Page 397 - Best practice_Oral2024 (อัพเดต)
P. 397
K30
การพัฒนาแนวทางการวางแผนจำหน่ายผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองตีบตัน
หออภิบาลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง โรงพยาบาลเลย
นางลำพูน บรรพลา
โรงพยาบาลเลย จังหวัดเลย เขตสุขภาพที่ 8
ประเภทวิชาการ
ความสำคัญของปัญหา
โรคหลอดเลือดสมองเป็นโรคที่มีความผิดปกติของหลอดเลือด มีผลทำให้สมองบางส่วนหรือทั้งหมดของ
ผู้ป่วยสูญเสียหน้าที่ โรคหลอดเลือดสมองอาจไม่ได้ทำให้ผู้ป่วยเสียชีวิตในทันที แต่ส่งผลให้ผู้ป่วย
มีความพิการ ผู้ป่วยต้องนอนอยู่บนเตียงตลอด ความสามารถในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวันบกพร่อง
ไม่สามารถที่จะกลั้นอุจจาระปัสสาวะได้ ไม่สามารถเคลื่อนไหวร่างกายได้ ส่งผลให้เกิดภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ
ตามมา ได้แก่ การติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะจากข้อจำกัดด้านการเคลื่อนไหว การติดเชื้อในระบบทางเดิน
หายใจจากการสำลัก การเกิดแผลกดทับ สูญเสียความสามารถในการเดินและการทรงตัวทำให้เสี่ยงต่อการเกิด
อุบัติเหตุ รวมถึงเกิดปัญหาสุขภาพจิตกับตัวผู้ป่วยและครอบครัว (Chohan et al., 2019) สำหรับด้านเศรษฐกิจและ
สังคม ส่งผลกระทบต่อค่าใช้จ่ายการรักษาพยาบาล ทั้งค่าใช้จ่ายโดยตรงจากค่ารักษาในโรงพยาบาลและการดูแล
รักษาฟื้นฟูต่อเนื่องที่บ้าน โดยผู้ป่วยนอนรักษาในโรงพยาบาลเฉลี่ย 3.44 วัน ค่าใช้จ่ายในการรักษาเฉลี่ยเท่ากับ
11,262 บาท (กฤษฎา เขียวเปลื้อง, 2561)
หลังสิ้นสุดการรักษาในระยะเฉียบพลันแล้วนั้น ร้อยละ 70 ของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง
ยังคงหลงเหลือความพิการ ความสามารถในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวันบกพร่อง เนื่องจากไม่สามารถเคลื่อนไหว
ร่างกายได้ ต้องนอนอยู่บนเตียงตลอด ไม่สามารถที่จะกลั้นอุจจาระปัสสาวะได้ ส่งผลให้เกิดภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ
ได้แก่ การติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะจากข้อจำกัดด้านการเคลื่อนไหวการติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจ
จากการสำลัก การเกิดแผลกดทับ สูญเสียความสามารถในการเดินและการทรงตัวทำให้เสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุ
รวมถึงเกิดปัญหาสุขภาพจิตกับตัวผู้ป่วยและครอบครัว แต่หากมีการเตรียมความพร้อมก่อนการจำหน่ายให้
เหมาะสมและครอบคลุมสภาวะความเจ็บป่วยของผู้ป่วยแต่ละรายได้ ผู้ป่วยจะสามารถดูแลตนเองได้ ผู้ดูแลมีความ
มั่นใจในการดูแลผู้ป่วยหลังการจำหน่ายกลับบ้าน และส่งผลให้ลดอัตราผู้ป่วยกลับเข้ารับการรักษาซ้ำในโรงพยาบาลได้
สำหรับโรงพยาบาลเลย พบว่ามีผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองตีบตัน เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล
พ.ศ. 2563 ถึง 2565 จำนวน 1,596, 1,466 และ 1,340 คน ตามลำดับ (งานเวชระเบียนและสถิติผู้ป่วยโรงพยาบาล
เลย, 2566) จะเห็นได้ว่าโรคหลอดเลือดสมองตีบตัน มีจำนวนลดลงเล็กน้อย ในหออภิบาลผู้ป่วยโรคหลอดเลือด
สมอง โรงพยาบาลเลย การดูแลในระยะเริ่มแรกหลังได้รับการวินิจฉัย เพื่อไม่ให้เกิดภาวะแทรกซ้อนขณะเข้ารับการ
รักษาในโรงพยาบาลนั้นมีความสําคัญต่อผลการรักษา โดยทีมบุคลากรทางการแพทย์ ซึ่งประกอบด้วย แพทย์
พยาบาลและทีมสหวิชาชีพอื่น ๆ ที่มีความรู้ความชำนาญในการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองระยะเฉียบพลัน
เพื่อให้เกิดผลลัพธ์ที่ดีที่สุดต่อผู้ป่วย
จากข้อมูลสถิติผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองที่กลับเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลซ้ำ มี 2 สาเหตุ
ได้แก่ การกลับเป็นโรคหลอดเลือดสมองซ้ำและจากการเกิดภาวะแทรกซ้อน โดยข้อมูลการกลับเข้ารับการรักษาใน
โรงพยาบาลซ้ำด้วยการเกิดโรคหลอดเลือดสมอง ปี พ.ศ. 2563-2565 ร้อยละ 7.58, 8.53 และ 5.45 ตามลำดับ และ
ข้อมู ลการกลั บ เข้ ารับการรักษาในโรงพยาบาลซ้ ำด้ วยการเกิ ด ภาวะแทรกซ้ อน ได้ แก่
ภาวะปอดอักเสบติดเชื้อ ในปี พ.ศ. 2563-2565 พบร้อยละ 1.44,1.91 และ 1.94 ตามลำดับ และภาวะติดเชื้อระบบ
ทางเดินปัสสาวะ ในปี พ.ศ. 2563-2565 ร้อยละ 0.56, 0.21 และ 0.37 ตามลำดับ (ข้อมูลสถิติผู้ป่วยโรงพยาบาล