Page 394 - Best practice_Oral2024 (อัพเดต)
P. 394
K27
3. อัตราความพึงพอใจของสหวิชาชีพต่อการวางแผนจําหน่ายผู้ป่วยเบาหวานที่มีภาวะแทรกซ้อน
แบบเฉียบพลันและแบบเรื้อรังโดยใช้นวัตกรรม 7 Do 2 Pass SMART goal ที่พัฒนาขึ้น ≥ 85 %
4. อัตราความพึงพอใจขอผู้ป่วยและผู้ดูแลผู้ป่วยเบาหวานที่มีภาวะแทรกซ้อนแบบเฉียบพลันและ
แบบเรื้อรังต่อการวางแผนจำหน่ายของหอผู้ป่วยในหญิง ≥ 85 %
5. ผู้ป่วยและผู้ดูแลผู้ป่วยเบาหวานที่มีภาวะแทรกซ้อนแบบเฉียบพลันและแบบเรื้อรังมีพฤติกรรม
การดูแลตนเองในระดับมาก ≥ 85 %
6. อัตราการกลับมารักษาในโรงพยาบาลด้วยภาวะแทรกซ้อนแบบเฉียบพลันและแบบเรื้อรัง
ในผู้ป่วยรายเก่าลดลงร้อยละ 20
วิธีการศึกษา
1. ทีมสหวิชาชีพ ประกอบไปด้วย แพทย์ 1 คน เภสัชกร 1 คน นักโภชนากร 1 คน นักกายภาพบำบัด 1
คน และพยาบาลวิชาชีพ 3 คน ได้แก่ พยาบาลคลินิกโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง พยาบาลงานเวชปฏิบัติครอบครัวและ
ชุมชน และพยาบาล Discharge planner รวมเป็น 7 คน
2. พยาบาล Discharge planner นำแบบ Alert for 7 Do 2 Pass ติดไว้หน้า chart ผู้ป่วยที่เตรียม
วางแผนจำหน่ายและใส่เครื่องหมายถูกเมื่อสหวิชาชีพประเมินว่าผ่าน
3. ทีมสหวิชาชีพ ให้ความรู้ผู้ป่วยและผู้ดูแลพร้อมประเมินว่าผ่านแล้วจะจึงบันทึกว่าผ่านในแบบบันทึก
การมีส่วนร่วมของทีมสหสาขาวิชาชีพและประเมินการวางแผนจำหน่าย (7 Do 2 Pass SMART form)
4. เมื่อสหวิชาชีพประเมินว่าผ่านครบแล้วจึงจำหน่ายโดยพยาบาล Discharge planner และประเมิน
ความพร้อมก่อนจำหน่าย
ผลการศึกษา
1. พบว่าผู้ป่วยเบาหวานมีความพร้อมอยู่ในระดับสูงจำนวน 4 ราย คิดเป็นร้อยละ 50 มีความพร้อมอยู่
ในระดับปานกลาง จำนวน 4 ราย คิดเป็น ร้อยละ 50 ความพร้อมเฉลี่ยของผู้ป่วยในการจำหน่าย 74.84
2. ความพึงพอใจของผู้ป่วยและผู้ดูแลต่อการวางแผนจำหน่ายของทีมสหสาขาวิชาชีพ
3. ความพึงพอใจของผู้ป่วยต่อการวางแผนจำหน่ายของทีมสหสาขาวิชาชีพ ร้อยละ 85.83
โดยมีความพึงพอใจต่อนักกายภาพบำบัด พยาบาลคลินิกโรคเรื้อรัง พยาบาลวางแผนจำหน่ายสูงสุด
ร้อยละ 87.50
4. ความพึงพอใจของผู้ดูแลต่อการวางแผนจำหน่ายของทีมสหสาขาวิชาชีพ ร้อยละ 82.85 โดยมีความ
พึงพอใจต่อเภสัชกรและ พยาบาลวางแผนจำหน่ายสูงสุด ร้อยละ 85.71
5. ผู้ป่วยและผู้ดูแลมีความมั่นใจในการปฏิบัติตนก่อนกลับบ้าน ร้อยละ 87.5 และ 85.71 ตามลำดับ
6. ผู้ป่วยและผู้ดูแลมีความพอใจในภาพรวมเกี่ยวกับการเตรียมตัวก่อนกลับบ้าน ร้อยละ 90และ 85.71
ตามลำดับ