Page 295 - Best practice_Oral2024 (อัพเดต)
P. 295

H2


                         1. วัตถุประสงค์ทั่วไป เพื่อพัฒนารูปแบบบริการสร้างเสริมสุขภาพช่องปากในกลุ่มวัยทำงานผู้ใช้สิทธิ
                  หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ในการควบคุม ป้องกันและลดความรุนแรงของโรคเบาหวาน เขต 4 ปี 2565
                  แบบบูรณาการทุกระดับ

                         2. วัตถุประสงค์เฉพาะ เพื่อให้กลุ่มวัยทำงานผู้ใช้สิทธิหลักประกันสุขภาพแห่งชาติที่เป็นเป้าหมาย
                  ร้อยละ 50 มีสุขภาพช่องปากดีขึ้น (ไม่มีฟันผุและสภาวะเหงือก/ปริทันต์อักเสบ) ระดับสีเปลี่ยนดีขึ้น/
                  ความสะอาดดีขึ้น

                  วิธีการศึกษา
                         1. กำหนดกลุ่มเป้าหมายและพื้นที่เป้าหมาย ได้แก่ ประชาชนอายุ 35-59 ปี ผู้ใช้สิทธิหลักประกัน

                  สุขภาพแห่งชาตที่เป็นกลุ่มเสี่ยงต่อโรคเบาหวาน 20 พื้นที่ พื้นที่ละ 30 คน รวม 600 คน , กลุ่มป่วยเบาหวาน
                  (DM Good Controlled) 1 พื้นที่ พื้นที่ละ 100 คน , กลุ่มป่วยเบาหวาน (DM Uncontrolled) 1 พื้นที่
                  พื้นที่ละ 100 คน
                         2. ประชุมชี้แจงการดำเนินงานและรูปแบบการดูแลสุขภาพช่องปากประชาชนอายุ 35-59 ปี

                  ที่ได้รับการคัดกรองโรคเบาหวานและจัดอยู่ในกลุ่มเสี่ยงต่อโรคเบาหวานและกลุ่มสงสัยป่วย ให้แก่เจ้าหน้าที่
                  สาธารณสุข พยาบาล ทันตบุคลากร และ อสม. เพื่อรับทราบแนวทางการดำเนินงาน
                         3. สนับสนุนชุดดูแลสุขภาพช่องปากให้กลุ่มเป้าหมาย
                         4. สนับสนุนสมุดประจำตัวกลุ่มเป้าหมาย แบบฟอร์มคัดกรอง 2 ข้อคำถาม แผ่นฟิวเจอร์บอร์ด

                  ให้ความรู้เกี่ยวกับการจัดระดับความรุนแรงของสุขภาพช่องปาก
                         5. ดำเนินงานตามตามแผนปฏิบัติงานที่กำหนด บันทึกข้อมูลใน Google sheet ที่จัดทำสำหรับ
                  โครงการ
                         6. ติดตามเยี่ยมพื้นที่ และจัดประชุมนำเสนอสรุปผลการดำเนินงาน

                         7. จัดประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ นำเสนอสรุปผลการดำเนินงาน

                  ผลการศึกษา
                         1. จังหวัดสิงห์บุรีมีรูปแบบบริการสร้างเสริมสุขภาพช่องปากในกลุ่มวัยทำงานผู้ใช้สิทธิหลักประกัน
                  สุขภาพแห่งชาติ ในการควบคุม ป้องกันและลดความรุนแรงของโรคเบาหวาน ได้แก่ การมีสมุดประจำตัว,
                  การมี fast tract ให้กับกลุ่มผู้มารับบริการ , การที่ผู้รับบริการอยู่ภายใต้การดูแลของสามหมอ (อาสาสมัคร

                  สาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) , ทันตาภิบาล (ทภ.) , ทันตแพทย์ (ทพ.) , มีการส่งต่อผู้รับบริการอย่างเป็นระบบ
                         2. ผู้รับบริการกลุ่มวัยทำงานที่เป็นสิทธิหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ มีสุขภาพช่องปากและระดับสีดีขึ้น
                  มีรายละเอียดังนี้

                   กลุ่มผู้รับ  เป้าหมาย  ผู้รับ  ผลตรวจเริ่มต้น (คน)  การเปลี่ยนแปลงผล Complet  อยู่   ส่ง  ขาด
                   บริการ     (คน)  บริการ                   ตรวจหลังการรักษาและ  e case  ระหว่าง  ต่อมา การ
                                      (คน)                        OHI (คน)       (คน)  การรักษา  รับการ ติดต่อ
                                            เขียว  เหลือง  แดง   เขียว   เหลือง  แดง      (คน)  รักษาที่  (คน)
                                                                                                  รพ.
                  กลุ่มเสี่ยง  600    520  113  241  166  349        84    39     337      42      8     22
                  ป่วย
                  DM Good     100     127  17     47     63                       67               0
                  Controlled                                   97

                  DM Un       100     107    4    32     71                       30               0
                  controlled
   290   291   292   293   294   295   296   297   298   299   300