Page 334 - Best practice_Oral2024 (อัพเดต)
P. 334

I 18


                                        ความไม่สอดคล้องกันของผลทางพยาธิวิทยาไต

                                         กับอาการแสดงทางคลินิก โรงพยาบาลสุรินทร์

                                     The inconsistency in the kidney histopathology
                                      and the clinical presentation at Surin Hospital





                                                                   นายแพทย์วรชาติ อินสุวรรโณ นางนพนันท์ ซื่อสัตย์
                                                                         นางรุ่งนภา ดีอ้อมและนางเยาวลักษณ์ ดียิ่ง

                                                                                โรงพยาบาลสุรินทร์ เขตสุขภาพที่ 9
                                                                                               ประเภท วิชาการ


                  ความสำคัญของปัญหา
                         ภาวะความผิดปกติโรคไตโกลเมอรูลัส ต้องอาศัยการยืนยันวินิจฉัยด้วยผลตรวจชิ้นเนื้อไต (kidney

                  biopsy) ซึ่งโรคความผิดปกติหลายภาวะต้องรักษาด้วยการใช้ยากดภูมิคุ้มกัน
                         การตรวจชิ้นเนื้อไต มีประโยชน์ทั้งในการวินิจฉัย การประเมินความรุนแรงของโรค การพยากรณ์โรค
                  มีผลต่อการตัดสินใจข้อบ่งชี้ในการรักษาด้วยยากดภูมิคุ้มกัน นอกจากนี้ยังสามารถประเมินภาวะบาดเจ็บเรื้อรัง
                  ของชิ้นเนื้อไต (chronicity) ซึ่งมีผลในการพิจารณาหยุดยากดภูมิคุ้มกันและรักษาแบบประคับประคองไต เพื่อลด
                  ผลข้างเคียงจากการรักษาด้วยยากดภูมิคุ้มกันต่อผู้ป่วยในระยะยาว ไม่ว่าจะเป็นภาวะเสี่ยงต่อการติดเชื้อ

                  เพิ่มความเสี่ยงเบาหวาน หรือเพิ่มความเสี่ยงการเกิดมะเร็ง
                         ที่ผ่านมาคนไข้โรคไตที่มีข้อบ่งชี้ต้องได้รับการตัดชิ้นเนื้อไตของจังหวัดสุรินทร์มีความจำเป็นต้องส่ง
                  ต่อไปยังโรงเรียนแพทย์ ซึ่งผู้ป่วยหลายรายมีปัญหาค่าใช้จ่ายในการเดินทาง บางรายขาดการรักษา และผู้ป่วย

                  บางรายให้การรักษาด้วยการใช้ยากดภูมิคุ้มกัน จากการวินิจฉัยโรคด้วยประวัติ อาการแสดง ประกอบกับผล
                  การตรวจทางห้องปฏิบัติการ โดยไม่มีผลชิ้นเนื้อไตยืนยัน  ซึ่งผู้ป่วยอาจได้รับผลเสียจากยากดภูมิคุ้มกันมากกว่า
                  ประโยชน์จากการรักษา
                         โรงพยาบาลสุรินทร์จึงดำเนินการเปิดการตรวจตัดชิ้นเนื้อไต ตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน พ.ศ.2565

                  ซึ่งสามารถให้การวินิจฉัยที่ถูกต้อง แม่นยำ ลดการส่งต่อผู้ป่วย ลดความเสี่ยงจากการใช้ยากดภูมิคุ้มกัน
                  โดยไม่จำเป็น รวมถึงช่วยลดผู้ป่วยไตเสื่อมเรื้อรังกรณีได้รับการวินิจฉัยและรักษาอย่างถูกต้องตั้งแต่ระยะ

                  เริ่มแรก
                  วัตถุประสงค์

                         - เพื่อศึกษาความสอดคล้องของอาการแสดงทางคลินิกกับผลพยาธิวิทยาไต
                         - เพื่อให้ผู้ป่วยโรคไตโกลเมอรูรัสได้รับการวินิจฉัยและการรักษาที่ถูกต้องเหมาะสม

                  วิธีการศึกษา
                         รูปแบบการศึกษา        การศึกษาเชิงพรรณนา
                         กลุ่มประชากร          ผู้ป่วยที่ได้รับการตัดชิ้นเนื้อไต (kidney biopsy) รพ.สุรินทร์
                         ระยะเวลา              เก็บข้อมูลตั้งแต่ 10/11/2565 - 5/2/2567


                  ผลการศึกษา
                         ผู้ป่วยโรคไตที่มีข้อบ่งชี้ได้รับการตัดชิ้นเนื้อไต ทั้งหมด 53 ราย เป็นเพศชายร้อยละ 49.1 อายุเฉลี่ย
                  44.1 ±15.3 ปี มีโรคร่วมเป็นเบาหวานร้อยละ 26.4 ความดันโลหิตสูงร้อยละ 32.7 โรคภูมิคุ้มกันทำลายตนเอง (SLE)
   329   330   331   332   333   334   335   336   337   338   339