Page 320 - Best practice_Oral2024 (อัพเดต)
P. 320

I4


                      ลดอัตราเสียชีวิตจากภาวะติดเชื้อจากการล้างไตทางช่องท้องในผู้ป่วยไตวายระยะที่ 5

                     และผลลัพธ์ของการพัฒนา KPI ใหม่หลังผ่านประเมิน Disease Specific Certification

                                             ในโรงพยาบาลพระนารายณ์มหาราช


                                                                                     นายแพทย์ธีรพล เมืองไพศาล
                                                                   โรงพยาบาลพระนารายณ์มหาราช  เขตสุขภาพที่ 4
                                                                                               ประเภท วิชาการ


                  ความสำคัญของปัญหา
                         การติดเชื้อจากการล้างไตทางช่องท้องเป็นสาเหตุสำคัญของการเสียชีวิตหรือต้องยุติ peritoneal
                  dialysis(PD) โดยสองตัวชี้วัดหลักที่นิยมใช้ในกิจกรรมคุณภาพได้แก่ peritonitis rate ซึ่งแสดงผลเป็น

                  episode per year (มาตรฐานไม่เกิน 0.3 ), สถิติการเสียชีวิตหลังติดเชื้อ(มาตรฐานคือน้อยกว่า 5%)
                         โรงพยาบาลพระนารายณ์มหาราชดูแลผู้ป่วยไตวายเรื้อรังที่รักษาด้วย PD ทั่วทั้งจังหวัดลพบุรี ข้อมูล
                  ปี 2563, 2564 และ 2565 พบ peritonitis rate 0.28, 0.30 และ 0.28 episode per year ซึ่งผ่านเกณฑ์

                  มาตรฐานแต่กลับพบอัตราเสียชีวิตหลังติดเชื้อร้อยละ 4 ,15 และ 4 ตามลำดับ เป็นที่น่าสนใจว่าปี 2564
                  อัตราเสียชีวิตเพิ่มสูงขึ้นมากแม้อัตราติดเชื้อจะคงที่ จึงได้ทำ RCA ดังแสดงในตารางด้านล่าง

                                  RCA                                       สาเหตุเชิงลึก
                   พบการเสียชีวิตสูงมากในกลุ่ม culture    - ร้อยละ 42 เกิดจากการให้ antibiotic ก่อนเพาะเชื้อ

                   ไม่ขึ้นเชื้อแบคทีเรีย                - ร้อยละ 57เกิดจากเชื้อ atypical ได้แก่ TB, fungus
                   กรณีการรักษาไม่เป็นผลมีการถอดสายช้า  - ขาดแนวทางร่วมกัน

                         ในเรื่องเชื้อ atypical นั้น มีการทำแนวทางส่งตรวจทำให้ปัญหาลดลงมากจึงไม่กล่าวในที่นี้

                         จุดประสงค์การวิจัยคือ 1.เพื่อวิเคราะห์และแก้ไขเพื่อลดอัตราเสียชีวิตจากภาวะติดเชื้อจากการล้างไต
                  ทางช่องท้องในผู้ป่วยไตวายระยะที่ 5 และ 2. เพื่อทดสอบ KPI ย่อยสำหรับติดตามแก้ปัญหา culture ไม่ขึ้น
                  เชื้อแบคทีเรียทางหน่วยได้ใช้ KPI ใหม่มาปรับปรุงคุณภาพจนผ่านการประเมิน DSC ในปี 2566

                  วัตถุประสงค์

                         1. ปรับปรุงคุณภาพเพื่อให้อัตราการเสียชีวิตที่เกิดหลังติดเชื้อจากการล้างไตหน้าท้องไม่เกินร้อยละ 5
                         2. ทดสอบ KPI ย่อยสำหรับติดตามแก้ปัญหาเมื่อ culture ไม่ขึ้นเชื้อแบคทีเรีย


                  วิธีการศึกษา
                         จำนวนผู้ป่วยที่มาติดตาม PD ในเดือนมิถุนายน 2566 ทั้งสิ้น 185 ราย ทางหน่วยได้ออก KPI เพิ่มเติม
                  ที่สัมพันธ์กับการเสียชีวิตหลังติดเชื้อ(ตารางที่ 1) และทำความเข้าใจในทีมงาน  เก็บข้อมูลระยะเวลา 4 เดือน
                  มิถุนายน-กันยายน 2566) และวิเคราะห์ผล ส่วน KPI ข้อถอดสายใน 7 วันดำเนินการมาตั้งแต่มกราคม 2566
   315   316   317   318   319   320   321   322   323   324   325