Page 318 - Best practice_Oral2024 (อัพเดต)
P. 318

I2




                  วัตถุประสงค์
                         เพื่อให้ผู้ป่วยล้างไตทางช่องท้อง และผู้ป่วยเลือกการดูแลแบบประคับประคองได้รับการดูแลอย่างมี
                  ประสิทธิภาพโดยกระบวนการเสริมพลัง และการมีส่วนร่วมของครอบครัว ชุมชน และทีมสุขภาพ

                  วิธีการศึกษา
                         หน่วยงานได้พัฒนาการดูแลผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังระยะสุดท้าย ทั้งก่อนเข้าสู่กระบวนการล้างไตทางช่องท้อง

                  การดูแลต่อเนื่อง รวมทั้งการดูแลผู้ป่วย กลุ่มที่ไม่ประสงค์บำบัดทดแทนไต โดยยึดผู้ป่วยเป็นศูนย์กลาง ใช้หลักการการ
                  ดูแลโรคเรื้อรัง การเสริมพลัง และการมีส่วนร่วมของครอบครัว ชุมชน และทีมสุขภาพ ดูแลผู้ป่วยให้มีคุณภาพและ
                  มีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น ดังนี้

                         พ.ศ. 2563 พัฒนา CQI การให้คำปรึกษาเพื่อให้ผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังระยะสุดท้าย เข้าสู่กระบวนการล้างไตทางช่อง
                  ท้องสู่งานวิจัย  โดยใช้แนวคิดการมีส่วนร่วมของ ซีเบิร์น เรื่อง “ผลของการมีส่วนร่วมของทีมสุขภาพและครอบครัว
                  ต่อการตัดสินใจล้างไตทางช่องท้องในผู้ป่วยไตวายเรื้อรังระยะสุดท้าย โรงพยาบาลอุตรดิตถ์” ศึกษาการมีส่วนร่วมของ
                  ครอบครัวในการตัดสินใจและเตรียมความพร้อมด้านร่างกาย จิตใจ และสถานที่ ในรายที่พบปัญหา ชุมชนให้การช่วยเหลือ

                  ในการเตรียมสถานที่ และทีมสุขภาพมีส่วนร่วมในการติดตามเยี่ยมบ้าน ประเมินความพร้อม และ พ.ศ. 2566 ได้พัฒนา
                  ต่อยอดเป็น CQI เรื่อง “การพัฒนากระบวนการ counseling ใช้ 3CFRT model” เป็นการ counseling แบบ Grouping
                  ใช้ Coding เพื่อสะดวกในการสื่อสารในทีมและติดตามผู้ป่วย
                         พ.ศ. 2567 ได้ศึกษาวิจัยวิธีสร้างความเชื่อมั่น  และลดความวิตกกังวล แก่ผู้ป่วยและผู้ดูแลผู้ป่วย APD

                  เรื่อง “การเรียนรู้ผ่านสถานการณ์จำลองต่อความเครียดและความเชื่อมั่นในศักยภาพของตนเองของผู้ดูแลผู้ป่วยล้างไต
                  ทางช่องท้องด้วยเครื่องอัตโนมัติ โรงพยาบาลอุตรดิตถ์” โดยใช้แนวคิดการเรียนรู้จากสถานการณ์จำลองที่คล้ายจริง
                  มาใช้พัฒนาทักษะ การแก้ปัญหา การแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับผู้ดูแลต้นแบบ และการเสริมพลังโดยผู้ดูแลด้วยกัน
                         พ.ศ. 2565 - พ.ศ. 2567 ในผู้ป่วยที่เลือกการดูแลแบบประคับประคอง ซึ่งเป็นวิธีการหนึ่งที่สมาคมโรคไต

                  แห่งประเทศไทย ได้จัดทำ “แนวทางการดูแลรักษาสนับสนุนและประคับประคองผู้ป่วยโรคไตเรื้อรัง พ.ศ.2566” พยาบาล
                  ไตเทียมที่รับผิดชอบในการดูแลผู้ป่วยกลุ่มนี้ ได้จัดกระบวนการดูแล เป็น 2 ระยะ คือระยะแรกภายหลังการตัดสินใจ
                  ที่ยังไม่มีอาการรบกวนกับระยะที่เริ่มมีอาการรบกวน ประเมินความเหมาะสม โดยใช้  Surprise question (ใช่),

                  Charlson Comorbidity Index  (≥8), Karnofsky Performance Status (<40)  ต้องให้การดูแลอย่างต่อเนื่อง ร่วมทำ
                  Advance care plan กับครอบครัว ให้ความรู้ในการดูแลตนเองเพื่อป้องกันการเกิดอาการรุนแรง เมื่อ eGFR ≤ 7 และ/
                  หรือมีอาการรบกวนที่ทุกข์ทรมาน ประสาน Palliative care team ร่วมดูแล เยี่ยมบ้านร่วมกับ HHC และประสาน
                  Palliative care manager ในโรงพยาบาลชุมชน ติดตามให้ได้รับการดูแลตามแผนการรักษา และเสริมพลังให้ผู้ป่วยและ
                  ครอบครัวสามารถเผชิญกับความเจ็บป่วยที่มีอยู่โดยไม่เกิดความทุกข์ทรมาน ซึ่งเป็นสาเหตุหลักที่ทำให้ผู้ป่วยและญาติ

                  เปลี่ยนใจมาเลือกการบำบัดทดแทนไต และมีคุณภาพชีวิตที่ดีที่สุด เข้าสู่ระยะสุดท้ายและเสียชีวิตอย่างสงบ

                  ผลการศึกษา
                         พัฒนา CQI สู่งานวิจัยเรื่อง “ผลของการมีส่วนร่วมของทีมสุขภาพและครอบครัว ต่อการตัดสินใจล้างไตทาง
                  ช่องท้องในผู้ป่วยไตวายเรื้อรังระยะสุดท้าย โรงพยาบาลอุตรดิตถ์” สามารถลดการฟอกเลือดแบบเร่งด่วน

                  ได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ p < .05 ลดระยะเวลาการเตรียมตัวเข้าสู่กระบวนการล้างไต ทางช่องท้อง จาก 91 วัน
                  เป็น 45.3 วัน  ปัจจุบันมีผู้ป่วย CAPD จำนวน  212 ราย  New case CAPD พ.ศ.2565 พ.ศ.2566 และ พ.ศ.2567 (มีนาคม)
                  จำนวน 65, 43 และ 19 รายตามลำดับ  พ.ศ. 2567 (มีนาคม) Unplanned dialysis ร้อยละ 33.33 ซึ่งดีกว่าเกณฑ์มาตรฐาน
                  กำหนดน้อยกว่าร้อยละ 50
   313   314   315   316   317   318   319   320   321   322   323