Page 393 - Best practice_Oral2024 (อัพเดต)
P. 393

K26


                                                 7 Do  2 Pass SMART goal

                                                                         นางศิริวรรณ  หอสกุล โรงพยาบาลปราณบุรี
                                                                             จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เขตสุขภาพที่ 5
                                                                          ประเภท ผลงานนวัตกรรมและสิ่งประดิษฐ์



                  ความสำคัญของปัญหา
                         โรคเบาหวานเป็นหนึ่งในกลุ่มโรคไม่ติดต่อ (Non-communication Diseases: NCDs) ที่พบบ่อยและ
                  เป็น ภาระต่อระบบสาธารณสุขของแต่ละประเทศทั่วโลก โดยสถานการณ์โรคเบาหวานทั่วโลกในปี 2564
                  มีผู้ป่วยจำนวน 537 ล้านคนและคาดว่าในปี 2573 จะมีผู้ป่วยเบาหวานเพิ่มขึ้นเป็น 643 ล้านคน จากรายงาน

                  สถิติสาธารณสุข กระทรวงสาธารณสุขประเทศไทยพบอุบัติการณ์โรคเบาหวานมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่าง ค่าใช้จ่าย
                  ด้านสาธารณสุขในการรักษาโรคเบาหวานเฉลี่ยสูงถึง 47,596 ล้านบาทต่อปี นอกจากนี้โรคเบาหวานยังคงเป็น
                  สาเหตุหลักที่ก่อให้เกิดโรคอื่นๆ ในกลุ่มโรค NCDs เช่น โรคหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง โรคความดันโลหิตสูง

                  และโรคไตวายเรื้อรัง สถานการณ์ปี 2566 ผู้ป่วยเบาหวานในอำเภอปราณบุรี มีจำนวน 3,270 คน ควบคุม
                  น้ำตาลได้ดีเพียงร้อยละ 35.75 ซึ่งโรคเบาหวานเป็นอันดับ 2 ของผู้ป่วยนอกตั้งแต่ปี 2564 -2566 และ
                  เป็นอันดับ 2 ที่รับไว้ในหอผู้ป่วยในหญิง สำหรับผู้ป่วยเบาหวานที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล ส่วนใหญ่
                  มีสาเหตุจากภาวะแทรกซ้อนแบบเฉียบพลันและเรื้อรัง รวมทั้งการมีปัญหาทางด้านอื่นๆร่วมด้วย เช่น

                  การติดเชื้อ มีแผลที่เท้า ซึ่งเป็นกลุ่มผู้ป่วย ที่มีปัญหายุ่งยากและซับซ้อนในการดูแล และเป็นข้อบ่งชี้สำคัญ
                  ที่จะต้องมีการวางแผนจำหน่าย เมื่อพิจารณา ผลลัพธ์การดูแลผู้ป่วยเบาหวานในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา ระยะวัน
                  นอนเฉลี่ย 4.09, 4.58 และ 5.19 ตามลำดับ อัตราการกลับมารักษาซ้ำในโรงพยาบาลภายใน 28 วันโดยไม่ได้
                  วางแผน (re-admitted) ในปี 2563 และ 2564 ร้อยละ 0.03 และ 0.03 ตั้งแต่ปี 2565 และ 2566

                  ยังไม่พบอัตราการกลับมารักษาซ้ำในโรงพยาบาลภายใน 28 วันโดยไม่ได้วางแผน (re-admitted) แต่มีผู้ป่วย
                  เบาหวานที่เข้ารับการรักษาในหอผู้ป่วยในหญิง จากภาวะแทรกซ้อนเฉียบพลันมากขึ้น ร้อยละ 25.86, 13.43
                  และ 18.01 ตามลำดับและในปี 2566 พบร้อยละ 25.73 และในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา (พ.ศ 2563-2565)
                  มีผู้ป่วยรายเก่ากลับมารักษาในโรงพยาบาลจำนวน 58 ,66 ,73 คนตามลำดับ จำนวนครั้งสูงสุดที่กลับเข้ามา

                  รักษาในหอผู้ป่วยได้แก่ 12,13,10 ตามลำดับ ปี 2566 มีผู้ป่วยรายเก่ากลับมารักษาในโรงพยาบาล
                  จำนวน 56 คน จำนวนครั้งสูงสุดที่กลับเข้ามารักษาในหอผู้ป่วย 11 ครั้ง จากประเด็นปัญหาและข้อมูลดังกล่าว
                  ทำให้เห็นถึงความ จำเป็นที่จะต้องมีการพัฒนาหรือปรับปรุงกระบวนการวางแผนจำหน่ายโดยสหวิชาชีพ

                  ในผู้ป่วยเบาหวาน เพื่อเตรียมความพร้อมผู้ป่วยและผู้ดูแลให้มีคุณภาพ ตั้งแต่ในระยะแรกรับ ระยะดูแลต่อเนื่อง
                  และระยะจำหน่ายผู้ป่วยออกจากหอผู้ป่วย ส่งต่อไปยังโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพประจำตำบลเพื่อการดูแล
                  อย่างต่อเนื่องและเป็นองค์รวม กลับบ้าน อย่างมั่นใจ ปลอดภัย พึงพอใจ ผู้ป่วยและผู้ดูแลสามารถดูแลสุขภาพ
                  ได้ด้วยตนเองซึ่งในการนี้ทีมพยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติงานและทีมสหสาขาวิชาชีพ ที่เกี่ยวข้องต้องรับรู้ปัญหา
                  ร่วมกัน ร่วมคิด และมีส่วนร่วมแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบ


                  วัตถุประสงค์
                     1. ผู้ป่วยเบาหวานที่มีภาวะแทรกซ้อนแบบเฉียบพลันและแบบเรื้อรัง หอผู้ป่วยในหญิงได้รับการวางแผน
                  จำหน่าย 100 %
                     2. อัตราการปฏิบัติตามแนวทางการวางแผนจำหน่ายผู้ป่วยเบาหวานที่มีภาวะแทรกซ้อนแบบเฉียบพลัน
                  และแบบเรื้อรังของพยาบาลวิชาชีพหอผู้ป่วยในหญิง ≥ 85 %
   388   389   390   391   392   393   394   395   396   397   398