Page 337 - Best practice_Oral2024 (อัพเดต)
P. 337
I 21
การชะลอไตที่ยั่งยืน
นางสาวสุธารทิพย์ คำสมบัติ
โรงพยาบาลห้วยแถลง จังหวัดนครราชสีมา เขตสุขภาพที่ 9
ประเภท นวัตกรรมและสิ่งประดิษฐ์
ความสำคัญของปัญหา
จากสถิติข้อมูลการชะลอไตของคลินิกโรคไตเรื้อรัง โรงพยาบาลห้วยแถลง ปี 2565 ผู้ป่วยโรคไตเรื้อรัง
ระยะที่4 มีอัตราการกรองของไตที่ลดลงน้อยกว่า 5 ml/1.72m2/year ร้อยละ 66.78 และอัตราการกรองของ
ไตที่ลดลงมากกว่า 5 ml/1.72m2/year ถึงร้อยละ 32.51 ซึ่งกลุ่มนี้พบว่า ผู้ป่วยมีการปฏิบัติการชะลอไตที่ไม่
ต่อเนื่อง ส่งผลต่อการยื้อระยะโรคไต ทางคลินิกจึงเน้นการมีส่วนร่วมของผู้ป่วยและญาติในการจัดการปัญหา
ตนเองด้านการชะลอไตเสื่อมให้สามารถใช้ได้กับการดำเนินชีวิตของบริบทครอบครัวและตนเอง ผสมผสานการ
สร้าง growth mindset ของผู้ป่วย เข้าใจในตัวโรคพร้อมที่จะยอมรับและปรับเพื่อส่งเสริมคุณภาพชีวิตตนเอง
นอกเหนือจากการดูแลรักษาแบบสหสาขาวิชาชีพแล้วทางคลินิกจึงมีการดำเนินการร่วมเพิ่มคือ
1) สร้างองค์ความรู้แก่ผู้ป่วยและญาติ 2) ฟังผู้ป่วยให้มากขึ้น เข้าถึง mindset ของผู้ป่วยและญาติ 3) วิเคราะห์
หาจุดเด่น จุดด้อยในการชะลอไตของผู้ป่วย 4) ชี้ชวนให้ผู้ป่วยและญาติร่วมแก้ไขปรับเปลี่ยนพฤติกรรม
5) มีความถี่ในการเสริมพลัง ผลการดำเนินงานพบว่า ผู้ป่วยมีการชะลอไตที่ดีขึ้น อัตราการกรองของไตที่
ลดลงมากกว่า 5 ml/1.72m2/year มีจำนวนลดลงเหลือ ร้อยละ 12.39 หากผู้ป่วยมีการปรับเปลี่ยน
พฤติกรรมการชะลอไตไม่หยั่งยืน มีผลต่อการยื้อระยะโรคไตส่งผลต่อคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยและครอบครัว
วัตถุประสงค์
เพื่อยืดระยะเวลาการชะลอไตเข้าสู่ไตวายระยะสุดท้ายให้ได้นานที่สุด ตัวชี้วัดความสำเร็จที่สำคัญ
1.ผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังระยที่ 4 มีอัตราการกรองของไตที่ ลดลงมากกว่า 5 ml/1.72m2/year ไม่เกิน
ร้อยละ 13
2.การเปลี่ยนแปลงระยะโรคไตเรื้อรังสู่ระยะที่การทำงานของไตดีขึ้นหรือคงระยะเดิมไว้
วิธีการศึกษา
หัวใจของกิจกรรมพัฒนา 1.ทบทวนและสร้างองค์ความรู้แก่ผู้ป่วยและญาติ สื่อการสอนที่เข้าใจง่าย
แบบจำลองสื่อที่เห็นจริงในชีวิตประจำวัน 2.ค้นหาปัจจัย/พฤติกรรมเสี่ยงต่อการชะลอไต โดยฟังผู้ป่วยให้มาก
ขึ้น นำมาวิเคราะห์หาจุดเด่นจุดด้อยในการชะลอไตของผู้ป่วย 3.ชี้ชวนผู้ป่วยและญาติมองเห็นปัญหา และ
ร่วมคิดแก้ไขจัดการปัญหาตนเอง 4.การปฏิบัติต่อเนื่องของผู้ป่วยร่วมกับความถี่ในเสริมพลัง จะนัดติดตาม
ไม่เกิน 30 วัน ทั้งนี้ปรับการนัดตามบริบทการดำเนินชีวิตของครอบครัวที่สามารถมาได้
ผลการศึกษา
ปี พ.ศ. 2566 การยื้อระยะโรคไตเรื้อรังระยะที่ 4 ผลการชะลอไตมี อัตราการกรองของไตที่เพิ่มขึ้นได้
ร้อยละ 51.92 และอัตราการกรองที่ลดลงน้อยกว่า 5 ml/1.72m2/year ได้ร้อยละ 35.67 ส่วนกลุ่มที่มี
ค่า eGFR ลดลงมากกว่า 5 ml/1.72m2/year ร้อยละ 12.39 ส่วนการเปลี่ยนระยะโรคไตเรื้อรัง ในผู้ป่วย
โรคไตเรื้อรังระยะที่ 4 พบการเปลี่ยนstage จากระยะที่ 4 ไปสู่ไตระยะ 3 ร้อยละ 19.01 stage คงที่ ได้ร้อยละ 65.69
และผู้ป่วยไตเรื้อรังระยะ 4 ไปสู่ระยะ 5 ได้ร้อยละ 15.3