Page 398 - Best practice_Oral2024 (อัพเดต)
P. 398

K31

                  เลย, 2566) 57 ถึงแม้ว่าภาวะปอดอักเสบติดเชื้อและภาวะติดเชื้อระบบทางเดินปัสสาวะมีแนวโน้มลดลง แต่ทั้งภาวะ

                  ปอดอักเสบติดเชื้อและภาวะติดเชื้อระบบทางเดินปัสสาวะนั้นเป็นสาเหตุสำคัญที่ส่งผลกระทบต่อระยะเวลาการนอน
                  รักษาตัวในโรงพยาบาล ค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลและเป็นเหตุของการติดเชื้อในกระแสโลหิตซึ่งนำไปสู่การ
                  เสียชีวิตในที่สุด
                         หออภิบาลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง โรงพยาบาลเลย มีจำนวนเตียงให้บริการ จำนวน 8 เตียง

                  ซึ่งไม่เพียงพอกับจำนวนผู้ป่วยที่เข้ารับบริการ จากข้อมูลจำนวนผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลเลยข้างต้น
                  ตามมาตรฐานการจัดการเตียงที่เหมาะสม ควรมีอย่างน้อย 16 เตียง ทางแผนกอายุรกรรม โรงพยาบาลจึงออกแนว
                  ทางการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองโดยกำหนดเกณฑ์การเข้า-ออก stroke unit ส่งผลให้ผู้ป่วยโรคหลอดเลือด
                  สมองบางส่วนไม่ได้รับการจำหน่ายจากหออภิบาลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง ถึงแม้โรงพยาบาลเลยจะมีแนวทางการ

                  วางแผนจำหน่ายผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองโดยให้หลัก DMETHOD แต่ด้วยภาระงานและประสบการณ์การเตรียม
                  ความพร้อมก่อนการจำหน่ายผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองที่มีความจำเพาะ ทำให้พยาบาลไม่สามารถเตรียมความ
                  พร้อมก่อนการจำหน่ายให้ครอบคลุมสภาวะการเจ็บป่วยของผู้ป่วยเฉพาะรายได้ และด้วยความแออัดของผู้ป่วยและ
                  ข้อจำกัดด้านจำนวนเตียง ทำให้ไม่สามารถรับดูแลผู้ป่วยจนสิ้นสุดกระบวนการการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองที่

                  กำหนด จนกระทั่งผู้ป่วยและผู้ดูแลจะมีความพร้อมสำหรับการดูแลผู้ป่วยหลังการจำหน่ายกลับบ้านได้
                         จากการสอบถามผู้ป่วยกับญาติและการทบทวนเวชระเบียนผู้ป่วยที่กลับเข้ารับการรักษาในหออภิบาล
                  ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง จำนวน 50 ราย พบว่าร้อยละ 50 ผู้ป่วยและผู้ดูแลหลัก ได้รับการเตรียม

                  ความพร้อมในการดูแลหลังการจำหน่ายตามหลัก DMETHOD ทุกราย แต่ยังไม่ครอบคลุมตามสภาวะการเจ็บป่วย
                  ของผู้ป่วยเฉพาะราย เพื่อให้ผู้ป่วยได้รับการเตรียมความพร้อมก่อนการจำหน่ายครอบคลุมสภาวะการเจ็บป่วยของ
                  ผู้ป่วยเฉพาะรายและลดการกลับเข้ารับการรักษาซ้ำด้วยสาเหตุจากการกลับเป็นโรคหลอดเลือดสมองหรือจาก
                  ภาวะแทรกซ้อนที่สามารถป้องกันได้ ผู้ศึกษาในฐานะที่เป็นเลขานุการงาน service plan สาขาโรคหลอดเลือดสมอง
                  จึงได้ทบทวนแนวทางการวางแผนจำหน่ายผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองที่มีอยู่ปัจจุบันและพัฒนาแนวทางการวางแผน

                  จำหน่ายให้เหมาะสมกับสภาวะการเจ็บป่วยของผู้ป่วย โดยแบ่งกลุ่มผู้ป่วยเป็น 4 กลุ่ม คือ 1.กลุ่มที่มีปัญหาด้านการ
                  เคลื่อนไหว 2.กลุ่มที่มีปัญหาด้านการกลืน 3.กลุ่มที่มีปัญหาด้านการสื่อสาร และ 4.กลุ่มที่มีปัญหาด้านจิตใจ และ
                  ศึกษาผลการใช้แนวทางการวางแผนจำหน่ายนี้ จะสามารถช่วยให้พยาบาลเตรียมความพร้อมก่อนการจำหน่ายผู้ป่วย

                  โรคหลอดเลือดสมองตีบตันได้ครอบคลุมสภาวะการเจ็บป่วยทุกรายหรือไม่
                  วัตถุประสงค์

                         1. เพื่อพัฒนาแนวทางการวางแผนจำหน่ายผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองตีบตัน
                         2. เพื่อศึกษาผลของการใช้แนวทางการวางแผนจำหน่ายผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองตีบตัน

                  ผลที่คาดว่าจะได้รับ
                          1. มีแนวทางการวางแผนจำหน่ายที่ครอบคลุมสภาวะการเจ็บป่วยของผู้ป่วย หออภิบาลผู้ป่วยโรค

                  หลอดเลือดสมอง โรงพยาบาลเลย
                          2. ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองตีบตันได้รับการเตรียมความพร้อมก่อนการจำหน่ายครอบคลุมสภาวะ
                  การเจ็บป่วยของผู้ป่วยตามเกณฑ์ที่กำหนดทุกราย
                         3. อัตราการ re-admit ของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองตีบตันหลังการจำหน่ายลดลง

                  กิจกรรมการพัฒนา ระยะเวลาดำเนินการ ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2565 - 30 กันยายน 2566

                          1. Plan ทบทวนแนวทางปฏิบัติ/มาตรฐานการวางแผนจำหน่ายผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองตีบตันและแนว
                  ทางการวางแผนจำหน่ายปัจจุบันที่ใช้อยู่ เพื่อเป็นแนวทางการออกแบบแนวทางการวางแผนจำหน่าย
                  ให้เหมาะสมกับบริบทหน่วยงาน
   393   394   395   396   397   398   399   400   401   402   403