Page 366 - Best practice_Oral2024 (อัพเดต)
P. 366
J24
- จัดกลุ่มให้ความรู้ Self-health group ในกรณีผู้ป่วยที่พบภาวะแทรกซ้อนทางตา ร่วมกับน้ำตาล
สะสมสูง HbA1c >10% และให้คำแนะนำเพื่อไปรักษาต่อกับจักษุแพทย์
- สรุปผลตรวจตาในผู้ป่วยเบาหวานที่พบภาวะแทรกซ้อนทุกเดือนและไตรมาส แก่ทีม คปสอ.ละหานทราย
ผลการศึกษา
ร้อยละของผู้ป่วยเบาหวานที่ได้รับการตรวจจอประสาทตา
79 80 82
85
80
75
ปี 2564 ปี 2565 ปี 2566
- พิมพ์ใบส่งตัวให้ทางไปรษณีย์ ในรายที่พบภาวะแทรกซ้อนทางตาตั้งแต่ระดับ Mild NPDR –
Moderate NPDR เพื่อไปรักษากับจักษุแพทย์ที่ รพ.นางรอง และระดับ Severe NPDR-PDR ที่ รพ.บุรีรัมย์
- มีกลุ่ม Line ปรึกษาจักษุแพทย์ รพ.บุรีรัมย์ และ รพ.นางรอง ในกรณีพบภาวะแทรกซ้อนทางตา
ระดับรุนแรง เพื่อเพิ่มช่องทางให้ผู้ป่วยได้รับการรักษาที่รวดเร็วขึ้น
อภิปรายผล
ปี 2566 ผู้ป่วยเบาหวานทั้งหมด 3,038 ราย ได้รับการตรวจจอประสาทตา 2,176 ราย คิดเป็น
ร้อยละ 82 มีระดับ HbA1c < 7% จำนวน 1,309 คน คิดเป็นร้อยละ 43.2 โดยพบเบาหวานขึ้นจอประสาทตา
ในกลุ่มผู้ป่วยที่ไม่สามารถควบคุม HbA1c ได้ร้อยละ 0.93 และผู้ป่วยที่พบภาวะแทรกซ้อนระดับ Severe
NPDR- PDR ได้รับการส่งต่อเพื่อพบจักษุแพทย์ร้อยละ 100
สรุปและข้อเสนอแนะ
จากการดำเนินงานพบว่า การคัดกรองเพิ่มใน รพ.สต.ทำให้ผู้ป่วยเข้าถึงบริการมากขึ้น และ
จากการ Self-health group ทำให้ผู้ป่วยมีความรอบรู้ในการดูแลตนเอง (Health Literacy) ช่วยให้ควบคุม
น้ำตาลสะสม HbA1c ได้ดีขึ้น และผู้ที่พบภาวะแทรกซ้อนระดับรุนแรง ก็ได้รับการรักษากับจักษุแพทย์ทันเวลา
พยาบาลเวชตามีส่วนสำคัญในการตรวจคัดกรอง และส่งต่อผู้ป่วยที่พบภาวะแทรกซ้อน ให้ได้รับการดูแล
อย่างถูกต้อง เหมาะสม รวดเร็ว ตามมาตรฐาน โดยอาศัยความร่วมมือของภาคีเครือข่าย NCD CUP คปสอ.
เพื่อลดปัญหาตาบอดจากเบาหวานได้ มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น