Page 369 - Best practice_Oral2024 (อัพเดต)
P. 369

K2


                  วิธีการศึกษา

                                     ภาพ ระบบส่งต่อข้อมูลผู้ป่วยรับการรักษาต่อเนื่อง PNH E-Refer









                                ผู้ใช้งานระบบจำนวน 21 รพ.สต. ในเครือข่ายอำเภอพนัสนิคม จังหวัดชลบุรี

                         1. คลินิกเบาหวานความดันโลหิตสูง ส่งต่อผู้ป่วยผ่านระบบนัดใน Program Hos XP โดยคลินิก
                  ที่นัดเลือกเป็น รับยา รพ.สต. และระบุชื่อ รพ.สต. ในช่องติดต่อที่ ข้อมูลการนัดและประวัติการรักษาของ
                  ผู้ป่วยจะถูกเชื่อมต่อไปยังระบบส่งต่อออนไลน์ PNH E-Refer โดยอัตโนมัติ
                         2. เจ้าหน้าที่ PCU/รพ.สต.ทุกแห่ง ลงทะเบียนโดยใช้บัตรประชาชนในระบบส่งต่อออนไลน์

                  PNH E-Refer โดยอนุญาตให้ PCU/รพ.สต.ละ 1 user ผ่านลิงก์การใช้งาน สามารถใช้งานผ่านอุปกรณ์
                  ที่เชื่อมต่อระบบอินเตอร์เน็ตได้ทุกชนิด http://203.113.122.165:2022/OPD/Refer/html/
                         3. เจ้าหน้าที่ PCU/รพ.สต. สามารถดึงข้อมูลผู้ป่วยที่ได้รับการส่งต่อจากระบบส่งต่อออนไลน์
                  ตามวันที่มีการให้บริการของแต่ละ PCU/รพ.สต.

                         4. เจ้าหน้าที่ PCU/รพ.สต. สามารถ Print Out เวชระเบียนจาก Column ข้อมูลส่วนรายละเอียด
                  กรณีต้องการเอกสารเพิ่มเติม แจ้งขอได้ที่ menu ด้านท้ายสุดของ Column ขอเอกสารเพิ่ม ระบบจะแจ้งเตือน
                  ที่ Line เจ้าหน้า NCD Clinic ผ่านโทรศัพท์เคลื่อนที่ และตอบกลับข้อมูลในรูปแบบ File PDF

                  ผลการศึกษา

                         จากการใช้ระบบส่งต่อออนไลน์ PNH E-Refer สามารถลดอุบัติการณ์การเกิดความผิดพลาดในการ
                  รับส่งข้อมูลการรักษา การจำหน่ายผู้ป่วยผิด รพ.สต. และผิดวัน จาก 16.8% เหลือ 2.6% เวชระเบียน
                  ไม่สมบูรณ์จาก 7.9% เหลือ 0 % การส่งต่อเอกสารล่าช้าจาก 27.4 % เหลือ 0 % ความพึงพอใจของเจ้าหน้าที่
                  รพ.สต. ทั้งหมด 21 แห่ง ต่อระบบส่งต่อออนไลน์ PNH E-Refer โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ร้อยละ 95.2

                  อภิปรายผล

                         ผลลัพธ์การใช้ระบบส่งต่อออนไลน์ PNH E-Referส่งผลให้ระบบการส่งต่อผู้ป่วยเพื่อรับการรักษา
                  ต่อเนื่องเป็นระบบมากยิ่งขึ้น ลดภาระงาน ลดระยะเวลา ของเจ้าหน้าที่คลินิกเบาหวานความดันโลหิตสูง และ
                  สสอ. ในการเขียนเอกสารส่งต่อและรับส่งเอกสารของผู้ป่วยระหว่าง รพ. และรพ.สต. ลดระยะเวลา
                  การทำงานของเจ้าหน้าที่ รพ.สต. ในการค้นหาเอกสารการส่งต่อ อีกทั้งยังได้รับข้อมูลการส่งต่อ

                  ที่ครบถ้วนสมบูรณ์ รพ.สต. สามารถให้การดูแลรักษาผู้ป่วยได้อย่างต่อเนื่องในวันที่รับบริการ

                  สรุปและข้อเสนอแนะ
                         สามารถนำไปใช้ในโรงพยาบาลทั่วไปที่มีบริบทใกล้เคียงกันทั้งในระดับจังหวัดและเขตสุขภาพ
                  มีแผนในการปรับปรุงเพื่อให้โปรแกรมสามารถระบุวันนัดที่ตรงกับการเปิดบริการแต่ละ รพ.สต. ได้อย่างรวดเร็ว
                  และถูกต้อง
   364   365   366   367   368   369   370   371   372   373   374