Page 317 - Best practice_Oral2024 (อัพเดต)
P. 317

I1


                     การดูแลผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังระยะสุดท้ายที่เลือกและไม่เลือกบำบัดทดแทนไต จังหวัดอุตรดิตถ์

                         โดยใช้กระบวนการการเสริมพลัง การมีส่วนร่วมของครอบครัว ชุมชน และทีมสุขภาพ

                    Management of End Stage Kidney Disease patients who are choosing or refusing
                    renal replacement therapy in Uttaradit province : The Empowerment of Families,

                                     Community and Healthcare teams Participations


                                                                      นางสาวไพรเรียน พันแพง และนางอัญชลี น้อยศิริ

                                                                               โรงพยาบาลอุตรดิตถ์ เขตสุขภาพที่ 2
                                                                                               ประเภท วิชาการ

                  ความสำคัญของปัญหา

                          โรคไตเรื้อรังเป็นโรคไม่ติดต่อเรื้อรังชนิดหนึ่ง เป็นปัญหาที่สำคัญด้านสาธารณสุขของประเทศไทย
                  เมื่อโรคดำเนินมาถึงระยะสุดท้าย ผู้ป่วยจะสามารถดำรงชีวิตและประกอบอาชีพได้ จำเป็นต้องได้รับการบำบัดทดแทน
                                                                                             st
                  ไต ซึ่งการล้างไตทางช่องท้อง เป็นการบำบัดทดแทนไตวิธีหนึ่งที่มีคุณภาพ ตามนโยบาย  PD 1 Policy ของรัฐบาล
                  ตั้งแต่ปี 2551 เป็นต้นมา กระบวนการตัดสินใจและการเตรียมเข้าสู่กระบวนการล้างไตทางช่องท้องเป็นขั้นตอนแรกของ

                  การรักษา หากล่าช้าจะส่งผลให้เกิดภาวะแทรกซ้อนต่างๆ ได้แก่ Volume overload, Heart failure  ต้องรับการรักษา
                  แบบผู้ป่วยใน ต้องใช้เครื่องช่วยหายใจ และต้องฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียมแบบเร่งด่วน อัตราการนอนโรงพยาบาล
                  นานขึ้น สถิติโรงพยาบาลอุตรดิตถ์ พ.ศ.2561 และ พ.ศ.2562 พบผู้ป่วยตัดสินใจและเตรียมเข้าสู่กระบวนการล้างไต

                  ทางช่องท้องล่าช้า หรือ unplanned dialysis เป็นร้อยละ 56 และ 66.67 ตามลำดับ service plan สาขาไตกำหนด
                  น้อยกว่าร้อยละ 20  ซึ่งเป็นปัญหาที่สำคัญที่ทีมผู้ดูแลสนใจพัฒนาเพื่อแก้ไขปัญหา
                         จากการทบทวนการดูแลผู้ป่วยล้างไตทางช่องท้อง ต่อเนื่องมากว่า 10 ปี พ.ศ.2566 มีผู้ป่วยล้างไตทางช่องท้อง
                  จำนวน 212 ราย ร้อยละ 60.44 พบปัญหาที่เกิดขึ้นจากการล้างไตทางช่องท้องทางคลินิก ได้แก่ High creatinine,
                  Inadequate dialysis, UF failure แผนการรักษาของอายุรแพทย์โรคไต ผู้ป่วยต้องเปลี่ยนถ่ายน้ำยาล้างไตทางช่องท้อง

                  มากกว่าวันละ 4 รอบ และวางแผนให้เปลี่ยนใช้วิธีฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม ผู้ป่วยบางรายไม่ประสงค์ที่จะเปลี่ยนไป
                  ฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม เนื่องจากบ้านไกล มีปัญหาค่าใช้จ่ายในการเดินทาง การล้างไตทางช่องท้องโดยใช้เครื่อง
                  อัตโนมัติ (Automate Peritoneal Dialysis : APD) เป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่ทำให้ผู้ป่วยยังคงสามารถล้างไตอยู่ที่บ้านได้

                  และมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น แต่ญาติหรือผู้ดูแลต้องเรียนรู้การใช้เครื่อง APD  จากการรวบรวมปัญหา พบญาติหรือผู้ดูแล
                  มีความกังวล ขาดความมั่นใจ กลัวความยุ่งยากในการใช้เครื่อง APD การเสริมสร้างพลังให้ญาติหรือผู้ดูแลมีความมั่นใจ
                  ในศักยภาพของตนเองในการทำ APD จึงมีความสำคัญมาก
                         ผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังระยะสุดท้ายกลุ่มหนึ่ง ไม่ประสงค์เข้าสู่กระบวนการบำบัดทดแทนไต เลือกการดูแล

                  แบบประคับประคอง (Palliative care) ซึ่งเป็นวิธีการหนึ่ง ที่สามารถดำเนินการได้ โดยการมีส่วนร่วมของ
                  ครอบครัว สถิติโรงพยาบาลอุตรดิตถ์ พ.ศ.2563 และ พ.ศ.2564  ผู้ป่วยและครอบครัวเลือก Palliative care
                  จำนวน 189 และ 198 ราย ตามลำดับ ผู้ป่วยและญาติของผู้ป่วย สามารถเปลี่ยนใจเลือกไปบำบัดทดแทนไต
                  วิธีใดวิธีหนึ่งได้ หากเกิดอาการรบกวน จนเกิดความไม่สุขสบาย ทุกข์ทรมาน ทั้งทางร่างกายและจิตใจ ส่งผลให้

                  เกิด unplanned dialysis เพิ่มขึ้น และส่งผลต่อคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยและญาติได้ การดูแลโดยทีม Palliative
                  care ESRD และทีมสุขภาพ ที่มีคุณภาพมีความสำคัญ
   312   313   314   315   316   317   318   319   320   321   322