Page 296 - Best practice_Oral2024 (อัพเดต)
P. 296

H3


                  อภิปรายผล
                         1. รูปแบบบริการสร้างเสริมสุขภาพช่องปากในการควบคุม ป้องกันและลดความรุนแรงของ
                  โรคเบาหวาน มีการดำเนินงานผ่านสมุดประจำตัว ซึ่งสมุดจะเริ่มตั้งแต่รายชื่อสามหมอที่ให้การดูแล ข้อคำถาม

                  เกณฑ์คะแนนที่ใช้คัดกรอง การแบ่งสุขภาพช่องปากเป็นระดับสีตามความรุนแรง (เขียว เหลือง แดง) ตลอดจน
                  วิธีการดูแลสุขภาพของตัวผู้รับบริการตามหลักการ 3 อ. 2 ส. 1 ฟ. โดยสมุดอยู่ประจำตัวผู้รับบริการตลอด
                  ทำให้เกิดความตระหนักรู้สุขภาพช่องปากของตัวเองได้ตามเกณฑ์สี และการที่มีช่องทางบริการแบบ fast tract
                  ให้กับผู้รับบริการกลุ่มสีเหลืองและสีแดง ทำให้มีสุขภาพช่องปากดีขึ้น ลดการสูญเสียอวัยวะในช่องปาก
                  นอกจากนั้น ในกรณีที่การรักษาผู้รับบริการเกินความสามารถของหมอที่ 2 (ทันตาภิบาล ทภ.) ก็สามารถส่งต่อ

                  ให้หมอที่ 3 (ทันตแพทย์ ทพ.) ช่วยดูแลรักษาต่อได้
                         2. ผลการดำเนินงานในกลุ่มผู้มารับบริการ มีการจนถึง complete case เพียง 434 คน จากเป้าหมาย
                  ทั้งหมด 800 คน คิดเป็นร้อยละ 54.25 อาจจะมาจากกลุ่มผู้รับบริการ เป็นกลุ่มวัยทำงาน ทำให้ต้องลางาน

                  มาเพื่อรักษาต่อเนื่อง ส่งผลให้ผู้รับบริการบางรายมาไม่ได้

                  สรุปและข้อเสนอแนะ
                         ผลการดำเนินงานในกลุ่มเสี่ยงป่วยมีเป้าหมาย 600 คน ดำเนินการคัดกรองและตรวจสุขภาพช่องปาก
                  ได้ 520 คน คิดเป็นร้อยละ 86.70 ซึ่งมีระดับการเปลี่ยนสีดีขึ้น 337 คน คิดเป็นร้อยละ 64.80 ส่วนกลุ่มป่วย
                  เบาหวาน Good Controlled มีเป้าหมาย 100 คน ดำเนินการคัดกรองและตรวจสุขภาพช่องปากได้ 127 คน

                  คิดเป็นร้อยละ 127 ซึ่งมีระดับการเปลี่ยนสีดีขึ้น 67 คน คิดเป็นร้อยละ 52.76 สำหรับกลุ่มป่วยเบาหวาน
                  Uncontrolled มีเป้าหมาย 100 คน ดำเนินการคัดกรองและตรวจสุขภาพช่องปากได้ 107 คน คิดเป็นร้อยละ
                  107 ซึ่งมีระดับการเปลี่ยนสีดีขึ้น 30 คน คิดเป็นร้อยละ 28.04
                         ข้อเสนอแนะ ควรขยายผลการใช้รูปแบบบริการสร้างเสริมสุขภาพช่องปากในการควบคุม ป้องกันและ

                  ลดความรุนแรงของโรคเบาหวานกับผู้ใช้สิทธิการรักษาพยาบาลอื่น ๆ ด้วย ตลอดจนขยายผลกับกลุ่มเป้าหมาย
                  ได้แก่ กลุ่มผู้สูงอายุ
   291   292   293   294   295   296   297   298   299   300   301