Page 323 - Best practice_Oral2024 (อัพเดต)
P. 323

I7


                                 การบริการเภสัชกรรมทางไกลในผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังระยะเริ่มต้น

                                        ตำบลภูผาม่าน อำเภอภูผาม่าน จังหวัดขอนแก่น


                                                                                       นางสาวญาสุมินทร์ ศรีนางาม
                                                                โรงพยาบาลภูผาม่าน จังหวัดขอนแก่น เขตสุขภาพที่ 7

                                                                                               ประเภท วิชาการ

                  ความสำคัญของปัญหา
                         ในปัจจุบันผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังที่เข้ารับการรักษาในหน่วยบริการสุขภาพ สังกัดสำนักงานปลัดกระทรวง

                  สาธารณสุขมีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้น จากผู้ป่วยผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังระยะเริ่มต้น (ระยะที่ 1-3) จะมีการดำเนินโรค
                  ค่อนข้างช้า ซึ่งการชะลอการเสื่อมของไตในระยะเริ่มต้นโดยการบริบาลทางเภสัชกรรม ได้แก่ การควบคุม
                  ความดันโลหิต การควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด รวมถึงการค้นหาและแก้ไขปัญหาที่เกี่ยวกับการใช้ยาจะช่วย
                  ลดอัตราการตายและลดค่าใช้จ่ายในการรักษาด้านการบำบัดทดแทนไต ทั้งนี้กระทรวงสาธารณสุขมีแนวคิด

                  ให้ประชาชนและบุคลากรทางการแพทย์ร่วมเปลี่ยนผ่านจากระบบบริการสุขภาพรูปแบบเดิมที่ยึดโรงพยาบาล
                  เป็นศูนย์กลางไปสู่รูปแบบใหม่ที่ยึดบุคคลเป็นศูนย์กลางอย่างยั่งยืน สนับสนุนให้โรงพยาบาลจัดระบบบริการ
                  สุขภาพทางไกล (telehealth) ซึ่งการให้บริการเภสัชกรรมทางไกล (Tele-pharmacy) เป็นอีกหนึ่งช่องทางที่

                  เพิ่มการเข้าถึงบริการสุขภาพและลดภาระค่าใช้จ่ายในการเดินทางมาโรงพยาบาลของผู้ป่วย กลุ่มงานเภสัชกรรม
                  และคุ้มครองผู้บริโภค โรงพยาบาลภูผาม่าน จึงได้จัดทำโครงการบริการเภสัชกรรมทางไกลผู้ป่วยโรคไตเรื้อรัง
                  ระยะที่ 2-3a มีค่าน้ำตาลสะสม (HbA1C) > 7% ในตำบลภูผาม่าน เพื่อชะลอภาวะไตเสื่อมและเพิ่มประสิทธิภาพ
                  ในรักษาผู้ป่วยมากขึ้น

                  วัตถุประสงค์

                         1. ผลลัพธ์ทางคลินิกในผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังดีขึ้น ได้แก่ ระดับน้ำตาลในเลือด (fasting blood sugar;
                  FBS) ค่าน้ำตาลในเลือดสะสม (HbA1C) ค่าความดันโลหิต (blood pressure; BP) และค่าการทำงานของไต

                  โดยวัดปริมาณเลือดที่ไหลผ่านตัวกรองของไตในหนึ่งนาที (eGFR)
                         2. เพื่อลดปัญหาเกี่ยวกับการใช้ยา (drug related problems) ในผู้ป่วยโรคไตเรื้อรัง

                         3. เพิ่มการเข้าถึงบริการสุขภาพผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังผ่านการให้บริการเภสัชกรรมทางไกล

                  วิธีการศึกษา
                         การวิจัยเชิงปฏิบัติการ (Action Research) เก็บข้อมูลเชิงปริมาณ (Quantitative Research) และ

                  ข้อมูลเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) ระยะเวลาในการดำเนินงานระหว่างเดือนมกราคม 2566 -
                  กรกฎาคม 2566
                  กลุ่มเป้าหมายการวิจัย
                         1. ผู้ป่วยโรคไตเรื้อรัง ตำบลภูผาม่าน ที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคไตเรื้อรัง ระยะที่ 2-3a และเป็น

                  ผู้ป่วยที่มีค่าน้ำตาลในเลือดสะสม (HbA1C) > 7 %

                         2. ผู้เข้าร่วมอบรมการใช้โปรแกรม Tele Village Health Volunteer (Televhv) จำนวน 10 คน คือ
                  เจ้าหน้าที่ในโรงพยาบาลภูผาม่าน จำนวน 4 คนและเจ้าหน้าที่ อสม. ที่เข้าร่วมโครงการจำนวน 6 คน แบ่งเป็น

                  อสม. ตำบลภูผาม่าน หมู่ 1,2,4,5,6 และ 8 หมู่ละ 1 คน
   318   319   320   321   322   323   324   325   326   327   328