 ถือว่ามีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางใช้สถิติ
ผลการศึกษา
ทารกคลอดก่อนกำหนดจำนวน 1,200 ราย มีปัจจัยพยากรณ์ทารกคลอดก่อนกำหนด 3 ปัจจัย
ประกอบด้วย ปัจจัยด้านบุคคล ด้านสุขภาพอนามัย และด้านสูติกรรม มาวิเคราะห์ร่วมกัน ได้แก่ อายุมารดา < 18
และ >35 ปี ขณะตั้งครรภ์ใช้สารเสพติดและมีเพศสัมพันธ์ มีเลือดออกทางช่องคลอด และมีประวัติผ่าตัดคลอด
มดลูกผิดปกติ
ข้อมูลทารกคลอดก่อนกำหนดที่ใช้ในการศึกษาเป็นระยะเวลา 3 ปี สามารถใช้เป็นปัจจัยพยากรณ์
ทารกคลอดก่อนกำหนดให้มีการพัฒนาการดูแลหญิงตั้งครรภ์ตั้งแต่ระยะตั้งครรภ์ ก่อนคลอด และขณะคลอด