Page 368 - Best practice_Oral2024 (อัพเดต)
P. 368
K1
การพัฒนาระบบส่งต่อข้อมูลผู้ป่วยโรคเบาหวานความดันโลหิตสูงรับการรักษาต่อเนื่อง
โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) ผ่านระบบ PNH E-Refer
นางสาวนภัทรสร วิสิทธิ์ศาสตร์ และคณะ
โรงพยาบาลพนัสนิคม จังหวัดชลบุรี เขตสุขภาพที่ 6
ประเภท ผลงานทางวิชาการ
ความสำคัญของปัญหาวิจัย
คลินิกเบาหวานความดันโลหิตสูง กลุ่มงานการพยาบาลผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลพนัสนิคม
ได้มีการพัฒนางานส่งต่อผู้ป่วยรับการรักษาต่อเนื่องในชุมชนตั้งแต่ปีงบประมาณ 2556 ตามนโยบาย
ของโรงพยาบาลและแนวทางปฏิบัติ เพื่อลดความแออัดของผู้ป่วยในการรับบริการในคลินิก มุ่งเน้นการส่งต่อ
ผู้ป่วยโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงที่อยู่ในเกณฑ์ควบคุมได้ กลุ่มสีเขียวและสีเหลือง ให้ได้รับการดูแล
รักษาต่อเนื่องสถานพยาบาลใกล้บ้าน ในปีงบประมาณ 2565 มีการประชุมวางแผนการดำเนินงานร่วมกับ
รพ.สต. ในเครือข่าย เพื่อปรับระบบการเบิกจ่ายยาพื้นฐานของโรคไม่ติดต่อเรื้อรังใน PCU ที่มีแพทย์ออกตรวจ
และ รพ.สต. ที่มีพยาบาลเวชปฏิบัติครอบครัวและชุมชนให้สามารถเบิกจ่ายยาตามบัญชียาและเวชภัณฑ์
รองรับการส่งต่อและกระจายผู้ป่วยลงสู่ชุมชนได้เพิ่มมากขึ้น พบปัญหาจากระบบการส่งต่อด้วยเอกสาร
ได้แก่ ระยะเวลาในการเขียนเอกสารส่งต่อเฉลี่ย 10 นาทีต่อราย ซึ่งส่งผลกระทบต่องานบริการกรณีมีการส่งต่อ
ผู้ป่วยมากกว่า 5 รายต่อวัน อีกทั้งเอกสารส่งต่อไม่ถึง รพ.สต. ในวันที่รับบริการ เกิดความล่าช้าในการจัดส่ง
เอกสาร ข้อมูลประวัติการรักษาไม่ครบถ้วน จำหน่ายผู้ป่วยลงผิด รพ.สต. ผิดวัน หลักฐานที่เป็นภาพถ่าย
ไม่ครบถ้วนตามเอกสารการจัดส่ง และเกิดปัญหาด้านการประสานงานในวันที่รับบริการ เป็นต้น
ดังนั้น คลินิกเบาหวานความดันโลหิตสูง จึงพัฒนาระบบการส่งต่อผู้ป่วยผ่านระบบส่งต่อออนไลน์ PNH
E-Refer เพื่อลดอุบัติการณ์การเกิดความผิดพลาดในการรับส่งข้อมูลการรักษาต่อเนื่อง ลดภาระงาน ระยะเวลา
ของเจ้าหน้าที่ในคลินิกเบาหวานความดันโลหิตสูง สสอ. และรพ.สต. และมีการส่งต่อผู้ป่วยอย่างเป็นระบบ ซึ่ง
เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานของแต่ละ รพ.สต. สามารถตรวจสอบข้อมูลได้อย่างทันท่วงที ระบบถูกออกแบบให้
ส่งออกข้อมูลผู้ป่วยในรูปแบบเวชชะเบียนการตรวจรักษาที่ครบถ้วน และสามารถแจ้งขอเอกสารเพิ่มเติมใน
ระบบได้ ระบบจะแจ้งเตือนที่ Line เจ้าหน้าที่ในคลินิกผ่านโทรศัพท์เคลื่อนที่ และได้รับเอกสารตอบกลับเป็น
File PDF ภายใต้การปกปิดข้อมูลเกี่ยวกับการเจ็บป่วยและการบำบัดรักษาไว้เป็นความลับตามมาตรา 25 สิทธิ
ผู้ป่วย เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานจะต้องยืนยันตัวตนโดยบัตรประชาชนในการใช้งานระบบ ตามนโยบายความ
ปลอดภัยและการเข้าถึงข้อมูลส่วนบุคคล ทั้งนี้จะไม่ละเมิดสิทธิ์ และข้อมูลส่วนบุคคลตามพระราชบัญญัติข้อมูล
ข่าวสาร พ.ศ. 2540
วัตถุประสงค์การศึกษา
1. เพื่อพัฒนาการบริหารจัดการระบบส่งต่อที่สะดวกรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ
2. ลดอุบัติการณ์การเกิดความผิดพลาดในการรับส่งข้อมูลการรักษา
3. ลดภาระงาน ระยะเวลา ของเจ้าหน้าที่ในคลินิกเบาหวานความดันโลหิตสูง สสอ. และรพ.สต.