Page 324 - Best practice_Oral2024 (อัพเดต)
P. 324

I8




                  ผลการศึกษา

                         ผู้ป่วยกลุ่มเป้าหมายที่เป็นผู้ป่วยโรคไตเรื้อรัง ระยะที่ 2-3a ที่มีค่าน้ำตาลในเลือดสะสม (HbA1C) >7%
                  จำนวน 10 คน ได้ติดตามเยี่ยมบ้านผู้ป่วย 10 คน คนละ 2 ครั้ง รวมเป็นการติดตามเยี่ยมบ้านจำนวน 20 ครั้ง
                  ติดตามด้วยโปรแกรม Tele Village Health Volunteer (Televhv) จำนวน 14 ครั้ง คิดเป็นร้อยละ 70
                  การเยี่ยมบ้านบางครั้งไม่สามารถใช้โปรแกรม Televhv ได้จึงทำ video call line แทนจำนวน 6 ครั้ง คิดเป็น

                  ร้อยละ 30
                         ในการติดตามเยี่ยมบ้านผู้ป่วยโรคไตเรื้อรัง ระยะที่ 2-3a ตำบลภูผาม่าน คนละ 2 ครั้ง ค่าผลทางคลินิก
                  (clinical outcome) เปรียบเทียบระหว่างการเยี่ยมบ้านครั้งที่ 2 กับค่าผลทางคลินิกพื้นฐาน (baseline) พบว่า
                  มีผู้ป่วย 8 คน ที่มีค่าผลทางคลินิกดีขึ้น ได้แก่ ค่า FBS หรือ HbA1C ลดลง ค่า BP ไม่สูงเกินค่าเป้าหมาย และ

                  eGFR คงที่หรือเพิ่มมากขึ้นคิดเป็นร้อยละ 80 ของผู้ป่วยกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด มีเพียง 2 คนที่มีค่าผลทางคลินิก
                  (clinical outcome) แย่ลงคือ ค่า FBS หรือ HbA1C เพิ่มขึ้น 1 ราย และ eGFR ลดลง 1 คน คิดเป็นร้อยละ
                  20 ของผู้ป่วยกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด
                         ในการติดตามเยี่ยมบ้านผู้ป่วยโรคไตเรื้อรัง ระยะที่ 2-3a ตำบลภูผาม่าน คนละ 2 ครั้ง พบว่าการเยี่ยม

                  บ้านครั้งแรกผู้ป่วยทุกคนมีปัญหาจากการใช้ยา (drug related problems, DRPs) จึงได้ทำการแก้ไขปัญหา
                  และแนะนำการใช้ยาให้กับผู้ป่วยทุกราย เมื่อติดตามเยี่ยมบ้านในครั้งที่ 2 มีผู้ป่วยที่มีปัญหาจากการใช้ยา
                  จำนวน 2 คน เมื่อเทียบปัญหาจากการใช้ยาระหว่างการเยี่ยมบ้านครั้งที่ 1 กับครั้งที่ 2 พบว่าปัญหาจากการใช้
                  ยาลดลงร้อยละ 80 ของผู้ป่วยกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด

                  อภิปรายผลการวิจัย

                         การให้บริการเภสัชกรรมทางไกลพบผลลัพธ์ทางคลินิกในผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังดีขึ้น และช่วยลดปัญหา
                  เกี่ยวกับการใช้ยา (drug related problems; DRPs) ในผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังระยะเริ่มต้นได้ นอกจากนี้
                  ยังเพิ่มการเข้าถึงบริการสุขภาพในผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังผ่านการให้บริการเภสัชกรรมทางไกล แต่เนื่องจากการ

                  เยี่ยมบ้านบางครั้งไม่สามารถใช้โปรแกรม Televhv ได้ จึงควรมีการฝึกฝน อสม. ผู้ให้บริการในการใช้โปรแกรม
                  Televhv ให้สามารถใช้งานได้ดีขึ้น และพัฒนาโปรแกรม Televhv หรือแพลตฟอร์มอื่นๆในการให้บริการเภสัชกรรม
                  ทางไกลให้ใช้งานได้ง่ายและสะดวกมากขึ้น

                  สรุปและข้อเสนอแนะ
                         1) ควรพัฒนาโปรแกรม Televhv หรือแพลตฟอร์มอื่นๆในการให้บริการเภสัชกรรมทางไกลให้ใช้งานง่าย

                         2) ควรมีการฝึกฝน อสม. หรือผู้ใช้บริการในการใช้โปรแกรม Televhv ให้สามารถใช้งานได้ดีขึ้น
                         3) ควรมีการบริการเภสัชกรรมทางไกลอย่างต่อเนื่องเพื่อติดตามผลลัพธ์ทางคลินิกของผู้ป่วยในระยะยาว

                  เอกสารอ้างอิง
                      1.  จิราพร ลิ้มปานานนท์, วรวิทย์ กิตติวงศ์สุนทร, รุ่งเพ็ชร สกุลบำรุงศิลป์, วิไลลักษณ์ ตันตะโยธิน, กุลวดี

                         ศรีพานิชกุลชัย, นุศราพร เกษสมบูรณ์ และคณะ. การพัฒนาแนวทางการดำเนินงานบริการเภสัชกรรม
                         ทางไกล (Telepharmacy) ในประเทศไทย. สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข; 2564. hs2738.

                      2.  ดาราพร รุ้งพราย. Delaying Progression of Chronic Kidney Disease In: ดาราพร รุ้งพราย,

                         ศยามล สุขขา, วีรชัย ไชยจามร, อุษณีย์ วนรรฆมณี, กมลวรรณ อ่อนละมัย, พิรดา วงษ์พิรา. คู่มือการ
                         ดูแลผู้ป่วยโรคไตสำหรับเภสัชกร. กรุงเทพฯ: ประชาชน.; 2558. P.105-26.
   319   320   321   322   323   324   325   326   327   328   329