Page 319 - Best practice_Oral2024 (อัพเดต)
P. 319

I3


                         ผลการศึกษาวิจัยเรื่อง “การเรียนรู้ผ่านสถานการณ์จำลองต่อความเครียดและความเชื่อมั่นในศักยภาพ

                  ของตนเองของผู้ดูแลผู้ป่วยล้างไตทางช่องท้องด้วยเครื่องอัตโนมัติ (APD)” ผู้ดูแลมีความเครียดลดลงและ
                  มีความเชื่อมั่นในศักยภาพของตนเองในการทำ APD เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ p < .05
                         ผู้ป่วยที่เลือกการดูแลแบบประคับประคอง กระบวนการการดูแลร่วมกันเป็นทีมโดยยึดผู้ป่วยเป็น

                  ศูนย์กลางตามแนวทางและปรับตามบริบทของจังหวัด ทั้งอายุรแพทย์โรคไต พยาบาลไตเทียมที่รับผิดชอบ
                  แพทย์ และพยาบาล palliative care ในโรงพยาบาลอุตรดิตถ์ ในโรงพยาบาลชุมชนของจังหวัดอุตรดิตถ์ และ
                  ทีมเยี่ยมบ้าน ทำให้ผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังระยะสุดท้ายที่เลือกการดูแลแบบประคับประคอง พ.ศ. 2565 พ.ศ. 2566
                  และ พ.ศ. 2567 (มีนาคม) จำนวน 215, 236 และ 163 ราย ตามลำดับ เสียชีวิตอย่างสงบที่บ้าน จำนวน 39,

                  53 และ 11 ราย ตามลำดับ คิดเป็นร้อยละ 63.9, 70.7 และ 84.6 ตามลำดับ

                  อภิปรายผลการวิจัย
                         การให้คำปรึกษาแบบมีส่วนร่วม  Share decision making จากผลการวิจัยเรื่อง “การมีส่วนร่วมของ
                  ทีมสุขภาพและครอบครัวต่อการตัดสินใจล้างไตทางช่องท้องในผู้ป่วยไตวายเรื้อรังระยะสุดท้าย โรงพยาบาล
                  อุตรดิตถ์” สามารถลดการฟอกเลือดแบบเร่งด่วนได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ p < .05 สอดคล้องกับงานวิจัย

                  ของ นงนุช ปัญจธรรมเจริญ, อัศนี วันชัยและดอนคำ แก้วบุญเสริฐ (นงนุช ปัญจธรรมเจริญ และคณะ, 2562)
                         การวิจัยเรื่อง “การเรียนรู้ผ่านสถานการณ์จำลองต่อความเครียดและความเชื่อมั่นในศักยภาพของตนเอง
                  ของผู้ดูแลผู้ป่วยล้างไตทางช่องท้องด้วยเครื่องอัตโนมัติ โรงพยาบาลอุตรดิตถ์” สามารถลดความเครียดและ
                  เพิ่มความเชื่อมั่นในศักยภาพของตนเองของผู้ดูแลได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ p < .05 สอดคล้องกับการศึกษา

                  ของ สุภาพร อยู่แดง (สุภาพร อยู่แดง, 2559) เป็นส่วนหนึ่งของการแก้ปัญหาโดยยึดผู้ป่วยเป็นศูนย์กลาง ผู้ป่วยและ
                  ญาติมีความมั่นใจ ในกระบวนการดูแลรักษา
                         การนำแนวทางการดูแลผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังระยะสุดท้ายที่เลือกการดูแลแบบประคับประคอง ของสมาคมโรคไต
                  มาปรับใช้กับบริบท ทำให้ผู้ป่วยเข้าสู่ระยะสุดท้ายของชีวิตตามประสงค์ เสียชีวิตที่บ้านอย่างสงบ พ.ศ. 2564 และ

                  พ.ศ. 2565 ร้อยละ 82.4 และ 63.9 ลดลงเนื่องจากนโยบาย free choice dialysis ผู้ป่วยเปลี่ยนใจไปล้างไตและเสียชีวิต
                  ที่โรงพยาบาล  พ.ศ. 2566 และ พ.ศ. 2567 ร้อยละ 70.7 และ 84.6 เพิ่มขึ้นเนื่องจากผู้ป่วยและครอบครัวได้รับการดูแล
                  สามารถเผชิญกับความเจ็บป่วยที่มีอยู่โดยไม่เกิดความทุกข์ทรมาน

                  สรุปและข้อเสนอแนะ
                                การเสริมสร้างพลัง และการมีส่วนร่วมของครอบครัว ชุมชน และทีมสุขภาพ ส่งผลให้การดูแลผู้ป่วยโรค

                  เรื้อรัง ในผู้ป่วยล้างไตทางช่องท้องรายเดิม มีความมั่นใจในระบบ ยังคงที่จะอยู่กับการล้างไตทางช่องท้องต่อไป ร้อยละ100
                  ส่วนกลุ่มที่เลือกการดูแลแบบประคับประคอง ได้รับการดูแลที่มีประสิทธิภาพ ผู้ป่วยอยู่ในชุมชนอย่างมีคุณภาพชีวิตที่ดี
                  ตามศักยภาพ เสียชีวิตสมศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ งานที่ปฏิบัติเป็นทีมอย่างต่อเนื่อง ที่ต้องการความร่วมมือ กับเครือข่าย

                  และประสานงานนอกสังกัดกระทรวงสาธารณสุข เป็นความท้าทาย  ความสามารถประสานการทำงานร่วมกัน โดยยึดผู้ป่วย
                  เป็นศูนย์กลาง นำมาซึ่งความสำเร็จในการพัฒนาระบบสุขภาพที่ยั่งยืนต่อไป
   314   315   316   317   318   319   320   321   322   323   324