Page 370 - Best practice_Oral2024 (อัพเดต)
P. 370

K3


                      การพัฒนารูปแบบสุขภาพดีวิถีไทย เบาหวานหายได้ อำเภอกระนวน จังหวัดขอนแก่น


                                                                 นายแพทย์วิโรจน์ เลิศพงศ์พิพัฒน์ และ นางจูณี คงทรัพย์
                                                 โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชกระนวน จังหวัดขอนแก่น เขตสุขภาพที่ 7
                                                                                                        ประเภท  ผลงานทางวิชาการ



                  ความสำคัญของปัญหาวิจัย
                         โรคเบาหวานเป็นหนึ่งในปัญหาสุขภาพที่สำคัญของประเทศไทยและทั่วโลก ประเทศไทยมีผู้ป่วย
                  เบาหวานประมาณ 5 ล้านคน และมีผู้ป่วยรายใหม่ 300,000 คนต่อปี  อำเภอกระนวน มีผู้ป่วยเบาหวาน
                  เพิ่มขึ้นทุกปี ข้อมูล 4 ปีย้อนหลัง พ.ศ. 2563-66 ได้แก่ 5,342, 5,658, 5,811 และ 5,995 คนตามลำดับ

                  เป็นโรคที่พบมากเป็นลำดับ 2 ของแผนกผู้ป่วยนอก และลำดับ10ของแผนกผู้ป่วยใน และส่งผลให้เกิด
                  ภาวะแทรกซ้อนที่สำคัญได้แก่โรคหลอดเลือดสมอง หัวใจ และไตวาย  นอกจากนี้โรคเบาหวานยังส่งผลกระทบ
                  ต่อระบบบริการของโรงพยาบาลมากขึ้นเรื่อย ๆ ได้แก่ ค่ายา ค่าตรวจทางห้องปฏิบัติการ และภาระงานของ
                  เจ้าหน้าที่ เป็นต้น ซึ่งโรคเบาหวานชนิดที่ 2 นั้น สาเหตุเกิดจากพฤติกรรมการบริโภค ผู้ป่วยส่วนมากมีภาวะ

                  อ้วนหรือน้ำหนักเกิน จากหลักฐานทางวิชาการในปัจจุบันพบว่าการลดน้ำหนักร้อยละ 10-15 ของน้ำหนักตัว
                  จะช่วยให้เข้าสู่โรคเบาหวานระยะสงบได้
                         ดังนั้นทีมจึงมีความมุ่งมั่นที่จะพัฒนารูปแบบบริการ“สุขภาพดีวิถีไทย เบาหวานหายได้ อำเภอกระนวน
                  จังหวัดขอนแก่น” โดยมีเป้าหมายคือรักษาผู้ป่วยเบาหวานให้หาย ลดผู้ป่วยเบาหวานรายใหม่ และ

                  ลดภาวะแทรกซ้อนของโรคที่เกิดจากเบาหวานให้ลดลง

                  วัตถุประสงค์การศึกษา
                         เพื่อหาทางออกให้กับโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชกระนวน และประเทศไทยในการแก้ปัญหาผู้ป่วย
                  เบาหวานที่มีจำนวนเพิ่มมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยพัฒนารูปแบบการรักษาผู้ป่วยเบาหวานให้หายได้โดยการ
                  เพิ่มความรอบรู้ด้านสุขภาพให้กับผู้ป่วย สร้างการมีส่วนร่วมของครอบครัว/ชุมชนในการดูแลผู้ป่วย รวมทั้ง

                  พัฒนาระบบการให้บริการด้านสาธารณสุขให้มีความเชื่อมโยงกันอย่างมีประสิทธิภาพ

                  วิธีการศึกษา
                         1. รูปแบบการศึกษา เป็นการวิจัย (action research) 4 ขั้นตอน 1) การวางแผน (planning: P)
                  2) การลงมือปฏิบัติงาน (action: A) 3) การสังเกตผลการปฏิบัติ/การประเมินผล (observation: O)

                  4) การสะท้อนกลับการปฏิบัติงาน (reflection: R)
                         2. การกำหนดตัวอย่าง กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ 1) ผู้ร่วมพัฒนารูปแบบ ได้แก่ ทีมสหสาขาวิชาชีพ 36 คน
                  อสม. 44 คน รวม 80 คน  และ 2) ผู้ป่วยเบาหวานจำนวน 45 คน โดยเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง
                  ตามเกณฑ์ดังนี้ ผู้ป่วยที่มีระดับ HbA1c > 7 mg%  ไม่มีภาวะแทรกซ้อนเรื้อรังรุนแรง

                         3. เครื่องมือเก็บรวบรวมข้อมูล เชิงคุณภาพ ได้แก่ แบบสัมภาษณ์/แบบสนทนากลุ่ม/แบบสังเกต/
                  แบบ AAR/ แบบบันทึกการติดตาม เชิงปริมาณ ได้แก่ แบบประเมินพฤติกรรมสุขภาพโรคเบาหวานแบบบันทึก
                  น้ำหนัก เส้นรอบเอว การตรวจเลือด FBSและ HbA1C
                         4. การเก็บรวบรวมข้อมูล  เชิงคุณภาพ ได้แก่ การสัมภาษณ์ การสนทนากลุ่ม การสังเกต การบันทึก

                  ภาคสนาม และสรุปบทเรียน
                         5. การวิเคราะห์ข้อมูล/สถิติที่ใช้ สถิติเชิงพรรณนา จำนวน ค่าเฉลี่ย ร้อยละ
   365   366   367   368   369   370   371   372   373   374   375