Page 360 - Best practice_Oral2024 (อัพเดต)
P. 360

J18


                  วัตถุประสงค์การศึกษา

                         1. เพื่อพัฒนาระบบการคัดกรองและส่งต่อผู้ป่วยเบาหวานขึ้นจอตาในระดับโรงพยาบาลและเครือข่าย
                  บริการสุขภาพชุมชน ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี
                         2. เพื่อประเมินประสิทธิผลของการพัฒนาระบบการคัดกรองและส่งต่อผู้ป่วยเบาหวานขึ้นจอตา

                  ในระดับโรงพยาบาลและเครือข่ายบริการสุขภาพชุมชน ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี
                  วิธีการดำเนินการวิจัย

                         การวิจัยนี้เป็นวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม (Participatory Action Research; PAR) จาก
                  ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทุกฝ่าย ได้แก่ จักษุแพทย์ด้านจอตา (retina) พยาบาลเวชปฏิบัติทางตา พยาบาลวิชาชีพ
                  ทั้งในโรงพยาบาลอุดรธานี กลุ่มงานการพยาบาลชุมชน และโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล วิธีการ

                  ดำเนินการวิจัย (1) ประเมินความต้องการและวิเคราะห์ปัญหาเกี่ยวกับระบบคัดกรองและส่งต่อผู้ป่วย
                  โรคเบาหวานขึ้นจอตาที่ใช้ระบบบูรณาการปัญญาประดิษฐ์ช่วยคัดกรอง (2) พัฒนาระบบการคัดกรองและ
                  การส่งต่อผู้ป่วยเบาหวานขึ้นจอตา โดยการประชุมกลุ่มแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านจอตา พยาบาลเวชปฏิบัติทางตา
                  พยาบาลวิชาชีพ และพยาบาลชุมชนจากโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลโนนสูง ร่วมออกแบบระบบ

                  เลือกหน่วยบริการที่จะนำร่องในการพัฒนาระบบ ประสานงานกับแผนกเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อเชื่อมต่อ
                  กล้องถ่ายภาพจอตาเข้ากับระบบปัญญาประดิษฐ์ ออกแบบขั้นตอนการคัดกรอง การนัดหมาย การเก็บข้อมูล
                  การมาตรวจตามนัด การวินิจฉัยและการรักษาของแพทย์ตามขั้นตอนมาตรฐาน การสื่อสารระหว่างพยาบาล
                  ผู้ปฏิบัติ และการดูแลต่อเนื่องในชุมชน (3) ทดลองใช้ระบบที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลโนนสูงเป็นเวลา

                  2 เดือน โดยคัดกรองในผู้ป่วยเบาหวานที่ยังไม่เคยได้รับการวินิจฉัยว่ามีภาวะเบาหวานขึ้นจอตามาก่อน
                  (4) ประเมินผลลัพธ์ของการทดลองใช้ระบบจากจำนวนผู้ป่วยที่มารับการคัดกรองภาวะเบาหวานขึ้นจอตา
                  ของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลโนนสูง ความแม่นยำในการอ่านภาพจอตาโดยเปรียบเทียบกับการอ่าน
                  โดยปัญญาประดิษฐ์และการอ่านโดยแพทย์จอตา การเข้าถึงบริการการรักษาที่รวดเร็วนับจากเริ่มทำการคัดกรอง

                  ความพึงพอใจต่อระบบการคัดกรองและการส่งต่อผู้ป่วยเบาหวานขึ้นจอตา

                  ผลการศึกษา
                         - ผลลัพธ์เชิงปริมาณ ในการทดลองใช้ระบบมีจำนวนผู้ป่วยที่มารับการคัดกรองเบาหวานขึ้นจอตาและ
                  ถ่ายภาพส่งเข้าระบบได้ 108 ราย อ่านผลโดยปัญญาประดิษฐ์ให้ส่งต่อ 102 ราย (ร้อยละ 86.44) อ่านยืนยัน
                  โดยแพทย์จอตาให้ส่งต่อ 92 ราย (ร้อยละ 77.96) พบ false negative 6 ราย (ร้อยละ 5.55) และ false positive

                  16 ราย (ร้อยละ 14.81) ความแม่นยำในการอ่านภาพจอตาโดยปัญญาประดิษฐ์ตรงกับแพทย์จอตา ร้อยละ 79.71
                  และพยาบาลคัดกรองตรงกับปัญญาประดิษฐ์และแพทย์จอตา ร้อยละ 24.07 มีผู้ป่วยมารับการรักษาจริง
                  ที่โรงพยาบาลอุดรธานี 11 ราย พบว่ามีภาวะเบาหวานขึ้นจอตาระดับปานกลาง 3 ราย (ร้อยละ 28.57) มีภาวะ

                  เบาหวานขึ้นจอตาเล็กน้อยร่วมกับต้อกระจก 6 ราย (ร้อยละ 57.14) โรคของจอประสาทตาอื่น ๆ 3 ราย
                  (ร้อยละ 28.57) และต้อหิน 1 ราย (ร้อยละ 14.28) ระยะเวลาตั้งแต่เริ่มคัดกรองจนเข้าถึงบริการการรักษา
                  เฉลี่ย 14 วัน บุคลากรมีความพึงพอใจต่อการใช้ระบบการคัดกรองโดยปัญญาประดิษฐ์ ร้อยละ 89.34 และ
                  ผู้ป่วยเบาหวานที่มารับการคัดกรองมีความพึงพอใจ ร้อยละ 91.75
                         - ผลลัพธ์เชิงคุณภาพ จากการสัมภาษณ์พบว่า พยาบาลคัดกรองมีความเชื่อมั่นในการใช้ระบบบูรณาการ

                  ปัญญาประดิษฐ์ในการคัดกรองเบาหวานขึ้นจอตา เนื่องจากเป็นการยืนยันข้อมูลที่พยาบาลตรวจพบได้จาก
                  การถ่ายภาพจอตา และมีความพึงพอใจในระบบการคัดกรองและส่งต่อที่พัฒนาขึ้นในแง่ของการทราบผล
                  การคัดกรองจากปัญญาประดิษฐ์เร็ว มีการยืนยันจากแพทย์จอตาเร็ว การเชื่อมโยงข้อมูลการส่งต่อระหว่าง

                  พยาบาลชุมชนกับพยาบาลตติยภูมิผ่านช่องทางดิจิทัลไลน์ช่วยลดภาระงาน และเพิ่มประสิทธิภาพในการวางแผน
                  การพยาบาลผู้ป่วยได้ทันที
   355   356   357   358   359   360   361   362   363   364   365