Page 297 - Best practice_Oral2024 (อัพเดต)
P. 297
H4
กระบวนการความสำเร็จของโครงการรากฟันเทียม จังหวัดขอนแก่น
ทันตแพทย์หญิงชุติมา วงศ์สินอุดม
โรงพยาบาลชนบท จังหวัดขอนแก่น เขตสุขภาพที่ 7
ประเภท วิชาการ
ความสำคัญของปัญหา
สังคมผู้สูงอายุ (Ageing Society) เป็นแนวโน้มที่ทุกชาติทั่วโลกหลีกเลี่ยงไม่ได้ โดยองค์การ
สหประชาชาติคาดการณ์ไว้ว่าทั่วโลกจะมีประชากรที่มีอายุมากกว่า 60 ปี ถึง 1,200 ล้านคนในปี พ.ศ. 2568
สำหรับประเทศไทยมีแนวโน้มการเพิ่มขึ้นของประชากรผู้สูงอายุร้อยละ 3.6 ต่อปี (คิดเป็น 400,000 คนต่อปี)
ในปี พ.ศ. 2566 จะมีประชากรผู้สูงอายุสูงถึงร้อยละ 20.66 จากการสํารวจสภาวะทันตสุขภาพครั้งที่ 8
พ.ศ.2560 พบว่า ค่าเฉลี่ยจำนวนซี่ฟันที่เหลืออยู่ในช่องปากของผู้สูงอายุไทยอยู่ที่ 18.6 ซี่/คน ซึ่งน้อยกว่า
จำนวนที่ควรมี คือ 20 ซี่/คน
การสูญเสียฟันทั้งปากหรือผู้ที่ไม่มีฟันเลยในช่องปาก องค์การอนามัยโลก(WHO) ถือว่าเป็นบุคคลที่มี
ความบกพร่องของร่างกาย(physical impairment) ในผู้สูงอายุที่ไม่มีฟันธรรมชาติทำให้ความสามารถ
ในการบดเคี้ยวที่ลดลงจะส่งผลต่อการเลือกชนิดอาหารรับประทานและการทำงานของระบบย่อยอาหาร
ก่อให้เกิดภาวะทุพโภชนาการและเสี่ยงต่อการขาดสารอาหาร ซึ่งเป็นปัจจัยของการเกิดโรคทางระบบที่สำคัญ
ในผู้สูงอายุ เช่น โรคหัวใจ โรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน เป็นต้น
จากฉันทามติของมหาวิทยาลัยแมคกิล ในปีศ.ส.2003 และยอร์ค ในปีศ.ส.2009 (Mc Gill and York
consensus) ได้แนะนำใช้รากฟันเทียมจำนวนสองรากร่วมกับฟันเทียมทั้งปากล่าง เป็นทางเลือกแรก
ตามมาตรฐานการรักษาในผู้ป่วยที่ไม่มีฟันทั้งปาก
เมื่อวันที่ 22 มิถุนายน 2565 ที่ผ่านมากระทรวงสาธารณสุขได้รับพระราชทานพระบรมราชานุญาติ
ให้จัดทำ “โครงการฟันเทียม รากฟันเทียมเฉลิมพระชนมพรรษา 72 พรรษา 28 กรกฎาคม 2565” โดยมี
ความร่วมมือระหว่างกระทรวงสาธารณสุข โดยสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข กรมการแพทย์ กรมอนามัย
สำนักงานหลักประกันสสุขภาพแห่งชาติ ได้กำหนดให้การฝังรากฟันเทียมรองรับฟันเทียมทั้งปากเป็นชุดสิทธิ
ประโยชน์เพื่อให้ผู้สูงอายุและก่อนวัยสูงอายุ ที่สูญเสียฟันทั้งปากหรือเกือบทั้งปาก ได้รับบริการใส่ฟันเทียม
ทั้งปากและรากฟันเทียมตามความจำเป็น พร้อมจัดระบบบริการเพื่อให้เกิดการดูแลสุขภาพช่องปาก
ในกลุ่มผู้สูงอายุและก่อนวัยสูงอายุ เพื่อลดความเลื่อมล้ำและมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น
หน่วยบริการฝังรากฟันเทียมของจังหวัดขอนแก่นได้รับจัดสรรเป้าหมายรากฟันเทียมจากกระทรวง
สาธารณสุข จำนวนผู้ป่วย 180 ราย (ปี2566) คิด10% จากจำนวนผู้ป่วยที่ใสฟันเทียมทั้งปากและเป็นสิทธิ
ในการรักษาเป็นสิทธิหลักประกันสุขภาพช่องปากแห่งชาติ ปี2564 และในปี2567 ได้รับเป้าหมาย
จากกระทรวงจำนวน 220 ราย (อยู่ในช่วงดำเนินการ)
โดยสำนักงานสาธารณสุขขอนแก่นจะเป็นcenter ในการดำเนินการโครงการฯ บริหารจัดการ จัดหา
ทรัพยากรในด้านต่างๆ ให้บริการฝังรากฟันเทียม และทำฟันเทียมให้แก่ผู้ป่วย
วัตถุประสงค์
1. ให้บริการฝังรากฟันเทียมตามเป้าหมาย
2. ขยายเครือข่ายโรงพยาบาลให้บริการฝังรากฟันเทียม เพิ่มการเข้าถึงบริการของผู้ป่วยในพื้นที่