Page 371 - Best practice_Oral2024 (อัพเดต)
P. 371
K4
ผลการศึกษา
ผลการดำเนินการ รุ่นที่1(กันยายน 2565-มีนาคม2566) ผู้ป่วยเบาหวานทั้ง45 คน สามารถลดยา
ลงได้ 30 คน (66.7%) หยุดยาได้15คน(33.3%) ผู้ป่วยมีความรอบรู้ด้านสุขภาพดีขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ
ทางสถิติ (p-value < 0.05) ผู้ป่วยมีระดับน้ำตาลในเลือด น้ำหนัก และเส้นรอบเอวลดลงอย่างมีนัยสำคัญ
ทางสถิติ (p-value < 0.001)
ผลการดำเนินการ รุ่นที่ 2 (พฤษภาคม 2565 – พฤศจิกายน 2566) ผู้ป่วยเบาหวานจำนวน 213 คน
สามารถลดน้ำหนัก/รอบเอวได้200คน(93.9%) ลดยาลงได้ 100คน(46.9%) หยุดยาได้111คน (52.1%)
สำหรับคนไข้ที่มีโรคความดันสูงร่วมด้วยจำนวน 119 คน สามารถลดยาได้ 40คน(36.4%) และหยุดยาได้ 28 คน
(23.5%) และนอกจากนี้นวัตกรรมบริการนี้ยังสามารถสร้างกระแสการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมได้ในวงกว้าง
จนส่งผลให้ผู้ป่วยเบาหวานสามารถควบคุมระดับน้ำตาล HbA1c <7mg% ในปี 2565-2566 ได้ 44.5%
และ 42.3% และสามารถประหยัดค่ายาประมาณ 184,000บาท/ปี
ผลการประเมินความพึงพอใจ พบว่าผู้ป่วยมีความพึงพอใจมากเนื่องจากไม่เคยคาดหวังว่าจะสามารถ
หยุดยาหรือลดยาลงได้ และมีความภาคภูมิใจมากเนื่องจากผู้ที่สามารถหยุดยาได้โรงพยาบาลได้เชิญเป็น
วิทยากรให้คำแนะนำการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมให้กับคลินิกเบาหวานทั้งที่โรงพยาบาลและที่รพ.สต.ทั้ง 12 แห่ง
อภิปรายผล
1. ได้รูปแบบ สุขภาพดีวิถีไทย เบาหวานหายได้ อำเภอกระนวน จังหวัดขอนแก่น ประกอบด้วย 1)
การอบรมเชิงปฏิบัติการสำหรับเจ้าหน้าที่และผู้ป่วย เนื้อหาคือสถานการณ์โรคเบาหวาน และภาวะแทรกซ้อน
ต่างๆ การทำ Motivational Interviewing (MI) และเข้าฐาน 5 ฐาน ได้แก่ ฐานคาร์โบไฮเดรต ฐานโปรตีน
ฐาน IF ฐานออกกำลังกาย และฐานสวดมนต์ สมาธิ สนทนาธรรม ซึ่งเป็นเนื้อหาหลักสูตรตามนโยบายสุขภาพ
ดีวิถีใหม่ วิถีธรรม วิถีไทย วิถีเศรษฐกิจพอเพียง กระทรวงสาธารณสุข พ.ศ.2564-2570และ แนวทางการดูแล
ผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่2 ให้เข้าสู่โรคเบาหวานระยะสงบด้วยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมอย่างเข้มงวด
โดยราชวิทยาลัยแพทย์เวชศาสตร์ครอบครัวแห่งประเทศไทย และใช้หลักการMotivational Interviewing
(MI) ของ นพ. เทอดศักดิ์ เดชคง หลังการอบรมแยกกลุ่มพบแพทย์ปรับยาและทำการ สร้างไลน์กลุ่มแต่ละ
ตำบลแพทย์พยาบาลเข้ากลุ่ม 2) การตั้งเป้าหมายให้น้ำหนักลดลง 10-15% FBS < 130 mg% 3) กำหนด
ระบบการติดตามเข้มข้นด้านพฤติกรรมและ DTX สัปดาห์ละ 2 วัน วันละ 2 ครั้ง ชั่งน้ำหนัก วัดรอบเอวโดยตัว
ผู้ป่วยเอง ครอบครัว อสม โดยทุกคนได้รับการฝึกทักษะการตรวจระดับน้ำตาลในเลือดจากพยาบาล
จากนั้นส่งข้อมูลลงในไลน์กลุ่ม เจ้าหน้าที่รพสต.นำข้อมูลที่ได้รับลงบันทึกข้อมูลในโปรแกรมระบบจัดการข้อมูล
สุขภาพดีวิถีไทยซึ่งเป็น เวปแอพพลิเคชั่น (https://kkcard.kkpho.go.th/dmk/tdmhtknlist) แพทย์จะเห็น
ค่า DTX เป็นกราฟ 4) แพทย์ พยาบาล จะดูข้อมูลระดับน้ำตาลจากกราฟและดูแบบบันทึกพฤติกรรมที่ลง
ข้อมูลว่าอาหารที่ผู้ป่วยกินเป็นอย่างไรบ้าง คาร์โบไฮเดรต โปรตีน IF ออกกำลังกาย และการสวดมนต์ สมาธิ
สนทนาธรรม ทำได้ถูกต้องหรือต้องปรับอย่างไร แพทย์ พยาบาลให้คำแนะนำผ่านไลน์และการโทรแบบ
Telemedicine ซึ่งถือเป็นแลกเปลี่ยนและสร้างการเรียนรู้กับผู้ป่วย ผ่านไลน์กลุ่มได้เป็นอย่างดี
ผู้ป่วยเกิดการเรียนรู้ด้วยตนเองและปรับพฤติกรรมการในครั้งต่อๆไป แพทย์สามารถปรับลดยาให้ผู้ป่วยได้
5) ระบบการนัดติดตามผู้ป่วยเดือนละ 1 ครั้ง โดยเชิญผู้ป่วยทั้ง 45 คน และทีมสหวิชาชีพมาร่วมแลกเปลี่ยน
เรียนรู้ โดยเนื้อหา คือ การแลกเปลี่ยนเรียนรู้โดยให้ผู้ป่วยที่สามารถหยุดยาได้เรียกว่า บุคคลต้นแบบ
มาสัมภาษณ์/สร้างแรงบันดาลใจ และให้ผู้ป่วยที่ยังไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลได้เปิดใจแลกเปลี่ยนปัญหา
ของตนในกลุ่มผู้ป่วยด้วยกันเอง และกลุ่มช่วยกันหาทางออกร่วมกันโดยแพทย์พยาบาลจะเป็นพี่เลี้ยงชี้แนะ
แนวทางด้วย หลังจากนั้นแยกกลุ่มเพื่อพบแพทย์ประจำกลุ่มแต่ละตำบลเพื่อให้คำแนะนำเข้มข้นรายบุคคลและ